พระอภิธรรม.....สถานที่เกิดของจิต
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น
สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะ ใดๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม
ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว
โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยต่างๆ
ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก
ช่วงเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับ
ถึงแสนโกฎขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง
(หนึ่งล้านล้านครั้ง)
จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้
สถานที่เกิดของจิตมีอยู่ ๖ แห่งคือ
๑. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูปที่ปรากฏทางตา
จิตนี้มีชื่อว่า "จักขุวิญญาณ"
๒. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู
จิตนี้มีชื่อว่า "โสตวิญญาณ"
๓. ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก
จิตนี้มีชื่อว่า "ฆานวิญญาณ"
๔. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รสที่ปรากฏทางลิ้น
จิตนี้มีชื่อว่า "ชิวหาวิญญาณ"
๕. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึก
ต่อการสัมผัสถูกต้อง ทางกาย
จิตนี้มีชื่อว่า "กายวิญญาณ"
๖. ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึก นึก คิด ทางใจ
จิตนี้มีชื่อว่า "มโนวิญญาณ"
ดังนั้น จิตหรือวิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ
เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ,
มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ, เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่าแม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น