การรู้สึกตัวไปกับชีวิตประจําวัน
เวลาที่เรากวาดบ้านแกว่งมือนั้นรู้สึกตัวคือการปฏิบัติธรรม เวลาที่เราลุกนั่งลุกยืนเรารู้สึกตัวนั้นหล่ะมีสติแล้วคือการปฏิบัติธรรม เวลาที่เราก้าวเดินอยู่ในบ้าน เวลาที่เราขยับขาก้าวเรารู้สึกตัวคือการปฏิบัติธรรม เวลาที่เราอาบนํ้านํ้าสัมผัสถูกกายเราเรารู้สึกตัวนั้นคือการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้มีสติหรือรู้สึกตัวตลอดเวลา ถ้าเราหวังมรรคผลนิพพาน ก็ต้องรู้สึกตัวให้ได้บ่อยๆ ทําที่บ้าน จนอยู่บ้านเรามีแต่ความรู้สึกตัว ไม่ต้องไปหาสถานที่ไหนปฏิบัติหรอกครับ เวลาเราเจอเรื่องราวต่างๆของคนในบ้านมีถูกใจให้เรารู้สึกตัว(อย่าปล่อยใจไหลไปในภพชาติไปดีใจ) เวลาที่เราเจอเรื่องของคนในบ้านที่ไม่ถูกใจเราให้เรารู้สึกตัว(อย่าปล่อยใจไหลไปยึดกับทุกข์ที่เกิด การแก้ปัญหาและปล่อยวางจะดีกว่า แค่เรารู้สึกตัวสติจะมาคุมใจ) นี้หล่ะการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติในอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีบอกว่าต้องหลับตาเลย ให้รู้สึกตัว นี้หล่ะคือการปฏิบัติธรรมนะ
อ้างอิงพุทธวจนะ
ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน
(อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๖-๒๔๐/๓๔๗-๓๕๐)
อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการเดิน
เธอก็เดินด้วยการตั้งจิตว่า
"บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้เดินอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งการเดินนั้น
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่เก้า)
อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการยืน
เธอก็ยืนด้วยการตั้งใจว่า
"บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้ยืนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้นี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งการยืนนั้น
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะฐานที่สิบ)
อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนั่ง
เธอก็นั่งด้วยการตั้งใจว่า
"บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นั่งอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งการนั่งนั้น
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะฐานที่สิบเอ็ด)
อานนท์ ! ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตน้อมไปเพื่อการนอน
เธอก็นอนด้วยการตั้งใจว่า
"บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งการนอนนั้น
(นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบสอง)
อานนท์ ! ธรรมทั้งหลาย (อันเป็นที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ๑๙ อย่าง) เหล่านี้แล
เป็นไปเพื่อกุศลโดยส่วนเดียว
" เป็นของพระอริยเจ้า "
เป็นโลกุตตระอันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น