โยคะตันตระ
แบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนนอกซึ่งเรียกว่า
อุปโยคะตันตระและส่วนใน เรียกว่าอนุตรโยคะตันตระ อุปโยคะตันตระ ถือว่าพิธีกรรมที่ถูกต้องบริสุทธิ์และการปฏิบัติที่เคร่งคัด เป็นเพียงการช่วยเหลือไปสู่การบรรลุสู่พลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ
สิ่งสำคัญที่ต้องเพ่งคือ ในช่วงสมาธิจิตอันมั่นคงให้มองลึกเข้าไปในสมาธิจิตนั้นให้เห็นการมานะ ปฏิบัติเพื่อรับใช้พลังทิพย์ ได้เกิดพลังขึ้น นั่นคือพลังแห่งการปฏิบัติได้เข้าผสมรวมกับพลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ เป็นการเข้ารวมกับปัญญาอันสูงสุด และเข้ากันโดยไม่เหลือร่องรอย คือไม่เหลือขั้วใดๆ คือการเข้าสู่การรู้แจ้งในศูนยตาสภาวะ การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ศูนยตาสภาวะหรือสภาวะอันไม่มีขั้ว เกิดจากการปฏิบัติมุทราทั้งสี่
คือมหามุทรา
ธรรมมุทรา
ซามายามุทรา
กามามุทรา ขันธ์ 5 และอารมณ์ 5
ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพระพุทธเจ้า5พระองค์หรือก็คือปัญญาอันสูงสุดทั้ง5
มหามุทราเป็นส่วนขยายความเพิ่มออกมาจากปรัชญาปารามิตา ซึ่งเน้นในการรู้แจ้งภายใน ในวัชรยานจุดเริ่มต้นของมหามุทราได้ต่อเชื่อมกับสมาธิราชาสุตตะซึ่งก็คือ ความหมายเบื้อง ลึกของปรัชญาปารามิตา
พระอาจารย์ผู้บรรลุและเชี่ยวชาญในสายการปฏิบัติมหามุทราเรียกว่ามหาสิทธะ ส่วนใหญ่และจะไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ แต่เป็นผู้ปฏิบัติสำเร็จมรรคผลในเบื้องลึกสุดยอดแห่งปรัชญา ปารามิตา อยู่ในศูนยตาสภาวะ อยู่ในความไม่มีขั้ว พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง อาทิ ซาราฮา ติโลปะ นาโรปะ มารปะ มิลาเรปะ อนุตรโยคะตันตระ ซึ่งเป็นตันตระในและถือเป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างตันตระนอกและใน
คัมภีร์หลักของอนุตระตันตระคือ กูเฮี้ยสมัชชา คำว่ากูเฮี้ยแปลว่าไม่ได้เปิดเผย ความหมายของกูเฮี้ยสมัชชา คือกายวาจาใจของพระพุทธเจ้าในส่วนที่ไม่ได้นำเสนอต่อสมัชชาสงฆ์ปัจเจกพุทธ และ ผู้ปฏิบัติทั่วไปในมหายานคำภีร์นี้ได้เปิดเผยในทิเบตตะวันออกโดยบัน ฑิตสัมฤทธิฌานะในศตวรรษที่ 11
ยานที่7 มหาโยคะ
มหาโยคะจัดอยู่ในตันตระภายในซึ่งจัดอยู่ในช่วงของการพัฒนา ในคำสอนของพุทธศาสนาทั่วไปได้จัดความจริงออกเป็นสองประเภทคือ
ความจริงทางโล กียะ หรือสมมุติสัจและความจริงทางโลกุตระหรือปรมัตถ์สัจ แต่ในมหาโยคะจะพูดถึงความจริงที่3 ความจริงที่3สอนให้ใช้อารมณ์ทุกอารมณ์ ทุกสภาพแวดล้อม ทุกสถานการณ์ ให้เป็นยานพาหนะนำไปสู่สมาธิซึ่งคงที่และสูงยิ่งๆขึ้นเพื่อบรรลุมรรคผลใน ชาตินี้ ทุกสถานการณ์ ทุกอายตนะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นมันดาลา องค์พุทธ ยิดัม ธรรมบาล ประทับอยู่มากมาย ซึ่งหลากหลายรูปลักษณ์ กระแส เสียงและสีสัน ทั้งปวงถือเป็นการแบ่งภาคมาจากตรีกาย ในการปฏิบัติศาทนะ(พีธีกรรม มุทรา มนตรา)จะทำให้จิตของผู้ปฏิบัติใสดังเช่นกระจก เป็นมันดาลาที่ใสบริสุทธิ์ มหาโยคะเน้นในการสร้างมโนทัศน์ในสมาธิจิต
ยานที่8 อนุตรโยคะ
อนุโยคะจัดอยู่ในช่วงของการบังเกิดผล โดยเน้นไปที่ความรู้สึกในศูนยตาของมันดาลา ภาพมันดาลาในมหาโยคะเปรียบดังภาพในมิติเดี่ยว แต่ภาพเดียวกันในมันดาลาเปรียบดังภาพหลายมิติสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ในศูนยตา ในอนุโยคะ รูป เสียง สัมผัส ในสรรพสิ่งที่เรารู้สึกได้ ให้มีความรู้สึกในอารมณ์แห่งศูนยตา ความรู้สึกเช่นนี้ถือเป็นลัญลักษณ์ความรู้สึกของธรรมกาย ซึ่งเรียกว่ากุนตูซังโม ภาพที่เห็นหรือสิ่งที่ปรากฏขี้นคือสัญลักษณ์ของธรรมกายเปรียบดังเพศชาย
