วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความรู้เรื่อง จิตกับอารมณ์ โดยพระครูเกษมธรรมทัต

ความรู้เรื่อง จิตกับอารมณ์ โดยพระครูเกษมธรรมทัต
อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ อารมณ์ที่เป็นบัญญัติ อารมณ์หมายถึง สิ่งที่เป็นที่ยินดีหรือเป็นที่ยึดหน่วงของจิต เป็นที่ตั้งที่รับรู้ของจิต จิตเกิดขึ้นมาต้องรับรู้อารมณ์ ถ้าไม่รับรู้อารมณ์จะเกิดไม่ได้ จิตกับอารมณ์จึงไปด้วยกัน จิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์เป็นฝ่ายผู้รู้ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้หรือเป็นที่ยึดหน่วงของจิต รู้มีหลายอย่าง เช่นรู้แบบสัญญา(จําได้หมายรู้) รู้แบบปัญญา รู้แบบรับรู้(เป็นความหมายของจิต)

"จิตเป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ รู้แบบแค่รับรู้"

https://www.youtube.com/watch?v=vhrQszSpcI0&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3DvhrQszSpcI0&app=desktop

ดีทีเดียวแหละ ท่านผู้ใดสามารถฉันมังสวิรัติ

“ดีทีเดียวแหละ ท่านผู้ใดสามารถฉันมังสวิรัติได้ก็เป็นการดีมากขออนุโมทนาสาธุด้วย"

"ส่วนท่านที่ยังฉันมังสะอยู่ หากมังสะเหล่านั้นเป็น ของบริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัยว่าเขาเจาะจง ได้มาด้วยความบริสุทธิ์แล้ว ก็ไม่ผิดธรรมผิดวินัยแต่อย่างใด"

"อนึ่งที่ว่าจิตใจสงบเยือกเย็นดีนั้น ก็เป็นผลเกิดขึ้นจากพลังการตั้งใจปฏิบัติให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่เกี่ยวกับอาหารใหม่อาหารเก่า ที่อยู่ในท้องเลย”

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

พระธรรมเทศนา ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

วันพระ ขอนํารวมพระธรรมเทศนา ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จากมูลนิธิมหามงกุฎฯ ที่หาฟังได้ยาก ควรเก็บไว้ศึกษาอย่างยิ่ง


กดเข้าฟังได้ที่นี้ https://drive.google.com/drive/folders/0B8sDf3WITVkyVFNENFRvYVdhMTg

เครดิต ท่านผู้นํามาเผยแพร่ คุณ Wach Rod

ถ้าเจอสภาวะอารมณ์ที่เราจะหลุดขาดสติ ท่านให้พิจารณากาย

ถ้าเจอสภาวะอารมณ์ที่เราจะหลุดขาดสติ ท่านให้พิจารณากาย ธาตุในกาย ที่แอดมินใช้ประจําคือ รีบเอาจิตมารู้ลม หายใจเข้ายาวๆแบบให้รู้สึกตัว หายใจออกยาวๆแบบให้รู้สึกตัว การกลับมาพิจารณากายจะรู้สึกตัว ทําให้จิตกลับมาตั้งมั่น มีสติ เกิดปัญญารู้ทัน ปล่อยสบาย ไม่ไปยึดกับอารมณ์นั้น เข้าใจและปล่อยวาง

เรื่องสติจึงยกให้เป็นอันดับหนึ่งในการประกอบความเพียร

เรื่องสติจึงยกให้เป็นอันดับหนึ่งในการประกอบความเพียร จะเป็นที่ธรรมดาก็ตาม เป็นเวลาที่เดินจงกรมนั่งสมาธิก็ตาม สตินี้เป็นสำคัญมากทีเดียว ถ้าขาดสติเมื่อไรก็ขาดความเพียร ถ้าสติติดแนบกันอยู่แล้วความเพียรก็ก้าวเดิน นี่สำคัญให้จำเอาไว้ทุกคน ตั้งสติไม่ใช่ตั้งธรรมดานะ ผู้ที่จะเร่งรัดให้ถึงมรรคถึงผลจริงๆ สติกับจิตนี้ไม่จากกันละ ขาดเมื่อไรก็เป็นว่าขาดความพากความเพียร ตั้งสติปั๊บตั้งแต่ตื่นนอนไม่ให้เผลอกันเลย อยู่อย่างนั้นละ เพราะไม่มีงานอื่นใดทำ มีแต่งานภาวนาเพื่อจะดูละครลิงซึ่งมันมีอยู่ในจิต เอาธรรมะตีเข้าไปๆ จิตก็สงบได้
ถ้าสติตั้งได้ดีมีทางที่จะตั้งตัวได้.... สติกับจิตติดแนบกันอยู่ตลอดเวลา นี่ตั้งได้ไม่สงสัย ถ้าขาดสติแล้วก็ขาดความเพียร จำคำนี้ไว้ให้ดี ขาดสติเมื่อไรความเพียรก็ขาดไป ถ้าสติตั้งตลอดความเพียรก็ก้าวเดินได้ๆ เริ่มตั้งแต่ความสงบ..จิตใจจะฟุ้งซ่านรำคาญไปไหนเอาสติจับติดๆ ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับ สตินี้ตามติดกับจิตไม่ให้เผลอไปไหน

