#ประเพณีทิ้งกระจาด
ประเพณีทิ้งกระจาดกล่าวว่า ทิ้งกระจาด มีความหมาย สำคัญ 2 อย่างที่เราเรียกว่า
#อิ๋มซี และ #เอี่ยงซี
#อิ๋ม ( 音) คือวิญญาณ
#เอี๋ยง ( 陽) คือชีวิต
#ซี (施 ) คือการแจก
#พิธีทิ้งกระจาด คือการทำบุญอุทิศให้ดวง วิญญาณร่วมไปกับการแจกทานให้ผู้มีชีวิตที่ยากไร้ งาน ทิ้งกระจาดจึงต้องทำทั้ง 2 ส่วน ทำบุญกันในศาลเจ้า ก่อน แล้วจึงมา แจกของต่างๆจึงจะสอดคล้องกับจริยวัตร ขององค์หลวงปู่ไต้ฮงโจวซือ ผู้ซึ่งช่วย ทั้งผู้ที่เสียชีวิตโดยไร้ญาติขาดมิตร และ
ช่วยสงเคราะห์ผู้ยากไร้ที่ยังมีชีวิตอยู่ใน โลกนี้ เทศกาล #ทิ้งกระจาด จึงเป็นเทศกาล ที่ครบถ้วนทั้ง “ #ทำบุญและให้ทาน ” ประเพณีทิ้งกระจาด เป็นความเชื่อของ พุทธบริษัทจีนฝ่ายมหายาน เป็นประเพณี ที่ถือปฏิบัติมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยพุทธกาล สองพันกว่าปี ล่วงมาแล้วในสมัยนั้นเล่ากัน ว่าพระอานนท์ เป็นเถระผู้เริ่มทำเป็น องค์แรก โดยพระพุทธองค์ทรงแนะนำ
ให้พระอานนท์ทำการสะเดาะเคราะห์เพื่อให้รอดพ้นจาก บ่วงกรรม ให้พระอานนท์ ทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลแก่เปรตและดวงวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้วโดยการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์สวดพระพุทธมนต์แล้วแจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นไทยทาน แก่สัตว์โลกผู้ยากไร้ ทั้งหลาย และอุทิศ ส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณไร้ญาติที่กำลังทนทุกข์อยู่ในนรกภูมิหรือที่กำลัง ล่องลอย ขอส่วนบุญความมีอยู่ว่าพระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาถึง ตำบล นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์เมื่อตั้งกรดปักธุดงค์นอกเมืองแล้ว พระอานนท์ ได้ปลีกวิเวก ออกไปบำเพ็ญเพียรห่างไกล จากสาวกทั้งหลายปรากฏว่ามี เจ้าแม่กวนอิมได้แปลงกาย
เป็นผีเปรตอสูรกายมาปรากฏตัวและแจ้งให้ทราบว่า พระอานนท์จะถึงแก่ความ ตายในอีก 3 วันข้างหน้าหาก ไม่อยากตายแล้วไปอยู่กับ พวกตนพระอานนท์ต้อง ทำบุญทำทาน ให้บรรดา ผู้ยากไร้ และ ผีเปรตอสูรกาย ทั้งหลาย พระอานนท์ เป็นพหูสูต ได้ฟังดัง นั้นก็รู้ แจ้งเห็นจริงตามที่ผีเปรตมา บอก พระอานนท์มีความ กังวลจึงเข้าเฝ้า สัมมาสัมพุทธเจ้า และเล่าเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นพระพุทธองค์จึงได้สอนให้ พระอานนท์ทำพิธี สะเดาะเคราะห์ แต่เนื่องจาก การจะโปรดอสูรกาย
วิญญาณที่ล่องลอยอยู่นั้น ไม่อาจทำได้ด้วยวิธีการให้ทานธรรมดา ต้องอาศัยการ ส่งส่วนบุญด้วยพุทธนุภาพ
ดังนั้นจึงต้องประกอบพิธีสันนิบาตพุทธจักร นั่นก็คือ ต้องถึงพร้อมด้วย #พระพุทธ
#พระธรรม #พระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่มา ของประเพณี ทิ้งกระจาด ที่พุทธบริษัท ทั้งหลายอนุโมทนาเลื่อมใส ถือปฏิบัติ ต่อกันมานับพันปีเพราะภายหลังจาก ประกอบ พิธีให้ทานในคราวนั้น ทำ
