วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เต๋า” (Tao) ตามรากศัพท์แล้วแปลว่า

“เต๋า” (Tao) ตามรากศัพท์แล้วแปลว่า “ทาง” (Way) “เส้นทาง” (Path) “ถนน” (Road) แต่ในความหมายเฉพาะที่สูงสุดแล้ว “เต๋า” หมายถึง “สิ่งที่สมบูรณ์สูงสุด” (The Absolute) ทั้งในความหมายทางปรัชญาและความหมายทางศาสนา

คารัส (Carus) ได้แปลคำว่า

“เต๋า” ออกเป็นภาษาอังกฤษว่า“Reason” (เหตุผล)

และพาคเคอร์ (Parker) ใช้คำว่า “Providence” (พระกรุณาของพระเจ้า, พระเจ้า)

อเล็กซานเดอร์(Alexander) ใช้คำว่า “God” (พระเจ้า)

ภาษาฝรั่งเศสของเรอมูซาท์ (Remusat) ใช้คำว่า “Supreme Being” (สิ่งสูงสุด) “Reason” (เหตุผล) “Word” (คำ) “Logos” (พระคำ)

คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาจีนในบทที่ว่าด้วย “คริสต์ประวัติจากเซนต์จอห์น” เริ่มต้นด้วยประโยคแรกดังนี้ “ในครั้งแรกสุดนั้นมีเต๋าอยู่ก่อน และเต๋าอยู่กับพระเจ้า และเต๋าคือพระเจ้า”

ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะเข้าใจเต๋า แต่เต๋าก็มิใช่พระเจ้าในความหมายแบบตะวันตก เหนือสิ่งอื่นใดเต๋าก็คือเต๋า ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว แม้ว่าการพูดถึงคุณลักษณะจะใกล้เคียงกับสิ่งสูงสุดในศาสนาต่าง ๆ ก็ตาม และเนื่องจากชาวจีนคุ้นเคยกับเรื่องเต๋าอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพุทธศาสนาจากอินเดียไปถึงประเทศจีน ชาวจีนได้แปล
“พระธรรม” ว่า “เต๋า”

เช่นเดียวกับที่ได้แปล “#พระเจ้า” ว่า “#เต๋า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...