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศนาธรรมเรื่อง"ตั้งสติให้ดีนักภาวนา"
๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๘

.เบียดเบียนผู้อื่น ก็คือ เบียดเบียนตนเอง ข่มผู้อื่น

"..เบียดเบียนผู้อื่น ก็คือ เบียดเบียนตนเอง
ข่มผู้อื่น ก็ข่มตนนั่นแล
อิจฉาผู้อื่น ก็อิจฉาตนนั่นแหละ
แล้วจะไปเหนือเขาด้วยความชั่วนั่นหรือ
จะไปเหนือเขาด้วยอำนาจความชั่วนั่นหรือ
เป็นแบบอย่างของเทวทัต มิใช่ทางพ้นทุกข์

เหยียบย่ำผู้อื่นก็คือเหยียบย่ำตัวเอง
เหยียดหยามผู้อื่นคือเหยียดหยามตัวเอง
ทำลายผู้อื่นคือทำลายตนเอง
หาทางเจริญได้ยาก มิใช่ทางเจริญ

จงรักษาใจ สังวรระวังใจตน
ใจนั่นแลตัวสำคัญ
จะจูงเราไปตกนรกก็ใจนั่นแล
จะทำความชั่วก็ใจนั่นแล..."

(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก 

เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครู อาจารย์ อย่า เอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง

ต้องภาวนาให้มาก ๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง
แล้วก็ความรู้อะไร ๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และพุทโธนั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธนั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง..เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย

ภาวนาให้มาก ๆ เข้า ใน อิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน อะไร อะไรทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านาน ๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธแล้วนะ นั่นแหล่ะ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้น ๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มาก ๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นาน ๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง

ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดนควารมสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม
นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วิญญาณ คือ เหตุแห่งการเกิดขึ้นของสัตว์

วิญญาณ คือ เหตุแห่งการเกิดขึ้นของสัตว์
อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “นามรูปมี เพราะปัจจัย
คือ วิญญาณ” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
โดยปริยายดังต่อไปนี้ ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
“นามรูปมี เพราะปัจจัย คือ วิญญาณ” :
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณจักไม่ก้าวลง
ในท้องแห่งมารดาแล้วไซร้; นามรูปจักปรุงตัวขึ้นมา
ในท้องแห่งมารดาได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณก้าวลงในท้อง
แห่งมารดาแล้ว จักสลายลงเสียแล้วไซร้; นามรูปจักบังเกิดขึ้น
เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณของเด็กอ่อน ที่เป็นชาย
ก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม จักขาดลงเสียแล้วไซร้; นามรูป
จักถึงซึ่งความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์บ้างหรือ ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
คือเหตุ, นั่นแหละคือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
คือปัจจัย ของนามรูป; นั้นคือ วิญญาณ.
อานนท์ ! ก็คำนี้ว่า “วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ
นามรูป” ดังนี้, เช่นนี้แล เป็นคำที่เรากล่าวแล้ว.
อานนท์ ! ความข้อนี้ เธอต้องทราบอธิบาย
โดยปริยายดังต่อไปนี้ที่ตรงกับหัวข้อที่เรากล่าวไว้แล้วว่า
“วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือนามรูป”
อานนท์ ! ถ้าหากว่าวิญญาณ จักไม่ได้มีที่ตั้ง
ที่อาศัยในนามรูป แล้วไซร้; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์
คือ ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป จะมีขึ้นมาให้เห็นได้ไหม ?
“ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า !”
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้, นั่นแหละ
คือเหตุ, นั่นแหละ คือนิทาน, นั่นแหละคือสมุทัย, นั่นแหละ
คือปัจจัยของวิญญาณ; นั่นคือ นามรูป.
อานนท์ !
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
สัตว์โลก จึงเกิดบ้าง จึงแก่บ้าง
จึงตายบ้าง จึงจุติบ้าง จึงอุบัติบ้าง :
คลองแห่งการเรียก (อธิวจน) ก็มีเพียงเท่านี้,
คลองแห่งการพูดจา (นิรุตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
คลองแห่งการบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) ก็มีเพียงเท่านี้,
เรื่องที่จะต้องรู้ด้วยปัญญา (ปญฺญาวจร) ก็มีเพียงเท่านี้,
ความเวียนว่ายในวัฏฏะ ก็มีเพียงเท่านี้:
นามรูปพร้อมทั้งวิญญาณตั้งอยู่
เพื่อการบัญญัติซึ่งความเป็นอย่างนี้
(ของนามรูปกับวิญญาณ นั่นเอง).

มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.

ภาพ หลวงพ่อใหญ่ วัดกองแก้ว จ.สมุทรปราการ

หลวงพ่อคำเขียน บอกธรรมการเจริญสติ พบเห็นอาการของกายของใจ

หลวงพ่อคำเขียน บอกธรรมการเจริญสติ
พบเห็นอาการของกายของใจ

“มันคิดมาก มันง่วงมาก มันหดหู่ มันเบื่อ มันรู้สึกว่ายาก
ก็ตอบว่า...ถ้าเรามีความรู้สึกตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้
มันก็คืออาการต่างๆ ของกายและจิตใจ ความรู้สึกตัว
จะทำหน้าที่เป็นผู้เห็น ได้พบเห็นอาการเหล่านี้
และได้กระทำให้แจ้งในสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว
เห็นแล้วผ่านไป หลุดไป พ้นไป ไม่ใช่เรื่องแปลก
อะไร มันเป็นธรรมชาติ ธรรมดา เป็นเช่นนั้นเอง
การปฎิบัติธรรม คืออย่าเข้าไปในความคิด
อย่าให้ความคิดพาไป ให้ความรู้สึกตัวพาไป”

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
รู้ซื่อๆไม่เป็นอะไรกับอะไร “ชีวิตสุดยอดคือไม่เป็นอะไรกับ? ไม่เป็นอะไรกับอะไรเลย สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายกับใจนี้ ไม่เป็นอะไรกับอะไร ชีวิตที่ ไม่เป็นอะไรกับอะไร เป็นศาสตร์เป็นศิลปะ อยู่ในโลก

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

ได้จิตผู้รู้แล้ว มาเดินปัญญา

ได้จิตผู้รู้แล้ว มาเดินปัญญา

ถ้าได้ตัวรู้แล้วถัดจากนั้นมาเดินปัญญา บางคนมีวาสนาเก่า เคยเจริญปัญญามาแต่ชาติก่อนๆแล้ว ทันทีที่ตัวรู้เกิดขึ้นนะ ขันธ์ก็แยกเลย เห็นเลยร่างกายกับจิตคนละอันกัน ความสุขความทุกข์กับจิตนี้คนละอันกัน ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลนี้เป็นคนละอันกัน เห็นอย่างนี้เลย คนซึ่งมีบารมีเก่าในทางเดินปัญญามาก่อน

แต่ถ้ามันไม่มี ทำอย่างไร ก็ต้องช่วยมันอีก วิธีช่วยมันนะก็คือ หัดแยกธาตุแยกขันธ์ แยกไป ร่างกายส่วนร่างกาย จิตส่วนจิต ต้องหัดแยก นั่งอยู่หรือเดินอยู่ ก็คอยรู้สึกไป เห็นร่างกายมันนั่ง เห็นร่างกายมันเดิน เห็นร่างกายมันยืน อิริยาบถนอนนั้นเว้นไว้ก่อนนะ ไม่ชำนาญแล้วไปนอนดู แป๊บเดียว จิตก็วิเวก จิตรวม รวมเข้ากับโมหะ หลงไปเลย หลับ

เพราะฉะนั้นยืนอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันยืน จิตเป็นคนดู นั่งอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันนั่ง จิตเป็นคนดู เดินอยู่ก็รู้สึก เห็นร่างกายมันเดิน จิตเป็นคนดู ให้มีจิตเป็นคนดูเรื่อยๆ หรือมีความสุขเกิดขึ้น มีความสุขเกิดขึ้นก็เห็นอีก ความสุขเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู มีความทุกข์เกิดขึ้นก็รู้อีก ความทุกข์เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