ให้พระอานนท์มีชีวิตยืนยาวต่อมาอีกหลายปี ทั้งนี้เนื่องมา จากกุศลผลบุญที่ ได้กระทำ ในครั้งนั้น กาลเวลา ได้ปรับ เปลี่ยน ให้การดำเนิน พิธีกรรมแตกต่างออกไปจาก ดั้งเดิมตามสภาพของแต่ละ ท้องถิ่น ในสมัยก่อนเมื่อใกล้ ถึงวันเปิดประตูผี นั้นก็คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 (จีน)
บรรดาโรงเจ หรือ สถานสาธารณกุศล จะมีการ บอกบุญให้ชาวบ้าน ร้านค้า ร่วมงานบุญประเพณีทิ้งกระจาด โดยการนำตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ตาห่าง บ้างถี่บ้างเป็นรูปวงกลมขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้วคล้ายเข่งปลาทู เพียงแต่ไม่มีขอบสูงที่ก้นตะกร้ามี กระดาษสีแดงหรือสีเหลืองแจ้ง กำหนดการ ของงานทิ้งกระจาดของศาลเจ้า, โรงเจ ที่เอาตะกร้ามาวาง กำหนดวันมา เก็บตะกร้า จากนั้นเมื่อ ถึง กำหนดวันพิธีทิ้งกระจาด ไทยทาน
#กระจาด คือ สิ่งของที่ถวายพระ สำหรับสามัญชนแล้ว ก็คือ ของให้ทาน นั่นเอง พิธีทิ้งกระจาดนี้ชาวญวนและชาวจีน ถือเอาเป็น พิธีประกอบเมตตาธรรม ให้เหล่าวิญญาณ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเมืองนรก ทีไร้อิสรภาพ ไม่สามารถไปไหนได้และ ต้องอดอยาก หิวโหย จะได้รับการ นิรโทษกรรมชั่วคราว ให้ผลัดเปลี่ยน หมุนเวียน กันออกไปเที่ยว เยี่ยมเยือน บุตรหลาน ญาติมิตร วิญญาณเหล่านั้น ต่างเฝ้ารอคอย และมีความยินดีปรีดา กันทั่วหน้า
#ฉะนั้น การทำบุญทิ้งกระจาด ซึ่งสืบต่อมาจนทุกวันนี้ จึงมีการให้ทานทั้งผี (อสูรกาย) และคน ที่ให้ผีก็มีอาหาร ซึ่งไปตั้งเซ่นและเสื้อผ้าเงินทอง (กระดาษเงิน กระดาษทอง)และของใช้ (ที่ทำจากกระดาษ) เอาไปเผา ส่วนที่ให้คน ก็เป็นอาหารเจ เช่น ข้าวสาร เป็นต้น และของใช้ต่างๆ
#พิธีทิ้งกระจาด นิยมทำกันในเทศกาลกินเจและพิธีกงเต๊ก พิธีทิ้งกระจาดจะมีการจัดรูปขนาดใหญ่ เรียกว่า #องค์เตื๊อง" หรือ #ไต่ซือเอี๊ยะ ซึ่งบนศีรษะมีรูปเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แบ่งภาคมาจุติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลมิให้พวกปีศาจแย่งชิง เครื่องเซ่นซึ่งงานทิ้งกระจาดของทาง มหายาน (ฝ่ายอนัมนิกาย) จัดขึ้นช่วง สิงกาคม-กันยายน ในทุกปีในงาน โดยในงานประจำปีนอกจากพิธีทิ้งกระจาดแล้ว ยังมีการมอบทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน ข้าวสาร ให้กับ โรงเรียนในท้องถิ่นและใกล้เคียงมา ตลอดทุกปี
#ความเป็นมาของการทิ้งกระจาด
