วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เคล็ดการฝึกตันตระทั้ง 112 วิธี วิธีที่3

(3) “หรือในช่วงขณะที่ลมหายใจเข้า กับลมหายใจออกหลอมรวมกัน จงสัมผัสศูนย์กลางที่ไร้พลังงานแต่เปี่ยมไปด้วยพลังงานนั้น”
      

#ขยายความ วิธีหายใจของตันตระแบบที่สามนี้ มุ่งไปที่การหาจุดศูนย์กลางอันเป็นจุดที่ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จุดศูนย์กลางนี้อยู่ที่สะดือ หรืออยู่ที่จุดใต้สะดือ (จุดตันเถียน) ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย และนี่แหละคือ ความสำคัญของการหายใจด้วยท้องตันตระบอกว่า หากคนเราหายใจด้วยท้องไปกระทำการใดๆ ก็ตาม การกระทำอันนั้นของเราจะเป็นการกระทำที่รอบด้านทั่วพร้อม เพราะมีความจดจ่อ ทุ่มเท อุทิศตัว คนเราเมื่ออยู่ที่ศูนย์กลางของตัวเองแล้ว จะมีลักษณะที่รอบด้านทั่วพร้อมเสมอ
      

  นอกจากนี้ เมื่อคนเราหายใจลึกจนถึงช่องท้อง (จักระที่ 2) ผู้นั้นจะได้รับพลังงานจากปราณ เนื่องจากปราณเป็นพลังที่มาจากลมหายใจมีทิศจากข้างบนลงข้างล่าง

ส่วน “เพศ” เป็นพลังงานที่มีทิศจากข้างล่างขึ้นข้างบน พลังของปราณอยู่ที่ร่างกายท่อนบน พลังทางเพศอยู่ที่ร่างกายท่อนล่าง เมื่อพลังงานสองอย่างนี้เจอกัน หลอมรวมกัน เมื่อนั้นจะเป็นที่มาของชีวิต และศูนย์กลางก่อนที่พลังงานทั้งสองอย่างนี้จะมาหลอมรวมกันจึงเป็นศูนย์กลางที่ “ไร้พลังงาน” แต่จะ “เปี่ยมไปด้วยพลังงาน” เมื่อมีการหลอมรวมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...