วิธีฝึกสมาธิเพื่อให้ได้อิทธิฤทธิ์
หลังจากที่ผมฝึกนั่งสมาธิมา 10 ปี นั่งสมาธิทุกวันตอนเช้าและก่อนนอน พบว่า การฝึกสมาธิด้วยการนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว เป็นการฝึกที่ผิดวิธี เพราะ มีข้อเสียหลายประการคือ
ลำพังการนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว ทำได้วันละเล็กละน้อย จึงได้ผลน้อยมาก และ ช้ามากการนั่งสมาธิในช่วงเวลาอื่น อย่างเช่น ช่วงหัวค่ำ จะทำให้ตาค้าง นอนไม่หลับ ถ้านั่งช่วงกลางวัน พอออกจากสมาธิมาแล้ว บางครั้งจะรู้สึกเวียนหัว คลื่นใส้ เพราะร่างกายต้องปรับตัวสลับกันระหว่างการตื่นกับการหลับชีวิตเรามีเวลาเหลือไม่มาก ถ้ามัวแต่หลับตานั่งสมาธิ จะเหลือเวลาทำงานอื่นน้อยลง บางวันต้องรีบออกไปทำธุระแต่เช้า ก็จะไม่ได้นั่งสมาธิ ส่วนการนั่งสมาธิก่อนนอน ก็เป็นเหมือนกับการกินยานอนหลับมากกว่า คือ นั่งแล้วง่วงหลับไปจนถึงเช้าเวลาไม่นั่งสมาธิ กลับหายใจทิ้งไปอย่างเสียเปล่า
คนที่ทำงานใช้สมอง จะต้องนั่งทำงานมากอยู่แล้ว ทำให้เวลานอนแล้วตัวงอปวดหลัง จึงควรใช้เวลาว่างไปกับการเดินยืดเส้นยืดสาย หากมานั่งสมาธิ จะทำให้โอกาสยืดเส้นยืดสายลดลงกฎการฝึกสมาธิให้ได้อิทธิฤทธิ์ห้ามทิ้งอานาปานสติ
ฝึกตลอดเวลาการฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะฝึกกสิณหรืออสุภะหรืออะไรก็ตาม ต้องมีอานาปานสติควบคู่ไปด้วยเสมอ ใครทิ้งอานาปานสติ จะไม่มีวันฝึกได้ผล ถ้าได้ผลก็คือฟลุ๊ก อาจจะช่วงนั้นมีสติดีเพราะ อยู่ที่เงียบๆ บวกกับมีกำลังใจดีเพราะเพิ่งฟังคำสอนมา แต่เมื่อเจอสิ่งรบกวน ทำให้ขาดสติ ก็จะตกกลับมาอยู่ในสภาพคนธรรมดาได้ง่าย ดูอย่างวิชาธรรมกาย ที่เพ่งลูกแก้ว แต่ทิ้งอานาปานสติไป จึงแทบไม่มีลูกศิษย์สาขานี้ ที่ฝึกแล้วได้ผล เท่าที่ผมเห็นมา คนที่ฝึกกสิณโดยไม่ฝึกอานาปานสติควบคู่ไปด้วย นอกจากจะไม่ได้ผลอะไรแล้ว ยังมีจิตที่หยาบ เช่น คิดถึงแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ค่อยคิดถึงความรู้สึกคนอื่น เวลาต้องการอะไร หรือมีอะไรมากระทบจิตใจแล้ว มักจะหักห้ามใจไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นพระที่ฝึกมาหลายสิบปี ก็ยังได้แต่ตาทิพย์แบบวับๆแวมๆ คืออาจมีรู้บ้างนานๆครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้อะไรเลย
คำร่ำลือที่ว่า ถ้าอยากจะได้อิทธิฤทธิ์ ต้องฝึกกสิณนั้น ยังไม่ถูกต้อง เพราะ อิทธิฤทธิ์ได้จาก ฌาน 4 ซึ่งการจะได้ฌาน 4 มีวิธีเดียวคือ อานาปานสติ เพราะอานาปานสติ มีหลายขั้นตอน ถ้าทำแต่ละขั้นตอน ก็จะได้ฌานลึกลงไปเรื่อยๆ แต่ถ้าฝึกกสิณ จะไม่ได้ฌาน เพราะเป็นภาพนิ่งๆเฉยๆ ขาดตัวรู้ กสิณเป็นแค่ตัวเสริมอานาปานสติ ให้เห็นภาพในสมาธิชัดขึ้น เท่านั้นเอง
