วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน

การเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็น ที่ผู้ภาวนาควรจะทำหลังจากที่ ได้พักจิตในความสงบจนพอดีแล้ว
จิตที่พักผ่อนในความสงบมาใหม่ๆ มักจะหนีไม่พ้นการติดอารมณ์สมถะออกมาด้วย

ถ้าเป็นผู้ภาวนามือใหม่ ไม่มีครูบาอาจารย์คอยบอกให้ อาจจะจมแช่อยู่ใน อาการติดสมถะอยู่นานหลายๆ ปี และไม่รู้เลยว่าตัวเองติดอยู่ในอารมณ์ สมถะ มาเนิ่นนาน จนกว่าจะพบครูบาอาจารย์ ที่สามารถบอกทางเดินต่อไป ในการเจริญปัญญาให้ได้

สมัยก่อน การปฏิบัติในแบบครูบาอาจารย์สายพระป่า ที่ท่านนั่งทำสมาธิจนถึงระดับฌานที่สาม แล้วมาม้างกาย สลายกาย จนเหลือแต่จิต แล้วมาดูจิตต่อไปอีกและ ที่สำคัญจะขาดไม่ได้คือ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน ต้องทำให้ครบจนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ท่านคุ้นเคยดี ทุกขั้นตอน กว่าแต่ล่ะองค์ท่านจะถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นได้

จนกระทั้ง บางท่านบารมียังไม่เต็มละสังขารไปก่อน จิตถึงกับจำได้ว่า เคยทำย่างนี้มาแล้ว เกิดมาชาติต่อไปเริ่มมาภาวนา ทำได้คล่องแคล้วโดยไม่ได้มีใครสอนก็มี

คนเมืองสมัยใหม่ พอได้ยินคำว่า เจริญสติในชีวิตประจำวัน ฟังว่าเป็นเรื่องใหม่ ความจริงแล้วไม่ได้ใหม่ แค่โยมๆ ทั้งหลายไม่เคยได้ยิน ได้ฟังมาก่อน

ทุกวันนี้ คนรู้จัก การเจริญสติในชีวิตประจำวัน มากกว่า การทำ สมาธิให้ถึงขั้นฌาน แถมยังดูถูก ดูหมิ่น การทำสมาธิไปต่างๆนาๆเสียอีก แต่แล้วก็ใช่ว่าจะเจริญสติ ในชีวิตประจำวันได้จริง ชีวิตแต่ล่ะวันๆมีแต่เรื่องฟุ้งซ่าน

ยิ่งกว่านั้นมักจะเข้าใจไปเองว่าไม่ต้องทำอะไร อยู่เฉยๆ ก็บรรลุธรรม   ที่เลวร้ายที่สุดคือ ได้รับรองว่าบรรลุธรรม ขั้นนั้นขั้นนี้ ทั้งที่ยังไม่เคยเห็นว่าจิตถึงฐานสักครั้ง และ ไม่รู้เลยว่า ตัวเองบรรลุธรรมได้ยังไง ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้อะไรสักอย่าง

บางคนอาจจะแย้งว่า ครูบาอาจารย์ก็บอกว่า การดูจิต ไม่ต้องทำความสงบก่อน ความจริงแล้ว ก็ถูกของท่าน แต่ไม่ได้ถูกทั้งหมด ลองพิจารณาศึกษาดูดีๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า จริงๆแล้วเป็นยังไง

ถึงคนสมัยนี้ สังคมเมืองจะเดินด้วย ปัญญานำสมาธิ เป็นส่วนใหญ่ ดูจิตไปสักระยะหนึ่ง ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ลองดูตามความจริงดูนะว่าใช่ไหม โดยวิธีการเดินด้วยปัญญานำสมาธิถูกแล้ว ว่าไม่ต้องทำความสงบจนถึงขั้น ฌานก่อน แต่เป็นไปไม่ได้เลยที่ การบรรลุธรรมจะเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีสมาธิที่ถูกต้องจนเพียงพอ

ครูบาอาจารย์ที่ มีคุณภาพส่วนใหญ่ ท่านทั้งหลายมีสมาธิมาดีทั้งนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...