พระอภิธรรม.....จิตกับอารมณ์
"อารมณ์ "ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต
อันได้แก่ รูป เสียง กิน รส ตลอดจน เรื่องราวต่างๆ
ที่คิดนึก ไม่ได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป
เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึง
สภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์โรแมนติก อารมณ์ขัน เป็นต้น
จิตที่เกิดแต่ละขณะจะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตา กับจิตที่ได้ยินเสียงทางหู เป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพก็จะไม่ได้ยินเสียง
ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะไม่เห็นภาพ
แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก
จึงทำให้เราแยกไม่ออก และเข้าใจผิดว่า
การเห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
จริงๆแล้ว จิตแต่ละขณะจะรับอารมณ์ได้
เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จิต จะว่างจากอารมณ์ไม่ได้ เมื่อจิตเกิดขึ้นทุกครั้ง จะต้องมีอารมณ์ให้รู้เสมอ จิตคือตัวรู้อารมณ์
อารมณ์คือตัวถูกรู้
ถ้าไม่มีตัวถูกรู้ ตัวรู้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นเมื่อมีการรู้ย่อมจะต้องมีสิ่งที่ถูกรู้
อยู่ควบคู่กันด้วยเสมอไป
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์
อารมณ์ เป็นธรรมชาติที่ถูกจิตรู้ ถ้าจิตรู้สิ่งใด
สิ่งนั้นคืออารมณ์
จิตเป็นผู้รู้
อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น