การรู้สึกตัวผ่านลมหายใจ แค่ รู้สึก สัมผัส ถึงลมหายใจ
ดูลมก็ไปจดจ้องไปกับลม มันเป็นการเพ่ง ได้สมถะ
การดูลมนั้น เป็นเพียงคําพูด ที่ใช้พูดกันให้ดูง่ายๆ แต่เวลาปฏิบัติจริงๆนั้น
เทคนิคการดูลม " เราไม่ได้ไปดู ไปรู้จดจ้องไปกับลม แต่เราแค่เอาใจ สัมผัสถึง หรือ ระลึกรู้สึก แค่รู้สึกถึงลม แค่รู้สึกถึงลมที่เกิด รู้สึกตรงนี้ รู้ได้จากใจ ไม่ใช่การเพ่งดู แค่รู้สึก แผ่วเบา สบายๆ ไม่ไปยึดจับกับลม แค่รู้สึกเบาๆ สบายๆ ตรงที่รู้สึกนี้หล่ะ เป็น รู้ที่ใจ เป็นการเจริญมรรคผลที่ใจนะ เพราะเรารู้สึกสัมผัสได้ที่ใจ "
เราไป รู้สึกตัว รู้สึกที่ใจ โดยรู้ผ่านความรู้สึกของลม
ทําอย่างนี้ เราไม่ไปเพ่งจองดูลมนะ ยกเว้นจะจิตใจวอกแวกมากๆ แล้วอยากจะเอาสมถะแบบเพ่ง เข้ามาช่วยให้ใจวอกแวกน้อยลง สามารถทําได้
เป็นการ รู้สึก รู้สึกถึงลม ที่เข้า ที่ออก แต่ไม่ต้องไปคิด ว่าลมเข้าลมออก การไปคิดมันเป็นการไปปรุงแต่งใจกําหนดรู้ลม เป็นความคิด วิปัสสนาไม่เกิดนะ แต่เวลาสอนกัน ก็มักพูดแบบนั้น ทําให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
อย่าไปคิด แต่ก็อย่าไปห้ามความคิด แต่ให้รู้สึก รู้สึกถึงลม ลมเข้าก็รู้สึก ลมออกก็รู้สึก แต่อย่าไปให้ความหมายว่าลมเข้าลมออก มันเป็นการปรุงแต่งความคิด ให้แค่รู้สึก แว๊ปแรกที่รู้สึก ลองสังเกตุดีดีสบายๆนะ จะรู้ได้ว่า รู้สึกนี้ เกิดที่ใจ เกิดกับจิตเรา ที่เข้าไปรู้สึก ตรงนี้หล่ะ มรรคที่จิตนะ
การปฏิบัติธรรม การท่องคําต่างๆ นั้นยังเป็นเปลือก แต่การปฏิบัติแท้จริงนั้น ก็เพื่อเข้าถึงใจ สภาวะแห่งใจ เพื่อให้ใจหลุดพ้น จึงต้องปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงใจ ไม่ใช่สมองคิดปรุงแต่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น