วิธีฝึกกสิณควบคู่กับไปกับอานาปานสติคือ ดูภาพตามลมหายใจ เช่น เห็นลมเข้าออกเป็นควันสีขาว หรือ รวมจิตให้เป็นก้อน เคลื่อนเข้าออกตามลมหายใจ
นั่งสมาธิแล้วฟุ้งซ่านเวลาเริ่มนั่งสมาธิใหม่ๆ มักจะมีความฟุ้งซ่าน คิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ มีทางแก้หลายวิธี ต้องใช้วิธีที่เหมาะสมกับอารมณ์ในขณะนั้น ถ้าฟุ้งซ่านมากอาจต้องนั่งดูความคิดของตัวเอง ถ้ายึดติดมากจำเป็นต้องปล่อยวาง
มีหลายอุบายที่ีจะช่วยให้ปล่อยวางได้ อุบายที่ได้ผล จะต้องเหมาะสมกับตัวเองและอารมณ์ในขณะนั้น ซึ่งมักจะเป็นอุบายที่ตรงกันข้ามกับอารมณ์ในขณะนั้น เช่น ถ้าฟุ้งซ่านอยู่กับการหาวิธีเอาตัวรอด ให้นึกว่าตัวเองกำลังจะตาย หรือ ถ้ายึดติดอยู่กับคน ให้ใช้อนัตตา โดยมองว่าสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีอะไรคงอยู่เป็นตัวเป็นตนอย่างถาวร สิ่งที่ครั้งหนึ่งในอดีตเคยมี ปัจจุบันไม่มีแล้ว สิ่งที่ปัจจุบันมี อนาคตก็จะไม่มีแล้ว คนที่เคยมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน อนาคตจะตายหมด จึงไม่มีอะไรให้เรายึดติด ลองดูง่ายๆ อย่างข่าวในวันนี้ที่มีคนสนใจกันมาก แต่หากย้อนกลับไปดูข่าวเมื่อปีที่แล้ว จะพบว่าไม่มีใครสนใจพูดถึงอีกแล้ว หรือลองนึกว่าตัวเองนอนหลับไปสัก 100 ปี ตื่นขึ้นมา คนที่เคยรู้จักก็จะไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป คนเหล่านี้มีอายุสั้น ไม่มีความยั่งยืน จึงไม่มีอะไรน่าสนใจ สิ่งเหล่านี้จึงเรียกว่าอนัตตา
การเข้าป่า จะช่วยลดความฟุ้งซ่านได้ เพราะ ในป่าไม่มีคนหรือสิ่งของมาดึงดูดความสนใจให้เปลี่ยนไปมา ทำให้สมาธิขาดตอน แถมต้นไม้ยังช่วยลดความเครียด และ ทำให้จิตใจสงบได้ง่ายกว่า เคยมีงานวิจัยของฝรั่งหลายชิ้น ที่ยืนยันเรื่องนี้ โดยทำการทดลองวัดคลื่นสมอง EEG ของคนที่เดินในสวนสาธารณะสีเขียวๆ เทียบกับ คนที่เดินในเมืองที่มีคนพลุกพล่าน หรือ การทดลองวัดระดับฮอร์โมนอย่างพวก cortisol ก็พบว่าได้ผลไปในทางเดียวกัน แต่ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในเมือง หลวงพ่อฤาษีลิงดำสอนไว้ว่า ให้ทำตัวเหมือน น้ำกลิ้งบนใบบอน
นั่งสมาธิท่าไหนดีคนส่วนใหญ่ติดภาพมาจากโฆษณาว่า คนนั่งสมาธิ ต้องนั่งหลังตรง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครนั่งท่านั้นได้นาน นั่งไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็จะเริ่มเมื่อยหลัง เริ่มหลังค่อมลงเรื่อยๆ และขาก็จะเริ่มชา เริ่มกังวลกับกาย จนหลุดจากสมาธิ
พระบางรูปสอนว่า ให้นั่งขาขวาทับขาซ้าย แต่พอนั่งไปสักครึ่งชั่วโมง ขาซ้ายที่โดนทับจะชา ถ้านั่งท่านนั้นบ่อยๆ เส้นเอ็นจะถูกกดทับจนเสื่อม
