วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เทคนิคการทําสมาธิ

เทคนิคการทําสมาธิ

เมื่อเริ่มทําอย่าเพึ่งตั้งใจจะรู้ลมเลยทันที ให้สังเกตุมาที่กายใจเราเองก่อน กายเราตึงเพ่งเกร็งตรงไหนให้ผ่อนคลายออก หมั่นสังเกตุรู้สึกมาที่กายตน อย่าให้ตึงเพ่งเกร็ง เมื่อคลายกายดีแล้ว ให้มาคลายใจ ให้รู้สึกถึงใจเราเอง ว่าใจเราตึงเพ่งเกร็งไหม ให้ผ่อนคลายใจเราให้เบาสบายๆ สัมมาสมาธิจะเกิดเมื่อกายใจเราเบาสบาย ลองทําใจยิ้มดู(ทําแบบไม่ได้ไปทํานะ)

ปรับกายใจเสร็จ จึงเริ่มรับสัมผัสรู้ไปกับลมหายใจ ให้สัมผัสรู้สบายๆกับลมหายใจ ถ้ารู้สึกว่ายังวอกแวกไหลไปกับความคิด ให้กําหนดเอาคําบริกรรมมาช่วยกํากับใจเพิ่มอีกทาง ถ้าใจเราสบายสัมผัสรู้สึกไปกับลมได้ดีอยู่แล้ว คําบริกรรมก็ไม่จําเป็น ให้สัมผัสรู้ไปกับลม โดยเล่นกับลมที่ยาวบ้างสั้นบ้างให้มีสติรู้สึกตัวสัมผัสรู้ที่เกิด การดึงลมที่ยาวๆ สามารถที่จะดึงให้เราเข้าฌานไปได้อย่างง่ายๆเมื่อเราคุ้นเคย (เมื่อปฏิบัติจนชินในอารมณ์ฌาน ให้เหนี่ยวนําอารมณ์ฌานขึ้นมาสบายๆ ฌานจะเกิดอย่างง่ายๆ)

ระหว่างที่สัมผัสรู้ลมหายใจ ให้หมั่นกลับมาสังเกตุกายใจว่าตึงเพ่งเกร็งไหม(สังเกตุจากเปลือกตาหัวคิ้ว มีการเกร็งไหม ถ้ามีเพ่งอยู่ ให้คลายออก ปรับให้เบาสบาย การให้ใจยิ้มจะช่วยคลายเบาๆ) การกลับมาสังเกตุเป็นการเรียกสติทําให้เผลอน้อยลง(สติยิ่งมาก เผลอยิ่งน้อย) ใจจะสงบเข้าถึงความว่าง จะค่อยๆวางขันธ์จากหยาบไปละเอียด อาการเวทนาถ้ามีปวดขาจะหายไป กายจะเบาใจจะเบา ขันธ์จะถูกวางไปเรื่อยๆ คําบริกรรมจะหายไป(อย่าไปดึงกลับมาอีก) ลมหายใจจะเบาจนเหมือนไม่มีลมหายใจ ตาดับ หูดับ อะไรที่หายไปอย่าตกใจและอย่าไปดึงกลับมาอีก ให้สัมผัสรู้กับความว่าง ให้สังเกตุว่ามีเรา(จิตผู้รู้)ที่ไปดูความว่างอยู่ อย่าเข้าไปอยู่กับความว่างให้แค่รู้ แต่ให้สัมผัสถึงและอยู่กับผู้ที่ดูความว่างนั้น ให้อยู่กับผู้ที่ดูความว่าง จะทําให้คุ้นเคยชินกับผู้ดู(จิตผู้รู้) อะไรที่ผุดขึ้นมาก็แค่เข้าไปรู้ แต่ไม่เข้าไปเป็น แค่สัมผัสรู้ถึงพอ จะค่อยๆย้อนเข้าไปอยู่กับธาตุรู้ วิปัสสนาญาณจะเกิด

หลักการ สัมมาสติเป็นตัวทําให้เกิดสัมมาสมาธิ หากขาดสติจะไม่ใช่สัมมาสมาธิ จะเป็นเผลอเพลินหรือเผลอเพ่งกลายเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิไม่เกิดปัญญา สัมมาสมาธิเป็นหนทางแห่งการเกิดปัญญา(ปัญญาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ) สัมมาสติและสัมมาสมาธิ จะผลัดกันหนุนซึ่งกันและกัน ในเส้นทางแห่งการ เจริญสติ เจริญสมาธิ และเข้าไปหนุนให้สัมมาต่างๆในมรรค8 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น บนเส้นทางแห่งมรรคผล

ภาพ วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...