วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

เส้นทางตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า

เส้นทางตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า

หลักการที่พระองค์ทรงยึดเป็นหลักปฏิบัติก็คือว่า
( ทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก )

พระองค์ทำลมอานาปานสติให้เป็นสิ่งรู้ของจิต แล้วเอาสติไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ พระองค์ทรงทำพระสติรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทำให้พระองค์ต้องรู้
ความหยาบความละเอียดของลมหายใจ
และรู้ความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ

ในขณะใดที่พระองค์ไม่ได้ดูลมหายใจ พระองค์ก็กำหนดดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตของพระองค์ สิ่งใดเกิดขึ้นพระองค์ก็รู้
รู้ด้วยวิธีการทำสติกำหนดจิต กำหนดคอยรู้ คอยจ้องดูอารมณ์
ที่เกิดดับของจิต ในเมื่อสติสัมปชัญญะของพระองค์มีความเข้มแข็งขึ้น
สามารถที่จะประคับประคองจิตใจ ให้มีความรู้ซึ้งเห็นจริงใน
ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ในสภาวะที่เป็นไปตามธรรมชาติ

คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เมื่อรู้ว่าอารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
อารมณ์อันใด ที่จิตของพระองค์ยังยึดถืออยู่
เมื่ออารมณ์สิ่งนั้นเกิดขึ้นก็มายุแหย่ให้จิตของพระองค์
เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย ความทุกข์ก็ปรากฏขึ้นภายในจิต

ทุกข์ที่ปรากฏขึ้นภายในจิตของพระองค์ พระองค์ก็กำหนดว่า
นี่คือทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์จริงๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อรู้ว่า
เป็นทุกข์จริงๆ พระองค์ก็สาวหาสาเหตุ ทุกข์นี่มันเกิดมาจากเหตุอะไร
ทุกข์อันนี้เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเกิดมาจากไหน
เกิดมาจากความยินดี และความยินร้าย

ความยินดีเป็นกามตัณหา ความยินร้ายเป็นวิภวตัณหา
ความยึดมั่นถือมั่นในความยินดียินร้ายทั้ง ๒ อย่างเป็นภวตัณหา
ในเมื่อจิตมีภวตัณหา มันก็ย่อมมีความทุกข์เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น
จึงทำให้พระองค์รู้ซึ้งเห็นจริงในอริยสัจ๔ คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อันนี้เป็นภูมิธรรมที่พระองค์ค้นคว้าพบ และตรัสรู้เองโดยชอบ

.

สมาธิเพื่อชีวิต
โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...