จะเห็นว่า คนที่นั่งท่าเหล่านี้ ไม่มีวันได้สมาธิถึงฌาน คนที่สอนให้นั่งท่าเหล่านี้ ก็ไม่มีใครได้คุณวิเศษ แค่อุปจารสมาธิยังไม่ค่อยจะถึง
ท่านั่งที่ถูกต้อง จะต้องไม่กังวลกับกาย นั่นคือ ควรหาที่พิง และวางขาตามสบาย หาที่พาดอย่าให้ขาเป็นเหน็บ เมื่อไม่กังวลกับกาย ก็จะเข้าสมาธิได้ง่ายขึ้น
นั่งสมาธิแล้วเห็น แสงสีเหลืองสีแดง เห็นภาพ
นั่นคือ กำลังอยู่ในช่วง อุปจารสมาธิ
ฝึกอานาปานสติไปสักพัก แล้วลมหายใจแผ่วลง หรือ แรงขึ้น
สาเหตุเกิดจากสมาธิดีขึ้น การดูลมเข้าลมออกที่ปลายจมูกอย่างเดียวจึงไม่พอ ต้องกำหนดให้ละเอียดขึ้น เช่น ดูลมหายใจ ยาวหรือสั้น แรงหรือเบา หรือดูเส้นทางเดินของลมหายใจ จะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละคน เมื่อดูละเอียดขึ้น จะเข้าถึงฌานได้
นั่งสมาธิได้สักครึ่งชั่วโมงแล้วเป็นเหน็บสาเหตุหลักเกิดจากขาดแมกนีเซียม ทำให้แคลเซียมเข้าไปในกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวแล้วไม่ยอมคลายตัว แก้ไขง่ายๆด้วยหยุดกินนมและแคลเซียมเสริมทุกชนิด อาหารที่มีแมกนีเซ๊ยมสูงคือ ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ การกินผักผลไม้ให้ได้แมกนีเซียม ควรกินตอนท้องว่าง อย่าปนกับเนื้อสัตว์ มิฉะนั้นจะไม่ได้ผลดีเพราะแมกนีเซียมจะจับกับฟอสฟอรัสในเนื้อสัตว์กลายเป็นแมกนีเซียมฟอสเฟต ซึ่งร่างกายดูดซึมไม่ได้ แหล่งแมกนีเซียมที่ดีมากคือกล้วย เพราะกล้วยมีวิตามินบี 6 ช่วยดูดซึมแมกนีเซียมเข้าสู่เซล
ตาทิพย์เรามักได้ยินหลวงปู่ หลวงพ่อ นิยมใช้คำว่า กำหนดจิต ซึ่งหมายถึง การบอกตัวเอง เช่น กำหนดจิตให้ตื่นตอนตี 1 คือ สั่งตัวเองว่าให้ตื่นตี 1 หรือ กำหนดจิตให้รู้อนาคตของคนอื่น คือ ถามตัวเองว่าอยากรู้อนาคตของคนอื่น
การใช้ตาทิพย์นั้นง่ายมาก ให้กำหนดจิตในสิ่งที่อยากรู้ ด้วยการตั้งคำถาม ถามตัวเอง จากนั้นวางสิ่งที่อยากรู้ไปก่อน แล้วจึงนำสมาธิเข้ามาแทน พอจิตว่างถึงระดับอุปจารสมาธิแล้ว เรื่องที่ต้องการรู้ก็จะแวบขึ้นมาเอง บางครั้งภาพจะปรากฎขึ้น บางครั้งจะรู้เหมือนจำได้ แต่ไม่แน่ว่าจะแวบขึ้นมาตอนไหน แต่ถ้าไม่วางความอยากรู้ไปก่อน จะมีกิเลสคือ ความอยากเข้าครอบงำ ทำให้ความรู้นั้นผิด เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากกิเลส บางทีก็เกิดจากสัญญาคือความจำ หรือความคิดที่มาจากพื้นฐานของประสบการณ์ ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง
อภิญญาการทำให้สิ่งที่จับต้องได้ เป็นไปดังใจ เช่น เหาะ หรือเดินบนน้ำ ต้องเข้าอานาปานสติ จนถึง ฌาน 4 แล้วถอยออกมาจนถึง อุปจารสมาธิ จับภาพกสิณ อธิษฐานว่าอยากได้อะไร แล้วเข้าฌาน 4 อีกรอบ พอถอยออกจากฌาน 4 มาที่อุปจารสมาธิ สิ่งที่ต้องการก็จะได้ตามนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น