“มโนโสไจยะ”
คือการโยนิโสมนสิการ ด้วยการ กำหนดรู้ “นิวรณ์ ๕”
(1.) กามฉันทะ–ความพอใจในกาม
(2.) พยาบาท–ความปองร้าย
(3.) ถีนมิทธะ–ความท้อแท้และความง่วง
(4.) อุทธัจจกุกกุจจะ–ความฟุ้งซ่านและ ความรำคาญใจ
(5.) วิจิกิจฉา–ความเคลือบแคลงลังเล
มีความสำเร็จเหมือนการรับ “ปริญญา”
เป็นบรรยากาศในวันรับปริญญาบัตร
เป็น #ธรรมกำหนดรู้ ในกิจของทุกข์
(2.) **กามฉันทะ–ความพอใจในกาม
*** พยาบาท–ความปองร้ายก็ดี
***ถีนมิทธะ–ความท้อแท้ความง่วง
***อุทธัจจกุกกุจจะ–ความฟุ้งซ่านและความรำคาญใจ
***วิจิกิจฉา–ความเคลือบแคลง ลังเล ก็ดี
มีอยู่ในใจ
##เมื่อรู้ว่า
“กามฉันทะ–พยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา” มีอยู่ในใจของตน
ก็“#ปหานะ” (#ตัดกิเลส)
การละ เป็นกิจในสมุทัย
(3) “กามฉันทะ–พยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา” ไม่มีอยู่ในใจ
ก็รู้ว่า “กามฉันทะพยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา”ไม่มีอยู่ในใจของตน
ก็เท่ากับ “#สัจฉิกิริยา” คือการทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ
(4) ย่อมรู้ทางเกิดแห่ง
“กามฉันทะ–พยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา” ที่ยังไม่เกิด
ก็เท่ากับ“#สังวรปธาน” เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น หรือ
เท่ากับ “#ภาวนา” การเจริญ เป็นกิจในมรรค
หรือ “#อปายโกศล” ความฉลาดในความเสื่อม รอบรู้ทางเสื่อมและเหตุของความเสื่อม
(5.) รู้วิธีละ
“กามฉันทะ–พยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา”
ที่เกิดแล้ว ก็เท่ากับ“#ปหานปธาน”คือความเพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรพยายามละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว หรือ เท่ากับ
“ภาวนา” การเจริญ เป็นกิจในมรรค หรือ “อายโกศล” ความฉลาดในความเจริญ รอบรู้ทางเจริญ และเหตุของความเจริญ
(6.) รู้อุบายทำ“กามฉันทะ–พยาบาท–ถีนมิทธะ–อุทธัจจกุกกุจจะ–วิจิกิจฉา”
ที่ละได้แล้วมิให้เกิดต่อไป
รู้อุบายแล้ว“#ปหานปธาน” เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรพยายามละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
รู้อุบายแล้ว"ภาวนาปธาน”
(เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
รู้อุบายแล้ว“#อนุรักขนาปธาน” เพียรรักษา
คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ หรือเท่ากับ
“#ภาวนา” การเจริญ เป็นกิจในมรรค
หรือ “#อุปายโกศล”มีความฉลาดในอุบาย รอบรู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์และวิธีที่จะทำให้สำเร็จ
ด้วยเหตุนี้
(1.) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางกาย
(2.) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางวาจา
(3.) บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางใจ
ซึ่งหาอาสวะมิได้ และห่างออก
(4.) บุคคลผู้เป็นปราชญ์พร้อมด้วยคุณธรรมของปราชญ์
บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่า
“#ผู้ละบาปหมด” หรือคำกล่าวว่า
“บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทางวาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ
เป็นคนสะอาดผู้ชำระบาปแล้ว
( #Feeldation #review)
ผู้หมดจดแล้วและสนิทสนมกับความรู้แล้ว”
เป็นผู้ตื่นจากหลับไหลแล้ว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น