วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ช่วงนี้ต้องคิดให้มันดี เอาคุณภาพของมันจริงๆ

ช่วงนี้ต้องคิดให้มันดี เอาคุณภาพของมันจริงๆ ไม่ใช่ว่าจะฟังเเล้ว รู้เเล้วเอาไปพูด ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเอาคุณภาพของมันที่มันเป็นขึ้นมาจริงๆ มันเป็นช่วงระยะใด เวลาใด อันนี้พูดเรื่องตัวเองบ้าง มันเป็นกำลัง เราย่าง(เดิน)อยู่ หรือ เราเดิน เรายืน เรานั่ง เรานอน จะรู้จักจริงๆเรื่องนี้ ดังนั้น การห้ามความคิดจึงห้ามไม่ได้ ให้มันคิด ปฏิบัติอันนี้ปฏิบัติให้มันคิด ไม่ใช่ปฏิบัติให้มันสงบ ให้มันนิ่ง มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้น ให้มันคิด ทุกคนที่เคยฟังหลวงพ่อพูด มันคิดดีเเล้ว มันฟุ้งซ่านดีเเล้ว หลวงพ่อเคยพูดอย่างนั้น บัดนี้เราไปปฏิบัติธรรมะ เราไม่อยากให้มันคิด อยากให้มันสงบ เนี่ย มันผิดกัน

ดังนั้น จึงว่า ความคิด ความเห็น มันจึงคนละเรื่องกัน ถ้ามันคิด เราก็ยิ่งรู้ความคิดของเรา ถ้าเราไปบังคับไม่ให้มันคิด มันก็บังคับไม่ได้ มันก็เป็นทุกข์ นี่มันเป็นอย่างนั้น ความสงบนี้มันมี สอง อย่างด้วยกัน ความสงบเเบบบังคับไม่ให้มันคิด มันเป็นทุกข์ บัดนี้ความสงบปล่อยไปตามสภาพของมัน มันยิ่งคิดเราก็ยิ่งรู้ หลวงพ่อไม่เคยเรียนหนังสือ หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบให้ฟัง เหมือนกับนักมวย นักมวยเรียนมาจากครู เรียนมาจากอาจารย์ เเต่เรียนมาเเล้วไม่เคยขึ้นเวที ไม่เคยไปชกในเวที จะถือว่าคนนั้นเป็นเเชมป์เปี้ยนได้มั๊ย เป็นไม่ได้ บัดนี้อีกคนหนึ่ง ไม่เคยเรียน ไม่เคยมีครู เเต่ขึ้นเวทีชกกับคู่ต่อสู้บ่อยๆ ชกบ่อยๆ ชกไปจนได้เป็นเเชมป์เปี้ยน ชกทีไรชนะทุกที ชกทีไรชนะทุกที ก็ได้เป็นเเชมป์เปี้ยน

อันนี้ก็เหมือนกัน การปฏิบัติธรรมะ มันยิ่งคิดเรายิ่งรู้ความคิด ถ้าไปบังคับไม่ให้มันคิด มันก็เลยไม่รู้ความคิด ไม่รู้กลไกของความคิด ดังนั้นความสงบจึงว่า มันมีอยู่สองอย่างด้วยกัน สงบเเบบไม่รู้ สงบเเบบรู้ มันเป็นอย่างนั้น ดังนั้น การปฏิบัติธรรมมะเเบบนี้ ความเป็นพระอริยะบุคคลนั้น เป็นได้ทุกคน ถ้าทำถูกจังหวะ ถ้าทำไม่ถูกจังหวะเเล้ว เเสดงว่าไม่เกิดปัญญา ไม่ถูกต้อง ถ้าไม่เกิดปัญญามันจะถูกต้องได้ทำไม ถ้าไปบังคับไม่ให้มันคิด มันจะเกิดปัญญาได้ยังไง ต้องปล่อยให้มันคิด มันยิ่งคิดเราก็ยิ่งรู้ มันยิ่งคิดเราก็ยิ่งมีปัญญา หาวิธีเเก้ไขมัน

ดังนั้น เรามาที่นี่ มาปฏิบัติธรรมะ ต้องละ ละการ ละงาน ละหน้าที่ ถึงเวลงเวลาหน้าที่ของเรา ต้องปฏิบัติ เเต่ให้มันคิด มันคิดเเต่อย่าเข้าไปในความคิด ไม่ให้เข้าไปในความคิด มันคิดปุ๊บ เรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ มาอยู่กับความรู้สึก เเล้วความคิดมันหยุดไปทันที เเล้วมันตั้งข้อหา ตั้งข้อใหม่ ตั้งเรื่องใหม่ขึ้นมาคิดอีกเเล้ว มันคิดอีก มาเรื่องนี้ มันก็ไม่คิดเหมือนเรื่องเดิม มันต้องคิดเป็นเรื่อง เป็นเรื่องขึ้นมา เราก็ยิ่งรู้เป็นเรื่อง เป็นเรื่องขึ้นไป

จึงว่า เมื่อรู้เท่าทันเหตุการณ์กับความคิด เราเรียกว่า จิตหลุดพ้น เเต่คำพูดว่า จิตหลุดพ้น คือ รู้ทันกับความคิดนั่นเอง ความคิดนั้นจะหยุดได้ เรียกว่า เราห้ามมันได้ เเต่ไม่ใช่ว่าห้ามไม่ให้มันคิด ให้มันคิดไปตามเรื่องของมัน เเต่ เราเป็นเพียง ดู มัน เท่านั้นเอง ดังนั้นเราไปเข้าใจว่า โทสะ โมหะ โลภะ มันเกิดขึ้นมันเป็นทุกข์ ก็มันเป็นทุกข์เพราะเราไปห้ามมันไม่ให้มันคิด อันนี้เราให้มันคิด เเต่เรารู้จักมัน มันยิ่งคิด มันจะคิดไปเรื่องโทสะ คิดไปเรื่องโมหะ คิดไปเรื่องโลภะ เราก็รู้ หรือ มันคิดดี เราก็รู้ มันคิดชั่ว เราก็รู้ มันเป็นอย่างนั้น ความรู้นี้เเหละ จึงเรียกว่า มันเป็นสิ่งที่ให้สัมผัสถึงว่า ให้รู้ ให้เห็น ให้เข้าใจ รู้ทัน จนมันคิดอะไรไม่ได้ จึงเรียกว่า รู้ทัน รู้เท่ารู้ทัน รู้จักกันรู้จักเเก้ ท่านว่า ถึงที่สุดของทุกข์

พระธรรมเทศนา หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...