ส่วนความรู้สึกในศูนยตาของธรรมกายคือกุนตูซังโม เปรียบดังเพศหญิง การรวมกันของกุนตูซังโปและกุนตูซังโมเกิดสภาวะอิสระแห่งจักรวาลหรือพุทธภาวะ หรือสภาวะเหนือเหตุและผล การปฏิบัติอนุโยคะได้ด้วยการฝึกบังคับลมปราณต่างๆในร่าง
เพื่อนำพาร่างวัชร ของเรา คือกุนตูซังโปเข้ารวมกับความรู้สึกแห่งศูนยตาคือกุนตูซังโม เพื่อบังเกิดผลในสภาวะอิสระแห่งจักรวาล
ยานที่9 อธิโยคะ
อธิโยคะคือการแสดงออกที่สมดุลย์การเข้ากันได้อย่างดีที่ สุดของสิ่งที่ปรากฏและความรู้สึกแห่งศูนยตา ดังนั้นอธิโยคะจึงเน้นที่พุทธภาวะหรือสภาวะเหนือเหตุและผลดั้งเดิมซึ่งมี อยู่ประตัวในทุกสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญาดั้งเดิม ปัญญาดั้งเดิมนำพาเข้าสู่สภาวะอิสระแห่งจักรวาลดั้งเดิมนั่นคือพุทธภาวะ สภาวะอิสระแห่งจักรวาลจึงเป็นสภาวะอันปราศจากรูปแบบ ปราศจากมิติ การแตกแยกหรือการรวมกลุ่มใดๆ และสภาวะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นเพราะว่ามันมีอยู่แล้ว ด้วยสภาวะจิตอิสระแห่งพุทธนั้น แม้แต่กายหยาบก็สามารถนำพาเข้าเอกภาวะนั้นได้ด้วย และกายนั้นก็ไม่ต้องถูกยึดติดด้วยเหตุผลใดๆหรือมิติใดๆ
ในคำสอนอธิโยคะ ซึ่งถือเป็นคำสอนสูงสุดของทุกยานที่มีอยู่ มีคำสอน หกล้านสี่แสนประโยด ซึ่งเปิดเผยและถ่ายทอดสู่โลกมนุษย์โดยวัชรสัตโต โดยการับโดเจเป็นผู้รับมอบ ซึ่งถือเป็นส่วนน้อยนิดที่ที่ได้ถ่ายทอดออกมา ยังมีอีกมากมายมหาศาลที่ไม่ได้ถ่ายทอดออกมา อธิโยคะมาจากองค์ธรรมกายสมันตรภัทร(กุนตูซังโป)ถ่ายทอดสู่วัชรสัตโตองค์ สัมโภคกาย ถ่ายทอดต่อยังการับโดเจองค์นิรมานกายซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับถ่ายทอด จากนั้นสู่มัญชูศรีมิตตา ซึ่งมัญชูศรีมิตตาได้นำคำสอนหกล้านสี่แสนประโยคไปจัดกลุ่มเป็นเซมเด ลองเด เมกาเด และถ่ายทอดให้ศรีสิงหะ ศรีสิงหะได้แบ่งเมกาเดออกเป็นสี่ระดับ ระดับนอก ระดับใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอดและได้ถ่ายทอดสู่ ฌานะสุตตะ กูรูรินโปเช่ และไวโรจนะ ฌานะสุตตะได้ถ่ายทอดให้วิมลมิตร และวิมลมิตรยังได้รับการถ่ายทอดจากการับโดเจโดยตรงในมิติแห่งนิมิตร ไวโรจนะ วิมลมิตร และกูรูรินโปเช่ได้นำคำสอนทั้งหมดเข้าสู่ทิเบตและได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
วัชรยานคือชื่อ เรียกโดยรวมในแนวคิดทุกทางทั้งวินัย สุตันตระ และอภิธรรม ส่วนตันตระคือวิธีปฏิบัติคำว่าตันตระคือการต่อเนื่องซึ่งมีและไม่มีจุดเริ่ม ต้นและจุดที่จบในขณะเดียวกันดังเช่นการดำเนินไปบนเส้นรอบวง ด้วยว่าทุกจุดเป็นจุดเริ่มและจบได้ด้วยกันทั้งนั้น ในวัชระยาน สภาวะอิสระแห่งพุทธได้เกิดขึ้นพร้อมกับจักรวาล เกิดขึ้นด้วยศูนยตาสภาวะ การดำเนินไป การวิวัฒนาการ แห่งสรรพสิ่ง ดำเนินไปบนเส้นรอบวง ทุกจุดบนเส้นรอบวงไม่ใช่จุดเริ่มต้นและไม่ใช่จุดจบ เช่นกันทุกจุดบนเส้นรอบวงก็เป็นได้ทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ ดังนั้น ทุกจุดจึงสามารถเป็นจุดแห่งสภาวะอิสระดังเดิมได้ทั้งนั้น ฉะนั้นการเดินทางของพุทธตันตระคือการเดินไปมองไปเพื่อให้จำให้ได้ว่านี่คือ จุดเริ่มต้นของเราอธิโยคะ ก็คือการชี้ตรงลงไปเลยว่าจุดนี้คือจุดแห่งสภาวะอิสระดั้งเดิมแห่งเรา และเราจะอยู่ในจุดนี้จุดที่อิสระจากการควบคุมใดๆจุดที่อยู่นอกเหนือจากมิติ เหตุและผลใดๆทั้งปวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น