#ต้นตอของการรู้ปรมัตถ์
ง่ายๆ คือลงมือทำซื่อๆ ตรงๆ ไม่ต้องไปคิดอะไร
สัมผัสความรู้สึกแค่สองอย่างนี้
ต่อไปมันก็จะเห็นตัวสภาวะอันอื่น ขยายไปเรื่อยๆ
รู้ไปเรื่อยๆ เป็นสมมติปรมัตถ์
เบื้องต้นให้รู้รูปรู้นาม ให้รู้อาการของกาย
ความรู้สึกในร่างกายมันมีอะไรบ้าง
ให้รู้ให้ครบ ให้จบให้ถ้วน
ความรู้สึกทางกายที่มันสบาย ไม่สบายมาจากอะไรบ้าง
ไม่ต้องไปบัญญัติ ไม่ต้องไปสมมติให้มัน
ให้รู้ว่าเป็นความรู้สึกก็พอ นี้เรียกว่าปรมัตถ์
ในส่วนที่เป็นนาม ก็ให้รู้ว่า
ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ มาจากไหน
ตามรู้จนเห็นต้นตอชัดเจน เราจะไม่สงสัย
เรียกว่ารู้ปรมัตถ์
ในส่วนที่เป็นนามหรือใจของเรา
ให้รู้ว่าความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจมาจากไหน? เกิดจากอะไร?
ตามรู้ไปอย่างนี้จนกระทั่งเห็นต้นตอที่ไปที่มาของมันชัดเจน
เราจะไม่สงสัยแล้ว เพราะรู้ปรมัตถ์
วันๆ ให้ดูแค่สองเรื่องนี้
แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น สิ่งอื่น
ก็ต้องใช้สมมติ แต่เรารู้ว่าต้นตอมันอยู่ที่นี่
อะไรที่จะเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบาย ไม่พอใจ
เรารู้ก็หลีกเลี่ยงเสีย เท่านั้นเอง
อะไรที่เป็นเหตุให้เกิดความสบาย
ความสงบ ความราบเรียบ ความสุข
เราก็ทำสิ่งนั้นเท่านั้นเอง มันไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย
แต่เรื่องของเรื่อง เราไปอยู่กับความคิด ไปติดในสมมติ
สมมติอาศัยกาลเวลา อดีต อนาคต
ทำให้เกิดความคิด
แต่ถ้าจิตมาอยู่กับปัจจุบัน ความคิดเกิดไม่ได้
ตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินก็คือได้ยิน
จิตรู้ก็สักแต่ว่ารู้
ไม่ไปคิดต่อเติมเสริมแต่งมากกว่าที่เรารู้
.
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น