วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ดวงจิต" ก็มีกำลังตั้งอยู่โดยลำพัง จะเกิดมี "วิชา" ขึ้น

"ดวงจิต" ก็มีกำลังตั้งอยู่โดยลำพัง จะเกิดมี "วิชา" ขึ้นอีกอย่างหนึ่งในทางจิต ที่เรียกว่า "วิปัสสนา" หรือ "วิชชาวิมุติ"

"ธาตุทั้ง ๔" เป็น "ธาตุกายสิทธิ์", "ดวงจิต" เป็น "จิตตานุภาพ"

เมื่อประสงค์ปรารถนาส่วนใดส่วนหนึ่ง อันเป็นส่วนของธรรมของโลก ก็ให้ "ขยับจิต" "เพ่งลม" ให้หนักและแรง

กำลังจิตเข้า "ไปจ่อ" ในธาตุอันบริสุทธิ์ ก็จะมี "ญาณผุด" ขึ้นในธาตุนั้น

เปรียบเหมือนเข็มของแผ่นจานเสียงซึ่งจดจ่อลงไป ย่อมเกิดเสียงของมนุษย์และสัตว์ปรากฏขึ้นในที่นั้นฉันใด

"สติ" ของเรา "จดจ่อ" เพ่งเล็งลงใน "อารมณ์" อันสะอาด

ต้องการ "รูป" ก็จะปรากฏ "รูป" ต้องการ "เสียง" ก็จะปรากฏ "เสียง"

ไม่ว่าใกล้หรือไกล ย่อมรู้ได้ ทั้งเรื่องโลกและเรื่องธรรม เรื่องตนและคนอื่น สุดแท้แต่เราประสงค์

เรื่องใด จดจ่อลงไปก็ "ให้นึกขึ้น" จะปรากฏได้ทันทีฉันนั้น

นี่แหละเรียกว่า "ญาณ" รู้ได้ใน อดีตและอนาคต พร้อมด้วยปัจจุบัน

จึงเป็น "วิชา" สำคัญอันหนึ่ง ที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง" รู้ได้เฉพาะตน

"ธาตุนั้น" เปรียบเหมือน "กระแสไฟ" ที่แล่นอยู่ในอากาศ

"สติและจิต" มีกำลังกล้า มีวิชาความรู้สูง สามารถที่จะทำให้ "ธาตุ" นั้นเป็นสื่อสัมพันธ์ทั่วไปในโลก

เป็นทางให้ "เกิดวิชาความรู้" ขึ้นในตัวเองได้เป็นอย่างดี

"ฌานที่ ๔" นี้ เมื่อมีแล้วโดยสมบูรณ์ก็เป็นเหตุให้เกิด "วิชา ๘ ประการ" ขึ้นในตัวของเราเอง มี วิปัสสนาญาณ

มี "วิปัสสนาญาณ" คือ

๑. "วิปัสสนาญาณ" คือ "ความรู้แจ้งเห็นจริง" ใน "นามและรูป" เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วิปัสสนาญาณนี้เป็นส่วนพิเศษ เกิดขึ้นจากการอบรม จิต มีหนทางรู้ได้ ๒ วิธี

    (๑) รู้ขึ้นมาเองโดยไม่ต้องนึกคิด

    (๒) รู้ขึ้นจากการนึกคิด แต่ไม่ใช่การตรองให้ยืดยาวเหมือนความรู้ธรรมดา นึกเมื่อใดก็โพลงขึ้นมาเมื่อนั้น เหมือนน้ำมันเบนซินที่ชุ่มอยู่ด้วยสำลี เมื่อจ่อไฟเมื่อใดก็ลุกโพลงขึ้นได้โดยเร็ว "วิปัสสนา" ก็ดี "ญาณ" ก็ดี ย่อมมีความเร็วได้เช่นนั้น จึงต่างจาก "ปัญญาสามัญธรรมดา" (สัญญา)

๒. "มโนมยิทธิ" ฤทธิ์ในทางจิตใจ นึกเช่นไรย่อมเป็นเช่นนั้น

๓. "อิทธิวิธี" แสดงฤทธิ์ได้ให้ปรากฏแก่คนบางพวก เช่น แปลงรูป แปลงสถานที่ ให้ประชาชนแลเห็นด้วยตา บางคราวบางสมัย

๔. "ทิพพโสต" หูทิพย์ ฟังเสียงไกลได้

๕. "เจโตปริยญาณ" กำหนดรู้ในวาระน้ำใจของบุคคลอื่นได้ ว่าดี ชั่วหยาบหรือละเอียด

๖. "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" ระลึกชาติหนหลังได้ (ท่านจะไม่ต้องยุ่งในเรื่องตายเกิด ตายสูญ เพราะได้วิชาข้อนี้)

๗. "ทิพพจักขุ" ได้ตาทิพย์ มองเห็นรูปละเอียดและหยาบ ใกล้หรือไกลได้ (อนุปรมาณู)

๘. "อาสวักขยญาณ" รู้จักวิธีทำอาสวะกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ ให้เบาบางและสิ้นไปได้

วิชา ๘ ประการนี้ล้วนแล้วแต่สำเร็จมาจาก "ภูมิฐานของสมาธิ" ทั้งสิ้น

ฉะนั้นแนวทางที่จะทำให้เกิด"สมาธิญาณ"โดยทางของ"อานาปา ฯ" ที่แสดงไว้นั้น เมื่อผู้มีความมุ่งหวังในส่วนความดี ทั้งหลายนี้ จงสนใจปฏิบัติอบรมจิตใจของตนเองนั้น เทอญ ฯ
..

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...