การเดินก็ใช้สถานที่ตรงไหนก็ได้
ที่มันเรียบเตียน ใต้ต้นไม้ อะไรก็ได้
ขั้นแรก เราก็ยืนก่อน
ยืนกำหนดรู้สึกตัว
ทำความรู้สึกทั่วร่างกาย
กายที่ยืนนี่เรากำหนดรู้
จะเห็นว่ากายก็เป็นอย่างหนึ่ง
จิตก็อย่างหนึ่ง
ลองยืนด้วย กำหนดรู้ความยืนที่กาย
ทำสติตั้งแต่ศีรษะตลอดถึงปลายเท้า
เวลาเดิน ก็เดินไปตามปกติ
แต่ว่าอาจจะช้าเล็กน้อย
เพื่อสติจะได้ทันขึ้น
เดินไปตามปกตินั่นแหละ
ก้าวไปตามปกติไม่ต้องต่อส้น
เวลาเดินเราก็จับความรู้สึก
อาการเคลื่อนไหวตั้งแต่ยกเท้า ก้าวเท้า
เหยียบเท้าลง มันจะมีความตึง ความไหว
พอฝ่าเท้ากระทบพื้น
มันก็มีความสัมผัสความแข็ง
มันจะมีความตึงที่กาย มีความตึง
ความหย่อน ความเคลื่อนไหว
เราสังเกตที่ความรู้สึก
ที่การเคลื่อนไหวของขา
ใหม่ๆ ก็ ขอเสนอว่า
ให้รู้ที่ขาหรือที่เท้าก่อน
แต่ถ้าเราปฏิบัติจนชำนาญแล้ว
ก็รู้ทั่วไป ทางอายตนะอื่น
คือ ทางใจ ทางตา หู จมูก ลิ้นได้
แต่ใหม่ๆ ก็ขอเสนอว่า
ให้รู้เฉพาะที่กายก่อน
ดูที่ขา ที่เท้า คือ ไม่ใช่ดูรูปร่าง
รูปร่างของท่อนขานี่ก็เป็นบัญญัติ
แต่ตัวลักษณะตึง หย่อน
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง นี่เป็นปรมัตถ์
ในกระแสจิตเรา
จะมีมโนภาพเป็นรูปร่าง
แต่ว่าใหม่ๆ ก็อาจจะสัมผัสกับรูปร่างไปก่อน
อย่างรูปร่างท่อนขาก้าวไปๆ
แต่ต้องพยายามกำหนดให้ลึกกว่านั้น
ก็ต้องไปสังเกตความรู้สึก
ที่มันตึง มันหย่อน มันไหว มันแข็ง
สังเกตดู เดินไปตามปกติ
เมื่อไปสุดที่แล้วก็กำหนดยืน
ให้รู้อิริยาบถฝึกการยืน กำหนดไว้
เวลากลับก็หมุนเท้ากลับทางขวา
โดยเผยอปลายเท้าขึ้น แล้วก็หมุนส้น
แล้วก็ยกเท้าซ้ายตาม
พอยกเท้าซ้ายแล้ว
ก็กำหนดที่เท้าซ้ายสัก ๓ ครั้ง
มันก็จะหันมาพอดีข้างหน้า
แล้วเราก็กำหนดยืนรู้ตัวอีก
ทำความรู้สึกตั้งแต่ศีรษะ
ตลอดถึงปลายเท้า
ยืน ยืนก็อย่างหนึ่ง รู้ว่ายืนก็อย่างหนึ่ง
แล้วเราก็เดินกลับมา
เดิน ทำความรู้สึกตัว
ทำร่างกายให้สบายๆ เดินแบบสบายๆ
แต่ว่าไม่ปล่อยจิต
ให้ล่อยลอยไปเรื่องอื่น
ให้จิตมารับรู้ที่ตัวเอง ที่ร่างกาย
ระยะแรกก็ทำความรู้สึกไว้ที่ขา
ที่เท้าก้าวไปก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ไม่เหมือนกัน
การที่เคลื่อนไหวไปเป็นรูป
ตัวที่ไปรู้เคลื่อนไหวเป็นนาม
ธัมโมวาท โดยพระวิปัสสนาจารย์
ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาเขมคุณ
(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น