วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เกอชา

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "เกอิชา" หลายคนคงนึกถึง "หญิงให้บริการทางเพศ" ซึ่งเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยและถูกละเลยสิทธิมนุษย์ชนในสังคมในบางประเทศ แต่สำหรับในประเทศญี่ปุ่นแล้ว "เกอิชา" นั้นเป็นอาชีพที่มีเกียรติและเป็นผู้เชียวชาญทางด้านศิลปทุกรูปแบบ

เกอิชา" มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า "Artist" หรือ "Art Person" ซึ่งหมายถึง ผู้สร้างงานศิลปนั้นเอง เกอิชาในประเทศญี่ปุ่น มีความหายถึง "ผู้มีทักษะสร้างความบันเทิง" เกอิชาเป็นบุคคลผู้ซึ่งสามารถใช้ทักษะทางศิลปะได้อย่างคล่องแคล้วและงดงาม ไม่ว่าจะเป็น ศิลปในการร่ายรำ การเล่นดนตรี การเล่าเรือง และการสร้างงานศิลปที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะตัวอย่างการ "วาดรูป" ได้อย่างสวยงามและคล่องแคล้ว
ซึ่งมิใช่หญิงทุกคนจะสามารถเป็นเกอิชาได้ ผู้ที่เป็นเกอิชาที่มีฝีมือสูงนั้นย่อมเป็นที่ต้องการของสำนักต่าง ๆ เกอิชาบางคนนั้นมีสำนักประจำ บ้างก็วิ่งลอกประจำอยู่ตามสำนักต่าง ๆ หรือแม้นกระทั้งมีสำนักของตนเอง
และใช้จะมีแต่เพศหญิงเท่านั้นที่จะเป็นเกอิชาได้ จุดเร้มต้นนั้นกลับเริ่มมาจาก "เพศชาย" กว่า 1,800 ปีล่วงมาแล้ว แต่อาจจะเป็นเพราะสังคมในสมัยนั้นเป็นสังคมของเพศชาย งานศิลปซึ่งถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติจึงถูกเพศชายส่วนใหญ่ดำเนินอาชีพไว้เป็นหลัก ดังนั้น การที่ "เพศหญิง" สามารถประกอบอาชีพที่เพศชายถนัดและสามารถทำได้ดีกว่า "เกอิชาหญิง" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และทำให้ "เกอิชาชาย" ลดน้อยและหมดความนิยมลงไปจนไม่เหลือเพศชาย ประกอบอาชีพ "เกอิชา" อีกเลย จนผู้คนต่างเข้าใจว่า "เกอิชา" นั้นต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้น

การจะเป็นเกอิชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น มิใช่เรืองง่าย เด็กหญิง หรือ "ไมโกะ" (ไมโกะ อาจหมายถึง การเต้นรำก็ได้เช่นกัน) ที่ถูกเลือกให้เป็นเกอิชานั้น จะต้องเข้ารับการฝึกหัดอย่างเข้มงวด โดยเริ่มทำงานเป็นคนรับใช้ของเกอิชาเพื่อฝึกทักษะการเป็นเกอิชา และเมื่อฝึกวิชาจนสามารถดำเนินอาชีพได้ด้วยตนเองในขณะที่อายุยังไม่พ้นวัยเด็กหญิงจะถูกเรียกว่า "เกโกะ" หรือในความหมายของค เด็กสาวที่ยังไม่เป็นเกอิชาเต็มตัว หรือเราอาจจะเข้าใจได้ง่าย ๆ กับคำว่า "เกอิชาฝึกงาน" นั้นเอง

"เกอิชา" จะไม่สามารถแต่งงานได้ เพราะหากแต่งงานแล้วเธอจะไม่สามารถประกอบอาชีพ "เกอิชา" ได้อีก แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเธอจะมีคู่ไม่ได้ เกอิชาที่ยังไม่ได้แต่งงานแต่มีคู่ คู่ของเธอจะถูกเรียกว่า "ดันนะ" ซึ่งจะเป็นผู้อุปถัมป์เลี้ยงดู "เกอิชา" ที่ยังไม่แต่งงาน ซึ่งโดยปกติแล้วเกอิชาที่ยังสาว ยังสวยและยังเป็นที่ต้องการในการให้บริการ จะยังไม่แต่งงาน จนกว่าจะพ้นวัยที่จะประกอบอาชีพเกอิชาได้แล้ว เธอเหล่านั้น จึงจะยินยอมเข้าวิวาห์กับ "ดันนะ" ที่ยังคงต้องการเธอไปเป็นเจ้าสาวของพวกเขา

"เกอิชา" ในสังคมญี่ปุ่นจะถูกยกย่องและมีเกียรติในสังคม แต่สำหรับชนชาติอื่นที่ยังคงมีความเข้าใจผิดในอาชีพ "เกอิชา" และเข้าใจไปว่า "เกอิชา" คือ "โสเภณี" นั้นยังคงมีอยู่อีกมาก เกอิชา นั้นแม้จะขายความบันเทิงความเพลิดเพลินให้แกผู้ที่มาซื้อบริการของเธอเท่านั้น ส่วนในเรืองอื่นนั้น เป็นเรืองของความยินยอมพร้อมใจ และสมัครใจที่จะ "ให้" มากกว่าต้องการ "ขาย" เพื่อแลกเงิน

ข้อมูลจาก : https://board.postjung.com/687992.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...