วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การฝึกตันตระ5

(5) “จงเพ่งความเอาใจใส่ที่จุดกึ่งกลางหว่างคิ้ว เอาใจวางไว้ที่เบื้องหน้าความคิด บรรจุลมปราณให้เต็มทั่วร่างกาย ไปจนถึงศีรษะเบื้องบนและปล่อยให้แสงเปล่งพุ่งออกมาจากเบื้องบนศีรษะนั้น”

      
       ขยายความ วิธีหายใจแบบที่ห้าของตันตระ เป็นการฝึกหายใจลึกๆ โดยเพ่งจิตไปที่กึ่งกลางหว่างคิ้วอย่างมีสติรู้ตัวตลอดเวลา วิธีนี้เป็นวิธีฝึกสมาธิที่ลึกล้ำมากวิธีหนึ่ง เพราะที่กึ่งกลางหว่างคิ้วนี้ เป็นที่ตั้งของ “ตาที่สาม” หรือ “ศิวะเนตร” ซึ่งง่ายมากต่อการกำหนดจิต และความรู้สึกตัวเมื่อเราวางจิตของเราไว้ที่ตำแหน่งนี้”
      

      “เอาใจวางไว้ที่เบื้องหน้าของความคิด” หรือเมื่อความคิดของเรามาปรากฏอยู่ที่เบื้องหน้าของตัวเรา หากเราฝึกเจริญภาวนาด้วยวิธีนี้ ตัวเราจะกลายเป็น “ผู้รับรู้” หรือ “ผู้ดู” หรือ “ผู้เห็น” ความคิดของเรา และการเคลื่อนไหวของความคิดของเราไปในทันใด ตรงนี้แหละคือความสำคัญของการฝึกแบบนี้เพราะเมื่อตัวเรากลายเป็น “ผู้เห็น” ความคิดของเรา ตัวเราก็จะไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความคิดของเรา นั่นย่อมหมายความว่า ในขณะนั้น ตัวเราไม่ได้ถูกความคิดซึ่งอาจเป็นตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งครอบงำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเรา “เห็น” ความโกรธของตัวเรา โดยที่ตัวเราไม่ได้เป็นตัวความโกรธในขณะนั้น ความโกรธที่เป็นความคิดของเราในตอนนั้น จะไร้อำนาจหรือไร้พลังในการครอบงำหรือควบคุมตัวเราทันที

      
       “บรรจุลมปราณให้เต็มทั่วร่างกาย ไปจนถึงศีรษะเบื้องบน และปล่อยให้แสงเปล่งพุ่งออกมาจากเบื้องบนศีรษะนั้น”
      

       เมื่อเราเพ่งจิตไปที่ดวงตาที่สาม แล้วใช้จินตนาการของเราว่ามีลมปราณไหลเข้ามาจนเต็มสมอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของจักระที่ 7 ตรงกลางกระหม่อม จิตของเราจะมีพลังมาก และให้ความคึกคักความมีชีวิตชีวาแก่ตัวเรา โดยที่เงื่อนไขสำคัญในการฝึกเพ่งจิตไปที่ดวงตาที่สามนั้นก็คือ การมีจิตใจที่บริสุทธิ์สะอาดของตัวผู้ฝึกเอง เมื่อนั้นการมีจินตนาการว่ามีลำแสงเปล่งพุ่งออกมาทางจักระที่ 7 ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...