วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ว่าด้วยปรัชญา เว่ยหล่าง

เมื่อเราพบเห็นความดี  หรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น  เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ  หรือไม่ถูกมันผลักดันให้ชัง  หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน  เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ  ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า  ใจของเราใหญ่หลวง

คำสอนนี้ ของท่านเว่ยหลาง ควรเก็บไว้ เพื่อตรวจสอบตัวเอง ขอกัลยาณมิตรมีสติในทุกขณะ ตลอดวันนี้

====================================
# สูตรของเว่ยหล่าง

แปลโดย #พุทธทาสภิกขุ

หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องปรัชญา

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดของสกลจักรวาล  เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอาสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง  ซึ่งมีรูปและสัณฐานแปลกๆ กันเข้าไว้ในตัวมันได้  สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดี คนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี  ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก  มหาสมุทร ภูเขาทั้งหลายในเทือกเขามหาเมรุ (หิมาลัย)  อวกาศนั้น  ซึมเข้าไปมีอยู่ทั่วในสิ่งต่างๆ  ที่กล่าวนามมาแล้วทั้งหมดนี้  และ "ความว่าง" แห่งธรรมชาติแท้ของเรา ก็เข้าไปมีอยู่ในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน  เรากล่าว  จิตเดิมแท้  ว่าเป็นของใหญ่หลวง  ก็เพราะว่ามันรวมสิ่งต่างๆเข้าไว้หมด  โดยที่สิ่งทุกสิ่งนั้นมันอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรา  เมื่อเราพบเห็นความดี  หรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น  เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ  หรือไม่ถูกมันผลักดันให้ชัง  หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน  เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ  ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า  ใจของเราใหญ่หลวง (ไม่มีขอบเขตเหมือนอวกาศ)  เพราะฉะนั้น  เราจึงเรียกมันว่า  "มหา"

*6 อวกาศ (space) ในสูตรนี้  หมายถึงเนื้อที่ทั้งหมด  ที่สกลจักรวาลนี้ไปบรรจุอยู่  และรวมทั้งที่ยังมีเหลือเป็นที่ว่างเปล่า  เช่นท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวทั้งหลายเป็นต้น  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง  เท่ากับเนื้อที่ของพาหิรากาศ(Ether) ทั้งหมดนั่นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...