ทําความรู้จักความรู้สึกตัวแท้ๆ
ให้รับสัมผัสถึงสิ่งต่างที่มากระทบกาย(เอาแค่หมวดกายพอ) แค่ให้รู้ เช่นเดินไปธรรมดาปกติ เวลาเท้ากระทบพื้น ก็ให้รู้สึกตัวเป็นสติ "แค่รู้" เวลาลมพัดผ่านกายก็ให้รู้ จุดที่ต้องรู้นี้สําคัญมากๆ ให้รู้ถึงความรู้สึกที่กายถูกโดนลมเท่านั้น อย่า ไปให้ความหมายใดๆ อย่าไปคิด
แค่รู้ถึงความรู้สึกตัว โดยไม่มีอะไรต่อ ไม่คิดต่อ ไม่มีความหมายต่อ เช่นลมพัดกระทบกาย แค่ รู้ แต่ไม่ไปคิดแปรความหมายว่าลมแรงลมช้าลมร้อนลมเย็น "แค่รู้สึกตัว" อย่าไปให้ความหมายแม้แต่ไปคิดว่าเป็นลมด้วย นี้หล่ะคือความรู้สึกตัวที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นสติที่บริสุทธิ์ ปราศจากความคิด เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน4
สิ่งนี้เมื่อทําบ่อยๆแล้วจะทําให้สติมีกําลังมากขึ้นมาเรื่อยๆ จนก้าวหน้าในวิปัสสนาอย่างมากๆ หลังจากที่ รู้สึกในชีวิตประจําวันได้บ่อยแล้ว และให้ดีให้ทําควบคู่ไปกับการรู้สึกถึงลมหายใจ ไปในชีวิตประจําวันด้วย ให้ทําบ่อยๆในทุกวันที่นึกได้ ให้ทําไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งอย่าไปเกร็ง ทําไปเรื่อยๆเล่นๆ อย่าอยากได้สภาวะ แล้วจะได้เองโดยไม่รู้ตัว ถ้าไปอยากได้ไปคิดมากไปลังเลสับสนตอนทํา มันจะไม่ได้อะไร ให้ทําไปเลย ทําเล่นๆ ทําได้อย่างนี้ จะมุ่งสู่มรรคผล
ให้รู้แค่ความรู้สึกตัวไปเรื่อยๆครับ เมื่อไหร่เผลอ ก็ให้รู้ตัว ให้กลับมา รู้ความรู้สึกตัวพอ เมื่อเราชินกับความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวจะค่อยๆเด่นชัดขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นการเจริญสติ จาก" ตอนแรกที่รู้แค่แว๊ปเดี๋ยว " แค่แว๊ปเดียว เท่านั้นนะ ไม่ต้องไปพยายามรักษาความรู้สึกตัว ถ้าไปพยายามให้รู้สึกตัวต่อไปนานๆ จะกลายเป็นการพยายามไปรู้สึกตัว จะไม่ใช่ความ" รู้สึกตัวที่บริสุทธิ์ " จะเป็น" การคิดรู้สึกตัวแทน " แยกดีดีนะครับ ตรงนี้หล่ะ ที่ไปสับสนกันทําผิดกันมาก ทําให้วิปัสสนาไม่เจริญ ปัญญาญาณที่จะรู้ธรรมจึงไม่เกิดกันครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น