พิธีทิ้งกระจาด เป็นพิธีกรรมจีนอย่างหนึ่ง ที่นิยมจัดขึ้นในเทศกาลต่างๆ ของชาวจีน หรือเรียกกันว่า ซิโกวแปลว่าการให้ทาน แก่วิญญาณไร้ญาติ เป็นพิธีกรรมของจีน ที่มีที่มาจากพระพุทธศาสนา จากพระสูตร ในพระไตรปิฏก มหายาน ชื่อเปรตมุข-อัคนีชวาลยศรการ-นาม-ธารณีสูตร ได้กล่าวว่า ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จ ประทับแสดงพระธรรมเทศนา ณ. นิโครธารามวิหาร เมืองกบิลพัสดุ์ พระอานนท์เถระเจ้า พุทธอนุชาได้หลีกออกไปเข้าญาณสมาบัติ อยู่ที่โคนต้นไม้ใหญ่ขณะที่พระอานนท์ บำเพ็ญญาณปริเวทธรรมอยู่นั้น ได้มีอสูรกายตนหนึ่งปรากฏขึ้นเบื้องหน้า บอกชื่อว่า อัคนีชวาลมุขเปรต หรือเอี่ยมเข้า รูปร่างสูงใหญ่หน้าเขียว แสยะเขี้ยว ตามตัวมีแต่หนังหุ้มกระดูก ลำคอเล็ก เท่ารูเข็ม มีเปลวไฟโชติช่วง ออกจากปาก เป็นนิจ ได้กล่าวกับพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ เราได้รับความทุกข์เวทนา อย่างแสนสาหัสเพราะความหิวกระหาย จะกินก็ไม่ได้แต่ทุกขเวทนาเหลือหลาย ท่านผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อุดมด้วยความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ขอพระเถระท่านอุทิศสิ่งอุปโภคบริโภคเป็นไทยทานแก่ฝูงเปรตด้วยเถิด ถ้าท่านไม่กระทำในกาลอีก ๓ วัน ก็จะถึงซึ่งแก่มรณะว่าแล้วอสูรกายตนนั้นก็หายไป พระอานนท์เกิดความสะดุ้งกลัว เข้าเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลให้ทรงทราบแลขอพระพุทธองค์ เป็นที่พึ่งพระพุทธองค์
พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ในอดีตเมื่อพระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์ อยู่ในนั้นพระโพธิสัตว์ได้ตรัสเทศนาถึง พิธีโยคเปรตพลีเพื่อโปรดเหล่าเปรตและ สัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น อัคนีชวาลมุขเปรต ตนนั้นคือ พระอวโลกิตเตศวรโพธิสัตว์ (พระกวนอิม) ผู้มีปณิธานที่จะโปรดสัตว์ ให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้นิรมิตกายมาเพื่อเป็นอุบายให้พระพุทธองค์แสดงพระธรรม เทศนาเกี่ยวกับพิธีโยคเปรตพลีอุทิศแก่พระอานนท์ เพื่อโปรดสัตว์ไตรภูมิเป็นปฐม และพิธีนี้ได้เป็นแนวทางปฏิบัติของนิกาย มนตรยาน เพื่อแสดงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ ต่อเหล่า สัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อมีการแปล พระสูตรเป็นภาษาจีน พิธีนี้จึงมีการ ถ่ายทอดสืบเนื่องต่อมา
ต่อมาเมื่อหลังราชวงศ์ถังพิธีนี้จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายออกไป จนเป็นที่นิยมของ ประชาชนมีการประกอบพิธีทั่วไปใน ประเทศจีน ทั้งในงานศพ ในงานวันเกิด ในเทศกาลสารทจีนเดือน ๗ และใน เทศกาลอื่น แม้แต่ในศาสนาเต๋า ก็รับแนวคิดนี้จากพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังเป็นประเพณีนิยมในประเทศที่รับพระพุทธศาสนาจากจีน เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลี ก็ได้รับความนิยมด้วย ในส่วนของประชาชนจีนทั่วไป เมื่อถึงวันที่กำหนดก็จะจัดมณฑลพิธีและนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดพระพุทธมนต์อุทิศ แก่วิญญาณส่วนชาวจีนที่อยู่ตามถิ่น ห่างไกลนิมนต์พระสงฆ์ลำบากก็จะจัด