วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

จากการพิจารณาทั้ง 4 ลักษณะ สามารถละทิฏฐิได้ 7 อย่าง

จากการพิจารณาทั้ง 4 ลักษณะ สามารถละทิฏฐิได้ 7 อย่าง กล่าวคือ

1. การเห็นความสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสายของนาม-รูป คือ เห็นความเกิดแล้วตาย เมื่อตายแล้วก็เกิดอีกไม่มีการสูญหายไป ย่อมละ อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) และนัตถิกทิฏฐิ (เห็นว่าทำแล้วไม่มีผล)

2. การเห็นถึงสภาวธรรมที่ต่างกัน เพราะมีเหตุและผลที่ต่างกัน สามารถละสัสสตทิฏฐิ (ความห็นว่าเที่ยง) ออกไปได้ เพราะมีธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ

3. การเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นว่าไร้การจัดแจงบงการจากใคร เป็นการปฏิเสธลัทธิผู้สร้างหรืออิสสรนิมานวาททิฏฐิ และปฏิเสธความมีตัวตนหรืออัตตทิฏฐิ

4. การยอมรับถึงผลธรรมว่ามีเหตุเฉพาะของตนไม่ก้าวก่ายกัน ย่อมสามารถละ อเหตุกทิฏฐิ ที่เห็นว่าธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเองได้ ไม่ต้องอาศัยเหตุ และอกิริยทิฏฐิ ซึ่งเชื่อว่าการกระทำต่าง ๆ ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป

ประโยชน์ที่ได้จากการพิจารณาเหตุผลตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐาน จึงสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายเข้าใจเหตุผลในความเป็นอยู่ของตนเองว่า รูป-นามที่ยึดถือกันว่าเป็นอัตตาหรือเป็นตัวเรานี้ หาได้มีผู้ใดสร้างขึ้นไม่ มีแต่เหตุกับผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามสภาวะปรมัตถธรรมเท่านั้น ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ประการใด

2. ความเข้าใจรูป-นามตามเหตุผลเช่นนี้ จะชักนำให้ผู้รู้นั้นพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ เพราะสามารถทำลายความเห็นผิด และความสงสัยเสียได้ตามสมควรแก่ความรู้ความเข้าใจของตน คือ เมื่อมีความรู้จากการเรียนที่เรียกว่า สุตามยปัญญา ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติ ที่สามารถละสักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา เป็นต้น

3. ความรู้ความเข้าใจในรูป-นาม ตามเหตุผลของปฏิจจสมุปบาท ย่อมสงเคราะห์เข้าในปัจจยปริคหญาณ จัดเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิโดยตรง ซึ่งถือว่าได้ผ่านนาม-รูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นทิฏฐิวิสุทธิมาแล้ว เพราะผู้ที่รู้ในปฏิจจสมุปบาทและปัฏฐานนั้น ต้องมีความรู้เรื่องรูป-นามเป็นอย่างดี เมื่อยกรูป-นามขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา โดยอาศัยสุตามยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา ก็เป็นเหตุให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล พ้นจากวัฏฏทุกข์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...