"ท า ง ส า ย ก ล า ง"
ท่านอ.กำพล ทองบุญนุ่ม
"ในแต่ละวันให้เรามารู้เท่าทันจิต เท่าทันความคิด
การจะรู้เท่าทันคือ เราต้อง "มีสติ"
ความอยากเกิดขึ้นที่จิต จากความคิด
ก า ย นี่ มั น ไ ม่ อ ย า ก ห ร อ ก ค รั บ
สังเกต เวลาเราอยากได้อะไร อยากกินอะไร
ไม่ต้องไปห้ามมันหรอกครับ
แ ค่ รู้ ใ ห้ ทั น ค ว า ม อ ย า ก
สมมติเราอยากดื่มสุรา เราก็ไม่ต้องไปดื่ม
แค่รู้ว่า "อยาก"
ถ้าดูแล้วมันยังอยากอยู่
ก็ให้รู้จักต่อรองกับเขา
ว่ามันไม่เที่ยงหรอก ความอยากนี่
มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย
ความอยากมันไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาหรอก
การไม่ตามความอยาก
คือการตัดกระแสของความเคยชิน
คื อ ไ ม่ ทำ ต า ม
เราก็ไม่ตกเป็น "ทาสความอยาก"
เมื่อนั้นเราจะสามารถ "เป็นนายความอยาก"
รู้จักใช้ความอยากให้เป็นประโยชน์ซะบ้าง
เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากทำความดี ฯลฯ
ความโกรธนี่ ไม่ได้อยู่นอกตัวเราหรอก
ไม่ได้อยู่ที่คนอื่น
มันอยู่ที่ใจเรา
"มีสติรู้ให้ทัน"
ถ้าเราไปทำตามความโกรธ
มันเป็นการสร้างความเคยชินที่จะโกรธ หงุดหงิด
เมื่อเราไม่โกรธ เราก็จะได้ไม่ไปสร้างภพสร้างชาติ
ต่อเวรต่อภัยกับมันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นเหตุให้เราตกนรก อบายภูมิ
เมื่อขาดสติ ขาดความรู้สึกตัว
ก็ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
ไม่รู้อันไหนประโยชน์ ไม่ใช่ประโยชน์
ความหลงนี้สำคัญ
เพราะหลงจึง โกรธ
เพราะหลง จึงโลภ
เพราะหลง จึงอยาก
เพราะหลง จึงทุกข์
ถ้าเรามีสติ มีความรู้ตัวแล้ว ความหลงก็จะหายไป
ความโลภ โกรธ หลง เหล่านี้ ไม่ใช่จิตนะ
มันเป็นเพียงอาการ
จิตนั้นเป็น "ผู้รู้อาการ"
เราอย่าไปเอา ความโกรธ โลภ หลงมาเป็น "เรา"
เขาแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปชั่วคราว
จิตผู้รู้ คือสตินี่ ทำหน้าที่รู้เฉยๆ
อย่าเอากิเลสเป็นเรา อย่าเอาเราเป็นกิเลส
ให้มันแยกๆ กัน
กิเลส สติ จิต ทั้งหลายนี้เป็น "นามธรรม"
ให้เอานามดูนาม เอาสติดูจิต อันนี้เป็นภาษาธรรม
ความโลภ โกรธ หลง คือกิเลส
กิเลสเขาก็เป็นครูของเรานะ
เขามาสอนเราให้เท่าทันอารมณ์ ให้ไม่ยึดติด
เพราะกิเลสมันมีสภาพทุกข์ เราจึงอย่าไปเชื่อ
มีสติรู้ทันเข้าไว้ เท่ากับปิดประตูอบายภูมิ
ถ้าเราไม่ตกอบายภูมิในปัจจุบันล่ะก็
เมื่อตายไป เราก็ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าจะไปไหน ?
ดูเอาขณะปัจจุบันนี้ได้
ถ้าเราเป็นคนขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลงนี้
เท่ากับเราตกอบายภูมิตั้งแต่ปัจจุบันนี้แล้ว
ถ้าเมื่อไหร่เรามีสติรู้ทันในอาการเหล่านี้
รู้ทันแล้วก็ไม่ทำตามได้ล่ะก็
เราหัวเราะเยาะกิเลสได้เลย
ดังนั้นการปฏิบัติ ให้เรามารู้ตรงๆ ลงที่กายที่ใจ
การมีสติ มีประโยชน์มาก
จะเป็นเครื่องกั้นกระแสของอารมณ์และความคิดที่มาปรุงแต่งจิต
กระแสของอารมณ์และความคิดนี้ เราห้ามไม่ได้หรอก
แต่เราสามารถที่จะมีสติรู้เท่าทันและไม่เป็นไปตามอารมณ์
เรามีหน้าที่ฝึกสติ ฝึกความรู้สึกตัว จะอยู่ที่ไหนก็ให้รู้สึกตัว
ที่ที่เราอยู่นั้น จะเป็นที่สงบหรือไม่สงบ เราสามารถรู้สึกตัวได้
ขณะที่เรามีความทุกข์ เราก็มีสติได้
ขณะที่จิตใจเราวุ่นวายฟุ้งซ่าน เราก็รู้สึกตัวได้ เรียกสติกลับมาได้
สำหรับผู้ยังใหม่ เราอาจจะกระดิกนิ้วมือ เคาะนิ้วมือ เดินเร็วๆ
หรือตบหน้าตัวเองบ้าง ช่วยเรียกสติให้มันกลับมา
แต่ผู้ชำนาญแล้วไม่ต้องก็ได้
ทุกครั้งที่มันหลง เราก็รู้
แค่รู้เท่านั้น แค่ใส่ใจ
การใส่ใจ คือการเอาใจใส่ในชีวิตของเรา
ทำไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เก็บสภาวะความรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ
แล้วมันก็จะเต็มขึ้นมาเอง
จิตใจเราก็จะเต็มไปด้วยความรู้สึกตัว
กิเลสก็จะเข้าไม่ถึง ดังนั้นการปฏิบัติต้องมีศรัทธา
เมื่อมีศรัทธา เราจะมีความเพียร
ต้องมีความอดทน ทำให้ต่อเนื่อง
นานนาน มันหลงแล้วก็แล้วกัน เราก็เริ่มต้นใหม่
ทำให้ถูกวิธี ทำสบายๆ อย่าไปเคร่งเครียด
เจริญสติแบบยิ้มๆ ใจจะเป็นปกติ จะเป็นกลาง
นี่แหละคือ ทางสายกลาง เป็นทางที่สะดวก ทางที่สบาย"
.
(ฟังธรรมแล้วนำมาเล่า)
กราบสาธุธรรมท่านอ.กำพล ทองบุญนุ่ม
MP3ตอน "จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้"
ขอบพระคุณ ชมรมเพื่อนคุณธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น