... หมู่สัตว์ล้วนถูกจองจำ ใครสามารถ
หลุดรอดไปได้
สีเลนะ ปะติฏฐาย นะโร สะปัญโญ จิตตัง
ปัญญัญจะ ภาวะยัง อาตาปิ นิปะโก ภิกขุ โส
อิมัง วิชะฏะเย ชะฏัง ฯ
โยนะโร- นรชนทั้งเทวดาและมนุษย์
สะปัญโญ- ผู้มีปัญญาคือองค์แห่งมรรคที่หนึ่ง
และที่สอง ปะติฏฐาย- ตั้งมั่นอยู่อย่าง
ไม่ขาดสาย อาตาปิโน- พากเพียรต่อสู้กิเลสอยู่
โดยไม่ถดถอย ภิกขุ- ผู้เห็นภัยแห่งการเกิด แก่
เจ็บ ตายซึ่งจะปรากฏในภายหน้า นิปะโก- ผู้มี
ปัญญาสังเกตุพิจารณาเป็น สีเลนะ- คือมีศีล
เจ็ดข้อ (กายกรรม๓ วจีกรรม๔) จิตตัญจะ-
มีสมาธิ ๓ ประการ (ความพยายาม สติ สมาธิ)
ปัญญัญจะ- และปัญญาทั้ง ๒ ประการ คือ
สัมมาาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ภาวะยัง- ทำให้
เจริญมากๆอยู่ วิชะฏะเย- พึงตัดทำลาย
อิมัง ชะฏัง- เครื่องร้อยรัดผูกพัน (กิเลส)
เปรียบเหมือนแร้วนี้ให้ขาด
แล้วหลุดพ้นออกไปได้
ขยายความว่า เทวดาหรือมนุษย์ใดก็ตาม ผู้มี
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง กล่าวคือ
เห็นว่ารูปนามนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา และ
คิดพิจารณาว่ารูปนามที่มีลักษณะเป็นอนิจจัง
ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นความทุกข์นี้ มิใช่เรา มิใช่
ของเรา เป็นอนัตตา ผู้เห็นภัยแห่ง
การเกิดแก่เจ็บ พึงใช้ศีล ๓ ประการ (สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
และสมาธิ ๓ ประการ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ) โดยมีปัญญา ๒ ประการ
(สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ) นำหน้า สังเกตุ
พิจารณาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผู้นี้แหละ
จักเป็นผู้สามารถตัดทำลายเครื่องผูกหมู่สัตว์
ในวัฏสงสารให้ขาดสะบั้นลง แล้วหลุดรอด
ออกไปได้อย่างอิสระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น