วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561

คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

คำว่า “อารมณ์” ในพระพุทธศาสนา หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้

มันจะมีสองอย่างเกิดร่วมกัน ก็คือจิต ซึ่งเป็นผู้รู้ กับอารมณ์ คำว่าอารมณ์เนี่ยเป็นศัพท์เฉพาะเป็นเทคนิคอลเทอมของพระพุทธเจ้านะ คำว่าอารมณ์ไม่ใช่ Emotion อารมณ์หมายถึง Objective หมายถึงสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

เพราะฉะนั้นมันจะมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ มี Ojectvie กับ Subjective จะมี ๒ ตัว เกิดร่วมกันเสมอ ไม่เกิดตัวเดียวหรอก เราพยายามแยก ๒ ตัวนี้ออกจากกัน ร่างกายยืนเดินนั่งนอนนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จิตซึ่งเป็นคนที่ไปรู้ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอนนั้น เป็นคนละส่วนกับร่างกาย ค่อยๆหัดอย่างนี้

นั่งไปนานมันปวดมันเมื่อยก็เห็นอีก ความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายมันนั่งมาก่อน ความปวดความเมื่อยมันมาทีหลัง เพราะฉะนั้นเป็นคนละอันกัน ความปวดความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก และความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า พอมันปวดก็อย่าเพิ่งขยับ นั่งดูมันไปเรื่อย หัดแยกไป ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งความปวดความเมื่อยอยู่ส่วนหนึ่ง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ส่วนหนึ่ง อย่าเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถ อดทนไว้ก่อน อยากได้ของดีเบื้องต้นทนไว้หน่อย

พอนั่งไปนานมันปวดมากนะ ใจมันเริ่มทุรนทุราย ใจมันเริ่มกระสับกระส่าย เริ่มกังวล นั่งนานๆจะเป็นอัมพาตมั้ย นั่งนานๆถ้าจะไม่ดี อะไรอย่างนี้ เปลี่ยนอิริยาบถเสียเถิด หลวงพ่อปราโมทย์บอกให้ทางสายกลาง นั่งนานไปทรมานเป็นอัตตกิลมถานุโยค นี่กิเลสหลอกทั้งนั้นเลย จิตมันดิ้นรนแล้ว ความฟุ้งซ่านของจิตมันเกิด พอมันเจ็บปวดมากๆนะ จิตมันฟุ้งซ่าน เราก็ดูลงไป ความฟุ้งซ่านเนี่ย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ความเจ็บปวดมันอยู่ที่ร่างกาย ความฟุ้งซ่านมันอยู่ที่ใจเรา เพราะฉะนั้นความเจ็บปวดกับความฟุ้งซ่านเป็นคนละขันธ์กัน คนละอันกัน ความฟุ้งซ่านไม่ใช่ร่างกาย ไม่ใช่ความเจ็บปวด ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่จิต แต่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...