วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิปัสนนากรรมฐาน 0281

0381   วิปัสสนากรรมฐาน   (ต่อจากเมื่อวาน)

     ความจริงถ้าเรามีอิทธิบาท ๔ ที่แก่กล้า   เราก็จะไม่หลงในนิมิต   กล่าวคือถ้ามีฉันทะหรือความพอใจต่อการปฏิบัติ   รักที่จะปฏิบัติ    มีวิริยะพากเพียรต่อการปฏิบัติโดยไม่เกรงกลัวต่อความเหนื่อยยาก   มีจิตตะหรือมีใจจดจ่อต่อการปฏิบัติ   แม้จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับกายกับจิต   ก็ระลึกรู้ทันท่วงทีด้วยการมีสติคอยกำกับ   เช่น   รู้ว่านิมิตเกิดขึ้นแล้วและมีวิมังสา   คือใคร่ครวญไตร่ตรองในธรรมหรือในนิมิตที่เกิดขึ้นว่าเป็นของไม่เที่ยง   ผ่านมาก็ผ่านไป   ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น   ไม่ปรุงแต่งในทางที่ชอบที่ชัง   เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ละ หรือ ปล่อยวาง   ในนิมิตได้   หากทำได้เช่นนี้ตัววิมังสาก็จะเป็นตัวปัญญา

     นอกจากนิมิตแล้วขณะที่เราภาวนาอิทธิบาท ๔ คือ ท่องคำว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา   อาจจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือไปจากนิมิตเกิดขึ้นกับกายกับจิตของเรา   เช่น   รู้สึกปวด เมื้อย คัน ตัวหนัก ตัวเบา ตัวร้อน ตัวเย็น  หรือมีอารมณ์จรไปเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ให้รู้แล้วละ   ตัวรู้คือสติ   ตัวละคือตัวปัญญา   (สติ : ระลึกได้จะมีปัญญารู้ติดตามมา)

     การเจริญอิทธิบาท ๔ จะเพิ่มพลังของสติและปัญญา   อิทธิบาท ๔ หมายถึง   การเดินไปด้วยฤทธิ์หรือก้าวไปด้วยฤทธิ์   แต่จะมีฤทธิ์ได้นั้นก็จะต้องมีกำลังหรือพละควบคู่กันไปด้วย   เพราะถ้ามีฤทธิ์แต่ไม่มีกำลัง   ฤทธิ์นั้นก็ไปไม่รอด   หรือมีกำลังแต่ไม่มีฤทธิ์   กำลังนั้นก็ไปได้ไกลเช่นกัน   ดังนั้นธรรมะทั้งสองหมวดนี้จึงเกื้อกูลกัน   ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว   เราก็ต้องเจริญพละ ๕ ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...