เพียงเครื่องบูชาเซ่นไหว้ด้วยอาหารแก่ ดวงวิญญาณเร่ร่อนและบรรพบุรุษแทน จนทุกวันนี้ ด้วยชาวจีนเชื่อว่า ช่วงกลาง เดือน ๗ ของจีน ( ตรงกับเดือน ๙ ของไทย) ไปจนถึงสิ้นเดือนเป็นช่วงที่ประตูยมโลกเปิด จึงเหมาะแก่การทำบุญทำทานให้แก่บรรดาผีไม่มีญาติและในการนี้จำต้องสร้างหุ่นยมบาลไว้คอยคุมดูแลบรรดาผีที่นอกรีต นอกรอยมา หลอกหลอนผู้คน หรือไม่ยอม กลับนรกภูมิ #ทิ้งกระจาด จึงเป็น ประเพณีของชาวจีนในการทำบุญให้แก่ บรรดาภูติผีไม่มีญาติ ทว่าในเวลาเดียวกัน นั้นข้าวของที่ทิ้งหาได้ตกแก่ภูติผีฝ่ายเดียว หากเป็นของบรรดาผู้ยากจนที่ไปคอยรับทานอย่างหนาแน่นทุกปี
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในการทิ้งกระจาด
พิธีเปรตพลีโยคกรรม
พิธีเปรตพลีโยคกรรม (หยู่แคเอี่ยมเข้า) หรือปั้งเอี่ยมเข้า นี้ เป็นพิธีทางพระพุทธศาสนานิกายมนตรยาน ซึ่งเรียกพิธีกรรมในนิกายว่าโยคกรรม ในการประกอบพิธีจะต้องจัดมณฑลพิธีและที่บูชาเป็น 3 ส่วนคือ
1. บูชาพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานพร้อมด้วย เหล่าพระโพธิสัตว์และพระธรรมบาล
2.บูชามหาโพธิสัตว์ (ไต่สือเอี้ย) นิยมทำรูปพระมหาโพธิสัตว์ด้วยกระดาษมีขนาดใหญ่มากบางแห่งสูงเท่าตึกสามชั้น พระมหาโพธิสัตว์หรือไต่สือเอี้ย คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือพระกวนอิมโพธิสัตว์ที่แบ่งภาคลงมาปรากฏกาย ต่อพระอานนท์ ณ นิโครธารามวิหาร เมืองกบิลพัสดุ์ ตามเรื่องในพระสูตรจากพระไตรปิฎกจีน
3.บูชาวิญญาณผู้ล่วงลับ เป็นที่เซ่นไหว้ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ ทั้งที่มีญาติและไร้ญาติซึ่งบุตรหลาน ญาติมิตรหรือประชาชนทั่วไปมาวางเครื่องเซ่นไหว้อุทิศให้
พิธีเริ่มจากพระสงฆ์อัญเชิญพระรัตนตรัย เป็นประธาน มีพระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอานนท์เถรเจ้า เป็นอาทิ จากนั้นพระสงฆ์จะเดินไปสวดพระพุทธมนต์ยังที่บูชาพระมหาโพธิสัตว์ และที่บูชาวิญญาณผู้ล่วงลับตามลำดับ จากนั้นพระภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ เป็นผู้ประกอบพิธีเรียกว่า พระวัชรธราจารย์ หรือกิมกังเสี่ยงซือ จะขึ้นสู่อาสน์ประธาน มณฑลพิธีเพื่อเริ่มประกอบพิธีโดย พระวัชรธราจารย์จะเป็นตัวแทนของ พระโพธิสัตว์ประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ พระวัชรธราจารย์จะสวมไวโรจนมาลาและมีพุทธชญานมงกุฏที่ด้านหน้า หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้ประกอบด้วยพระพุทธบารมี แห่งองค์พระชินเจ้าทั้งห้า คือพระไวโรจนพุทธเจ้า, พระอักโษภยพุทธเจ้า, พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า, พระอมิตาภพุทธเจ้า, พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า, ทั้งห้าพระองค์
