จิตที่นิ่งเป็นสมาธิแล้วเกิด "วิชชา"
วิชชา นั้น เป็น "มรรค" สิ่งที่ให้เรารู้ต่างๆที่ผ่านไปผ่านมาเป็น "ทุกข์"
จิตเราอย่าเข้าไปยึดเอา "วิชชา" อย่าเข้าไปยึดเอา "อารมณ์" ที่มาแสดงให้เรารู้
ปล่อยวาง ไปตามสภาพ ทำจิตให้สบายๆ ไม่ยึดจิต ไม่สมมุติจิตของตนเองว่า เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ถ้ายัง "สมมุติตนเอง" อยู่ตราบใด ก็เป็น "อวิชชา" อยู่ตราบนั้น
เมื่อรู้ได้โดย "อาการ" อย่างนี้ก็จะกลายเป็น "โลกุตระ" ขึ้นในตน
จะเป็นบุญกุศลอย่างประเสริฐสูงสุด ในฐานะที่เป็นมนุษย์พุทธบริษัทของพระพุทธเจ้า
ถ้าจะสรุปให้สั้นเข้าแล้ว หลักในการปฏิบัติก็มีดังนี้ คือ
๑. กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด
๒. ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี
๓. อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ใน "จุดอันเดียว" ที่เรียกว่า "เอกัคคตารมณ์"
๔. พิจารณา "อารมณ์หนึ่ง" นั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง, ทุกขัง เป็นทุกข์, อนัตตาไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล "ว่างเปล่า"
๕. วาง "อารมณ์" ที่ดีและอารมณ์ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์ เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพ "เสมอกัน"
วางจิต ไว้ตามสภาพของจิต
รู้ ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้น
ไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแล คือ "สันติธรรม"
ดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้
คือ รู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั่นแหละ
คือ ธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือน "น้ำที่อยู่ในใบบัว"
ฉะนั้นจึงเรียกว่า "อสังขตธาตุ" เป็น ธาตุแท้
เมื่อใครทำได้เช่นนี้ ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นใน ใจแห่งตน
จะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทาง สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
จะได้ผล ๒ ประการดังกล่าวมา คือ "โลกิยผล"
ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่านและคนอื่นๆทั่วไป ในสากลโลกนี้ "ประการหนึ่ง"
"ประการที่ ๒" จะได้ "โลกุตรผล"
อันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่านมีความสุขความเยือก เย็นและความราบรื่นชื่นบาน
ก็จะถึง "พระนิพพาน" เป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย
..
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น