วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พุทธะคือเอกายานมรรค

+++++ พุทธะคือเอกายานมรรค +++++

จิตวิญญาณจะเวียนว่ายตายเกิดเพื่อวิวัฒนาการตัวเองโดยมี "พุทธะ" เป็นที่สุดแห่งวิวัฒนาการ เมื่อถึงพุทธะแล้วก็จะแบ่งภาคออกมาเป็นจิตวิญญาณระดับล่างลงไปอีก เช่น โพธิสัตว์ก็ดี, เทพก็ดี ฯลฯ กล่าวคือ ถึงที่สุด สูงสุดแล้วก็แบ่งภาคกลับลงมาใหม่ นั่นละ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าพุทธะเป็นทางเดียวคือ "เอกายนมรรค" ของการวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ แต่นี่ไม่เรียกว่าเป็นการบรรลุธรรมนะ เป็นแค่การวิวัฒนาการของจิต ซึ่งมีอยู่สองลักษณะ อันมีพุทธะเป็นที่สุดเหมือนกัน ดังนี้คือ

1 นิพพานกลับคืนสู่ต้นธาตุต้นธรรม
ซึ่งต้นธาตุต้นธรรมของเราก็คือ "พุทธะ" คือ ต้นกำเนิดของจิตทั้งปวง พุทธะนั้นแบ่งภาคจิตวิญญาณออกมาเมื่อจิตวิญญาณจะกลับคืนสู่ต้นธาตุต้นธรรม จึงต้องผ่านนิพพาน เพื่อไม่ให้มีตัวตน อัตตาเหลืออีก แล้วกลับคืนสู่ พุทธะ เสมือนวัวคืนคอกหรือหยดน้ำที่กลับคืนสู่มหาสมุทร ความเป็นตัวตน บุคคลนั้นๆ ก็หมดสิ้นไป อัตตาใดๆ ก็ไม่มีอีก ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้ไม่ต้องแบกรับภาระปวงสัตว์ คือแบ่งภาคลงมาทำกิจแล้วกลับคืนที่เดิม 

2 สำเร็จเป็นพุทธะ ไม่ต้องนิพพาน
แม้ไม่ได้นิพพานแบบเจโตวิมุติ แต่ปัญญาแจ้งด้วยปัญญาวิมุติก็ได้ จึงไม่ต้องนิพพานจริงๆ แค่ปัญญาแจ้งในนิพพานพอแล้ว จิตวิญญาณที่ไม่นิพพานจะเวียนว่ายตายเกิดไป จนสำเร็จเป็นพุทธะได้เช่นกัน เพราะพุทธะเป็นที่สุดแห่งวิวัฒนาการของการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง ไม่ว่าเราจะรู้ฤาไม่รู้ว่ามีพุทธะหรือไม่ อะไรคือพุทธะ แต่ท้ายที่สุดแล้วจิตวิญญาณก็มีพุทธะเป็นที่สุดแห่งการวิวัฒนาการอยู่ดีโดยไม่ต้องผ่านการนิพพานอะไรเลย