การประกอบพิธีจะแบ่งเป็นสองภาคคือ ส่วนแรกประกอบพิธีถวายพุทธบูชา และส่วนที่สองเป็นพิธีโปรดสัตว์ เริ่มด้วยการเจริญพระพุทธมนต์ ชำระมณฑลพิธีให้บริสุทธิ์ด้วยพลังแห่ง พระสัทธรรม ระหว่างประกอบพิธี พระวัชรธราจารย์จะใช้วัชรฆัณฏา คือ กระดิ่งวัชระ วัชรศาสตราและวัชรคธา คือเครื่องหมายรูปวัชระหรือสายฟ้าเป็น ตัวแทนพระธรรมซึ่งประดุจธรรมาวุธของ พระโพธิสัตว์ ที่ใช้ในการปราบมาร คือกิเลสทั้งหลาย ให้หมดสิ้นไปจาก เหล่าสัตว์โลกและประกอบพิธีถวายเครื่อง พุทธบูชาทั้ง ๖ อันได้แก่ ปุษปะคือดอกไม้ ธูปะคือเครื่องหอม อาโลกะคือ ประทีปโคมไฟ สุคนธะคือน้ำหอม ไนเวทยะคือเครื่องบูชาพลีกรรม และศัพทะคือเสียงดนตรีประโคม เป็นเครื่องบูชาแด่พระรัตนตรัย และอัญเชิญพระมหากรุณาบารมีแห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มาเป็นธรรมพละ เพื่อใช้ ในการโปรดสัตว์ ส่วนที่สองพิธี โปรดสัตว์นั้นจะเริ่มอัญเชิญ พระกษิติครรภโพธิสัตว์ผู้ทรงมหา ปณิธานในการโปรดสัตว์นรก พระยายมราชทั้ง ๑๐ ขุม และดวงวิญญาณ ทั้งหลายในภูมิทั้งหก คือเทพ, อสูร, มนุษย์, สัตว์เดรฉาน, เปรต, สัตว์นรก และรวมทั้งเหล่าพาหิรลัทธิ ให้มาชุมนุมเพื่อรับฟังพระสัทธรรม จากนั้นจึงอัญเชิญพระบารมีแห่งอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ คือ ๑. พระรัตนชัยตถาคต ๒. พระอภยังกรตถาคต ๓. พระวิปุลกายตถาคต ๔. พระสุรูปกายตถาคต ๕. พระประภูตรัตนตถาคต ๖. พระอมิตาภตถาคต ๗. พระโลกวีสตีรนเตชอีศวรประภาตถาคต ทั้งเจ็ดพระองค์ และประกอบมุทราคือ การทำมือเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ และการเพ่งจิตยังสัตว์โลกทั้ง ๖ ในไตรภูมิ ที่ทนทุกข์ทรมานให้ยึดพระสัทธรรมเป็นดุจมหาธรรมนาวา ช่วยขนสรรพสัตว์ให้พ้น จากทุกขเวทนาระหว่างพิธีพระสงฆ์จะโปรยข้าวสาร ทิพยวารี และขนม เพื่อเป็น สัญลักษณ์ แทนพระธรรม และกุศลบุญ อันเป็นอาหารที่จะเหล่าวิญญาณหิวโหยต้องการสุดท้ายพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ส่งวิญญาณของเหล่าสรรพสัตว์ไปยัง สุขาวดี และอุทิศผลานิสงส์ในการ ประกอบพิธีให้แก่ผู้บำเพ็ญทาน และผู้ร่วมพิธีโดยทั่วกัน ระหว่างการประกอบพิธี หรือหลังการประกอบพิธี ทางเจ้าภาพมักจัดอาหารหรือเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อแจกเป็นทานแก่ประชาชน ที่ยากไร้ ในการแจกอาหารเครื่องใช้เหล่านี้ มักนิยมแจกจำนวนมากตามกำลังของเจ้าภาพ แต่ส่วนใหญ่มักจะทำกันจำนวนมากๆ ทุกปี
#พิธีลอยกระทง
พิธีลอยกระทงเป็นพิธีที่จัดขึ้นก่อนการประกอบพิธีเปรตพลีโยคกรรม โปรดวิญญาณผู้ที่ล่วงลับ พิธีลอยกระทงจัดขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศผลกุศลทานให้แก่ดวงวิญญาณในทางน้ำ ในสมัยโบราณชาวจีนเราเชื่อกันว่าสายน้ำจะเป็นทางเชื่อมต่อกับโลกวิญญาณได้ ดังนี้ก่อนการจะพิธีโยคะเพื่อโปรดวิญญาณ จึงมีการอธิษฐานจิตบอกกล่าวแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงให้มีรับส่วนกุศลในพิธีโยคะ ในวันถัดมาในประเทศจีนมักมีการ ลอยกระทงในช่วงเดือนเจ็ด เพราะเชื่อกันว่าเป็นเดือนแห่งวิญญาณจึงมีการจุดประทีปโคมไฟลอยน้ำ เพื่อเป็นไฟนำทางแก่วิญญาณเร่ร่อน ในกระทงจะจุดโคมและมีอาหารบรรจุเพื่อเป็นทานแก่ดวงวิญญาณ พิธีลอยกระทงที่จัดในเทศกาลสารทจีน และเทศกาลกินเจจึงเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อประกอบการบำเพ็ญกุศลเป็นทานแก่ วิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในแหล่งน้ำ
#พิธีปล่อยชีวิตสัตว์
พิธีปล่อยชีวิตสัตว์เป็นพิธีที่ชาวพุทธฝ่ายมหายานนิยมกระทำประกอบงานกุศล อยู่เสมอด้วยพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน ถือกันว่าชีวิตทุกชีวิตมีค่าเสมอกัน ชีวิตของสรรพสัตว์ทุกชีวิตไม่ว่าจะเกิดใน ภูมิมนุษย์หรือสัตว์เดรฉาน ย่อมต้อง เวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏะสงสารทั้งสิ้น การเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ก็ตามย่อมเป็นไปตามกรรมที่เราก่อไว้ แม้เราไม่อาจฝืน แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ได้ด้วย ตัวเราเองการดำรงชีวิตโดยไม่เบียดเบียน จึงเป็นทางที่ประเสริฐที่สุด พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเน้นหนักให้ ผู้บำเพ็ญงดจากการนำเนื้อผู้อื่นมาบริโภค เพราะการฆ่าเป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต สัตว์ต่างๆครั้งหนึ่งก็คือมนุษย์ที่รับกรรม ไปเกิดเป็นสัตว์การบริโภคเนื้อผู้อื่นจึง เป็นการก่อเวรไม่สิ้นสุด พิธีปล่อยชีวิตสัตว์ จึงเป็นการสั่งสมกรุณาจิตให้เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
#พิธีทิ้งกระจาดไทยทาน
กระจาดคือ สิ่งของที่ถวายพระ สำหรับสามัญชนแล้ว ก็คือ ของให้ทานนั่นเอง พิธีทิ้งกระจาดนี้ ชาวญวนและชาวจีนถือเอาเป็นพิธีประกอบ เมตตาธรรม ให้เหล่าวิญญาณ ที่ถูกคุมขังอยู่ในเมืองนรก ทีไร้อิสรภาพไม่สามารถไปไหนได้ และต้องอดอยากหิวโหย จะได้รับการนิรโทษกรรมชั่วคราว ให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกไปเที่ยว เยี่ยมเยือนบุตรหลาน ญาติมิตร วิญญาณเหล่านั้น ต่างเฝ้ารอคอยและ มีความยินดีปรีดากันทั่วหน้า
#ฉะนั้น การทำบุญทิ้งกระจาด ซึ่งสืบต่อมาจนทุกวันนี้ จึงมีการให้ทานทั้งผี (อสูรกาย) และคน ที่ให้ผีก็มีอาหาร ซึ่งไปตั้งเซ่นและเสื้อผ้าเงินทอง (กระดาษเงิน กระดาษทอง) และของใช้(ที่ทำจากกระดาษ) เอาไปเผา ส่วนที่ให้คน ก็เป็นอาหารเจ เช่น ข้าวสาร เป็นต้น และของใช้ต่างๆ ในพิธีทิ้งกระจาด นิยมทำกันในเทศกาลกินเจ และพิธีกงเต๊ก พิธีทิ้งกระจาดจะมีการจัดรูปขนาดใหญ่ เรียกว่า " #องค์เตื๊อง" หรือ " #ไต่ซือเอี๊ยะ" ซึ่งบนศีรษะมีรูปเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็น พระโพธิสัตว์แบ่งภาคมาจุติ เพื่อทำ หน้าที่ดูแลมิให้พวกปีศาจแย่งชิง นัดหมายเจ้าหน้าที่โรงเจก็จะมาเก็บ และจะนำสิ่งของที่ตามห้างร้านหรือผู้มี จิตใจ จะร่วม บริจาคซึ่งส่วนใหญ่เป็น อาหารแห้งใส่ไว้ หรือเป็นเงินจำนวนที่ ตนพอใจจะทำบุญให้ กับโรงเจนั้นๆ หลังจากนั้นก็จะนำสิ่งของ หรือ ปัจจัยไปดำเนินการ ต่อไปภายหลังจากผ่าน พิธีการทางศาสนาก็มีการ โปรยทาน #ทิ้งกระจาด พิธีกรรมทิ้งกระจาดจะทำกัน ทั้งวัน ดังนี้
