รักษาความมีสติ ในช่วงระหว่างการหายใจ ในขณะใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าฝึกเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ ไม่ช้าจะรู้สึกเหมือนกับได้เกิดใหม่”
ขยายความ หัวใจของการฝึกหายใจแบบที่หกของตันตระนี้ อยู่ที่ การมีสติรู้ตัวบ่อยๆ ในช่วงระหว่างการหายใจเข้ากับการหายใจออก แม้ในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอย่างอื่นในชีวิตประจำวัน ที่ไม่ใช่การฝึกนั่งสมาธิหรือการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ
(7) “ลมหายใจที่ไม่อาจสัมผัสได้ ตรงกึ่งกลางหน้าผากเมื่อลมปราณอันนี้บรรลุถึงหัวใจ ในขณะที่ใกล้หลับจะสามารถควบคุมการนอน และการควบคุมการตายได้”
ขยายความ เคล็ดของวิธีฝึกหายใจแบบที่เจ็ดของตันตระนี้ อยู่ที่การรู้สึกถึงลมปราณที่เข้า-ออกที่จักระที่ 6 ในขณะที่เพ่งจิตอยู่ที่จักระที่ 6 ได้ ผู้ที่ฝึกสำเร็จจะสามารถรับรู้วันตายของตัวเองล่วงหน้าหกเดือนได้ และจะสามารถควบคุมความฝันของตัวเองได้ เพื่อการนี้ ผู้ฝึกจะต้องมีสติตระหนักถึงลมปราณที่เข้ามาบรรจุเต็มหัวใจ ในขณะหายใจตอนใกล้หลับให้จงได้ คนที่สามารถควบคุมความฝันของตัวเองได้ เขาจะไม่กลัวความตายอีกต่อไป เพราะการตายได้กลายเป็นการหลับลึกที่ยาวนานสำหรับตัวเขาไปเสียแล้ว โดยที่ตัวเขายังมีสติรู้ตัวในยามหลับลึกโดยไม่ฝันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น