คุ้นชินกับการกระตุ้นแบบไหน ที่รู้สึกตัวง่ายๆ ให้ใช้สิ่งนั้น

คุ้นชินกับการกระตุ้นแบบไหน ที่รู้สึกตัวง่ายๆ ให้ใช้สิ่งนั้น

ระดับการกระตุ้นเพื่อจะรู้ความรู้สึกตัว ในแต่ละคนนั้นต่างกัน ตรงนี้สําคัญมากในคนที่ยังอยู่กับความรู้สึกตัวไม่ได้ เพราะมันคือทางลัด ที่จะทําให้เราอยู่กับความรู้สึกตัวได้อย่างง่ายๆเรื่อยๆ ถ้าเราหมั่นสังเกตุตัวเอง ว่าเรามีความรู้สึกตัวได้อย่างง่ายๆไม่เพ่งไม่เกร็ง ตรงกับการกระตุ้น แบบไหน ระดับไหน.... เช่น ลมหายใจ หรือ การเดิน หรือ การขยับกาย หรือ การสัมผัสถูกกาย ใจ กระตุ้นเบาหรือแรง ขึ้นกับแต่ละบุคคล ในช่วงฝึกต้นๆ แต่เมื่อเกิดความชํานาญแล้ว จะแบบไหน หรือ จะแรงเบา ก็จะรู้สึกตัวได้เสมอง่ายๆครับ...

สรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งตัวเรา คือธาตุทั้ง 4

สรรพสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งตัวเรา คือธาตุทั้ง 4

....ดิน นํ้า ลม ไฟ ....

ประกอบกันเป็นรูปร่างต่างๆกัน ตามแต่ว่าจะเป็นอะไร...ยอมรับมันได้ เมื่อไหร่ไม่มีตัวเรา จะเหลือแต่ธาตุสี่ จะพบสุขเหนือสุข อยู่ในใจของใครของมัน...

แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปูดูลย์

แนวทางปฏิบัติธรรมของ หลวงปูดูลย์

พระธรรมทั้งปวงนั้น เรียนรู้ได้ที่จิตของตนเอง เคล็ดที่ทําให้จิตสงบง่ายคือ อย่าอยากหรือจงใจให้สงบ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นไปบังคับไม่ได้ จิตผู้รู้นั้นแยกออกจากสิ่งที่ไปรู้ ให้รู้ตัวกับจิตผู้รู้อย่างสบายๆ ให้สังเกตุอารมณ์ต่างๆมีสติรู้ แต่ไม่เผลอส่งจิตเข้าไปในอารมณ์นั้น(คือความรู้ตัว)

https://www.youtube.com/watch?v=naZj8IMq9-U

วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียว
รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม
เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ
จากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป
ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป
ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต
พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง
ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้
ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที
เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ
เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล"
การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป
แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ
เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า มีลักษณาการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย
เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย
เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้นๆ
บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

ศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของท่านผู้รู้

“…ศาสนา แปลว่า คำสั่งสอนของท่านผู้รู้
สอนเพื่อให้ละความชั่ว มาทำความดีนั่นเอง
อันนี้เป็นเพียงศาสนา

พุทธศาสนา...แปลว่า รู้จริง
พุทธะ...จึงแปลว่า ผู้รู้ : รู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม

รู้ธรรม...ก็คือ รู้ตัวเรากำลังทำ-กำลังพูด-กำลังคิด นี่
ธรรมะจึงไม่ใช่อื่นไกล
อันนี้แปลว่า...รู้ธรรม-เห็นธรรม-เข้าใจธรรม

เมื่อรู้อันนี้แล้ว...ก็เลยรู้บาป-รู้บุญ

บาป...ก็คือโง่นั่นเอง คือไม่รู้ คืออยู่ในถ้ำ มืดอยู่นั่นแหละ

ถ้าเราออกจากถ้ำได้ เราก็สามารถมองเห็นอะไรได้ทุกอย่าง
นี่ล่ะบุญ

บุญ... คือ รู้
ถ้าเรามีบุญจริง ๆ แล้ว...เราก็สามารถรู้บาปได้
ว่า...บาปมันเป็นอย่างนั้น บาปมันเป็นอย่างนี้

สมมติเอา
อย่างบ้านเรา...เคยเลี้ยงสัตว์ เป็ด-ไก่-วัว-ควาย
เราเดินไป บางทีเราไปเหยียบเอาขี้เป็ด-ขี้ไก่
มันเหม็น...เราก็รู้อยู่ว่ามันเหม็น
แต่ทำไมจึงไปเหยียบ...นี่ก็เพราะเราไม่รู้ ถ้ารู้ก็ไม่เหยียบ