#ช่วงเช้า เป็นพิธีสงฆ์
#ช่วงบ่าย มีการโปรยทาน
สถานที่โปรยทานส่วนใหญ่จะใช้บริเวณที่ หน้าศาลเจ้า หากเป็นศาลเจ้าใหญ่โตพอ
มีพื้นที่กว้างขวางก็จะมีหอสูงเป็นที่โปรย หรือ โยนสิ่งของลงมาจาก #โขวแป้ (หรือที่รู้จักกันและเรียกกันในชื่อ #เขาแพะ ) เริ่มด้วยพระสงฆ์หยิบสิ่งของ ที่ชาวบ้านมาทำบุญ เช่น ผลไม้ หรือ ขนมปัง หมั่นโถว เงิน ทอง โปรยไปที่ฝูงชน ซึ่ง เบียดเสียดยัดเยียดคอยรับ แจกสิ่งของ ที่ถูกต้องเรียกว่าแย่งของแต่ละชิ้นที่แย่งชิงมาได้ก็แทบจะแหลกเหลว เพราะถูกตะปบ จากมือเป็นสิบ จนทะเลาะเบาะแว้งกันต่อมา มีการพัฒนาด้วยการโยน #ไม้ติ้ว สำหรับไม้ติ้ว เป็นแท่งไม้ไผ่ที่เหลาบางๆ
ยาวประมาณ 10 นิ้ว กว้าง ขนาด ½ – 1 ซ.ม. มีตัวเลขหรือตัวอักษรเขียนไว้ที่ ไม้ติ้ว นั้นเมื่อเสร็จสิ้นพิธีการทิ้ง กระจาดแล้ว ผู้ที่ได้ไม้ติ้ว ก็ จะนำไปแลกสิ่งของกับ คณะกรรมการจัดงานวิธีนี้ผู้คนก็จะได้ สิ่งของเป็น ชิ้นเป็นอันที่สมบูรณ์แต่ยังคงมี การกระทบกระทั่ง จากการ แย่งชิงอยู่ดี ต่อมา ได้เปลี่ยน รูปแบบเป็นการรับแจกสิ่ง ของกันตรงๆโดยวิธีการให้ผู้คน รอรับที่หน้า ศาลเจ้า หรือ มูลนิธิ เมื่อ ถึงกำหนดเวลา ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ก็จะเปิดประตูให้ เข้าไปในพื้น ที่ที่เตรียมไว้หลังจากนั้นได้ มีการพัฒนารูปแบบเป็นการ เข้าแถว มีการแจกบัตร มีวิธี การเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชน ที่มารับของไม่ต้อง เบียดเสียด กัน ปัจจุบัน สำหรับคนที่จะ รับของทิ้งกระจาด จะรับจะ คนมอบที่ใส่ หมวกสานจาก ไม้ใผ่หรือที่ชาวจีนเรียกว่า
#โก่ยโล้ย หรือ #กุยเล้ย
คนที่ใส่หมวกนี้ว่ากันตาม พิธีกรรม คือคนที่สามารถ เข้า หรือ ขึ้นไปเอาของ ในพลัมพิธีที่ทำได้ หรือ เรียกว่า ใส่เผื่อปิดบังใบหน้า ไม่ให้ใน นรกภูมิ จดจำใบหน้าคน ทำพิธีได้ นั้นเอง
โดยพิธีทิ้งกระจาดนี้ มักจะมี พระประทานที่คอยดูแล พิธีกรรมนี้ ได้แก่
#เจ้าแม่กวนอิม #โหล่เฉี้ย
#องค์จงหงวนพ้อต่อ หรือ ที่หลายคน รู้จักกัน ในชื่อ#ไต่สื่อเอี๊ย นั้นเอง ซึ่งท่าน จะมีหน้าตาน่ากลัว ว่ากันว่า เป็นปางดุร้ายของ #เจ้าแม่กวนอิม ที่มาคอยดูแล และ กำหราบพวกผีนรก ในพิธีกรรม พ้อต่อและทิ้งกระจาด นั้นเอง
พิธีทิ้งกระจาดมักจะทำกันในช่วง งานของมูลนิธิต่างๆ และช่วงเดือน7(จีน) กับประเพณีถือศีลกินเจ บางศาลเจ้า
หากประวัติหรือข้อมูลไม่ตรง กับที่ท่านทราบและศึกษามา ต้องขออภัยด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น