กายคือลมหายใจเข้าหายใจออกยาวด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ กายย่อมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย
ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณาเห็นกายในกาย
[๑๖๗] คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างไร คือ
พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเที่ยง
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมทำราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละนันทิ(ความยินดี)ได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้
เมื่อทำราคะให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละอาทานะ(ความยึดถือ)ได้
ภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายนั้นอย่างนี้
*****************
ข้อความบางตอนใน สโตการิญาณนิทเทส อานาปานัสสติกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น