อาจมีคนแย้งว่า 'ถ้าไม่รู้แล้วจะเหยียบถูกหรือ ?"...ว่างั้น
นี่แหละจึงได้กล่าวว่า คำพูดหรือวิธีพูดนี้มันยืดยาว มันดิ้นได้
ยังถกยังเถียง ยังแย้งได้
คนไม่รู้ จึงทำบาป-ทำผิดได้...แต่ไม่รู้

ดังนั้น พระพุทธเจ้าสอนคน
จึงสอนคนที่ยังไม่รู้นั่นแหละ...ให้เขารู้
และสอนคนที่กำลังทำผิดอยู่นั่นแหละ...ให้ทำถูกต้อง
และสอนคนที่มีทุกข์อยู่นั่นแหละ...ให้ทุกข์น้อยไป หรือหมดไป
มันเป็นอย่างนั้น

ที่ผมพูดในวันนี้...ก็คล้าย ๆ เป็นอย่างนั้น
กล่าวคือ มาแนะนำว่า...ถ้าทำอย่างนี้
ทำการเคลื่อนไหวนี่แหละ เรียกว่า ทำถูกต้อง
จุดหมายปลายทางมันจะมาลงที่ตรงนี้
คือ เมื่อทำถูกต้องแล้ว...ความฉลาดจะเกิดขึ้นมาเอง
ความฉลาดแบบนี้ไม่ต้องไปจดจำมาจากตำรับตำรา
แต่รู้เอง-เห็นเอง-เข้าใจเอง

เมื่อรู้อันนี้แล้ว...‘ญาณปัญญาของวิปัสสนา’ ก็เกิดขึ้น

วิปัสสนา...แปลว่า รู้แจ้ง-รู้จริง-รู้แล้วต่างเก่าล่วงภาวะเดิม
ก่อนที่จะต่างก็คือ เลิกละอบายมุข
แล้วก็ โทสะ-โมหะ-โลภะ ลดน้อยไป ต่างเก่าจริง ๆ...”

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
------------------------------------------------------------------------------------------------

※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※
※ ~ รู้สึกตัว - เป็นปกติ - อยู่กับปัจจุบัน ~ ※
※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※※

รู้สึกกาย รู้สึกใจ

_/|\_ _/|\_ _/|\_

คําสอนนี้สําคัญมากนะครับ

คําสอนนี้สําคัญมากนะครับ ถ้าเราปล่อยให้ไหลไปกับความคิด ไปยึดติดกับความคิด จะไปทําให้เกิดภพเกิดชาติต่อเนื่องกันขึ้นครับ หลวงพ่อเทียนท่านให้รู้ว่าคิด และเมื่อรู้แล้วก็ให้ละเสียอย่าไปยึดไหลไปกับความคิด ให้มารู้สึกตัวจะเป็นการเจริญสติปัฏฐาน

ภาพนี้เป็นภาพของ บุคคลได้ผ่านการฝึกเจริญสติไปมากแล้ว

ภาพนี้เป็นภาพของ บุคคลได้ผ่านการฝึกเจริญสติไปมากแล้ว จนมีสติรู้อยู่กับตัวเองตลอด ทําให้ใจไม่ไหลไปคิดถึงอดีตไม่ไหลไปพะวงอนาคต แต่ใจอยู่กับบัจจุบันจลอดเวลา ทําให้ใจไม่ฟุ้งเลย "มีสติอยู่กับตนเองตลอด" มีชีวิตอยู่กับบัจจุบัน เป็นจิตของพระอรหันต์ครับ รู้สึกตัวตลอด

ภาพนี้เป็นภาพของ บุคคลได้ฝึกเจริญสติ

ภาพนี้เป็นภาพของ บุคคลได้ฝึกเจริญสติ ทําให้เวลาในแต่ละวันนั้นใจไหลไปกับอดีตไปคิดถึงอดีตน้อยลงหรือไม่ก็ไปพะวงกับอนาคตไปคิดถึงอนาคตน้อยลง แต่ใจอยู่กับบัจจุบันมีระยะเวลามากขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกเจริญสติมาก สังเกตุได้ว่า ใจเริ่มอยู่กับบัจจุบันมากขึ้น ขยายกว้างขึ้นไปเรื่อยๆตามลําดับ ตามความก้าวหน้าในการเจริญสติ ทําให้ใจไม่ฟุ้งไปตลอด "เริ่มมีสติมากขึ้นไปเรื่อยๆ" มีชีวิตอยู่กับบัจจุบันมากขึ้นไปเรื่อยๆ
รู้สึกตัวมากขึ้นเป็นช่วงเวลาบ่อยๆ

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...