"การบรรลุธรรม" เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งต่างจากการวิวัฒนาการแต่จิตวิญญาณจะบรรลุธรรมได้ต้องมีวิวัฒนาการที่ไม่ต่ำเกินไป คือ มีวิวัฒนาการเป็น "มนุษย์" ขึ้นไป ดังนั้น ผู้ที่พร้อมที่จะบรรลุธรรมได้จะต้องเป็น มนุษย์, เทพ หรือโพธิสัตว์ เป็นต้น นี่จึงพร้อมบรรลุธรรม จิตวิญญาณที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่านี้จะไม่อาจบรรลุธรรมได้ การบรรลุธรรมนั้นก็คือ "จิตตื่นแจ้ง" นั่นเอง จิตนั้นเมื่อตื่นแจ้งแล้วจะสว่างไสว โผล่งออกมา จนกายทิพย์นั้นๆ สว่างไสวทันที ซึ่งจะไม่เหมือนกัน บางจิตวิญญาณสว่างแค่รัศมีที่ศีรษะ, บางจิตวิญญาณสว่างทั้งกายทิพย์ เมื่อจิตนั้นตื่นแจ้งแล้วจะเหมือนนกที่หลุดจากกรง จะไม่ยอมอยู่ที่เดิมอีก แต่จะก้าวข้ามไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจิตวิญญาณนั้นมีอยู่หลายระดับ กรงทองก็มีหลายชั้น หลุดจากระดับหนึ่ง ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น หลุดจากกรงหนึ่งไปสู่กรงที่ใหญ่ขึ้น ฯลฯ เพราะจิตตื่นแจ้งแล้วนั้นจะเบื่อหน่ายสภาวะ (ภพ) เดิมที่ตนดำรงอยู่จะมองเห็นกรงทองนั้นเป็นมายาการ ดังนั้น กรงทองจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้จิตวิญญาณดำรงอยู่ในระดับชั้นต่างๆ เคยเห็นสัตว์เดรัจฉานที่เพลินอยู่กับการเป็นสัตว์เดรัจฉานไหมครับ? นั่นละ เขาเองก็ไม่ต่างจากเรา เพียงแต่เขาเพลินอยู่ในระดับนั้นๆ ในความเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่หากวันใดจิตตื่นแจ้งแล้ว เขาจะไม่อาจที่จะเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ดังเดิมอีก เขาก็จะตายแล้วเกิดใหม่เป็นอะไรที่สูงขึ้นได้ ดังนั้น โลกจึงมีการกินกันเป็นทอดๆ ของสัตว์เพื่อให้สัตว์เดรัจฉานเหล่านี้ "ตื่นจากความหลงเพลินในความเป็นสัตว์" และอนุญาตให้มนุษย์กินสัตว์เดรัจฉานบางชนิดได้ด้วย แม้แต่พระโพธิสัตว์ก็ลงมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้วให้เนื้อคนกิน เพื่อนำทางให้สัตว์เดรัจฉานอื่นเดินตามทางของตนจะได้หลุดพ้นจากการเป็นสัตว์เดรัจฉาน พระสมณโคดมจึงไม่ได้ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่ไม่ผิดปกติจากสังคมมนุษย์ จิตที่ตื่นแจ้งนั้นมีหลายแบบ หลายธรรม หลายศาสนา ดังต่อไปนี้

1 ตื่นแจ้งในนิพพาน
คือ ตื่นแจ้งในสัจธรรมแท้ วิมุติธรรมที่ไม่ใช่สมมุติ ไม่เกิดไม่ดับ จึงมองเห็นสมมุติธรรมมายาการต่างๆ ทำให้จิตคลายออกจากความหลงยึดมายาการและสมมุติต่างๆ นั้น และไม่มีอะไรที่จะต้อง "ไปต่ออีก" จึงพร้อมที่จะจบบริบูรณ์หรือก็คือนิพพาน ซึ่งจะส่งผลให้รัศมีที่ศีรษะสว่างเป็นวงกลมออกมาโดยรอบได้

2 ตื่นแจ้งในโมกษะ
คือ ตื่นแจ้งในความหลุดพ้นจากพันธนาการทั้งหลาย ไม่หลงโลกอีก แต่จะมีพรหมโลกเป็นที่ไป จิตที่ตื่นแจ้งแบบนี้จะรู้ทันสิ่งหลอกล่อ สิ่งสมมุติ และเครื่องพันธนาการต่างๆ จึงไม่ถูกมัดด้วยพันธนาการใดๆ หลุดพ้นโลกได้แท้จริงแต่ไม่นิพพาน ซึ่งจะส่งผลให้รัศมีที่ศีรษะสว่างเป็นวงกลมออกมาโดยรอบได้

3 ตื่นแจ้งในชีวิตนิรันดร์
คือ ตื่นแจ้งในชีวิตว่าชีวิตที่แท้จริงนั้น อยู่เหนือความตาย ไม่เกิด ไม่ดับ แต่มีความเกิดความดับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีสีสัน สดใหม่ และไม่ซังกะตายเดิมๆ ภายใต้สมมุติตัวตนใหม่ๆ ที่รอเราอยู่ ให้เราสวมหัวโขนเล่นไป ซึ่งจะส่งผลให้กายทิพย์ของเราสว่างไสวโพล่งทั้งกายทิพย์ได้

ซึ่งสรรพจิตทั้งหลายมีเจตจำนงค์เสรีที่ไม่รีบเป็นพุทธะได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...