วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

0080 เครื่องประกอบในการปรุงมีอยู่แล้วในจิต

   สิ่งที่เป็นองค์ประกอบ เป็นส่วนประกอบ ที่โดยตรง ก็คืออารมณ์ ในภายในมีจิต รอบจิตก็มีอารมณ์ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เรียกว่า อารมณ์ หรือว่า ก่อนที่จะมีอารมณ์ มีอายตนะ อยู่ก่อนแล้ว สำหรับจะรับ อารมณ์

   อายตนะข้างใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะข้างนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้อารมณ์เกิดมีความหมาย หรือมีฤทธิ์เดชขึ้นมา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้มันจะมา เป็นตัวเครื่องปรุง ในชั้นแรกมันก็เป็นอารมณ์ เมื่อกระทบทางอายตนะแล้ว มันเกิดผ้สสะ ผัสสะนั้นจะเป็นเครื่องปรุง หรือบางทีไปรู้สึกตัวเอาตอนที่เป็นเวทนาแล้ว เวทนาสุข เวทนาทุกข์ เวทนาไม่สุขไม่ทุกข์แล้ว มันก็เป็นเครื่องปรุง ฉะนั้น อายตนะก็ดี อารมณ์ก็ดี ผัสสะก็ดี เวทนาก็ดี เป็นเครื่องปรุง

   ถ้ามีความเชื่อเรื่องโลกอื่น ก็จะถือว่าผลกรรม ในโลกอื่น ในชาติอื่น เป็นเครื่องปรุง อย่างนี้ก็ได้ แต่ไม่เป็นสันทิฏฐิโก ที่มองเห็นได้เดี๋ยวนี้ แต่ถ้าเชื่อก็มีประโยชน์ทางศีลธรรม คนที่เขาเชื่อผลกรรมในชาติก่อน มาช่วยทำให้ มาช่วยปรุงให้ดีหรือชั่ว ก็ดีเหมือนกัน จะได้มีศีลธรรมแก่กล้า แต่ถ้า พูดอย่างปรมัตถธรรมแล้ว ต้องเป็นสันทิฏฐิโก เห็นได้เองตรงนี้เฉพาะหน้า ว่า อารมณ์เข้ามาปรุงอย่างไร เกิดผัสสะปรุงอย่างไร เกิดเวทนาปรุงอย่างไร แล้วเกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดทุกข์ปรุงอย่างไร นี่คือการปรุง หรือเครื่องปรุง เครื่องประกอบการปรุง

   และก็ต้องว่า เวลาด้วย อวกาศพื้นที่ด้วย เนื้อที่ด้วย มีขนาดแห่งเวลา มีขนาดแห่งเนื้อที่ ที่พอเหมาะสมพอดี มันจะปรุงออกมา เป็นความรู้สึกน่ารัก น่ายินดี น่าพอใจ ถ้าเวลานานเกินไป มันจะไม่สวย ไม่ไพเราะ ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ ต้องเวลาก็พอดี รูปร่างหรือขนาดก็ต้องพอดีจึงจะเกิดเป็นอารมณ์ที่น่ารักน่าพอใจ ฉะนั้นส่วนภายนอกโดยอ้อมไกลออกไป ต้องถือว่า อากาศ อวกาศ คือการกินเนื้อที่ก็ต้องพอดี เวลาที่จะใช้ปรุงก็ต้องพอดี เหมือนอย่างว่าจะต่มจะแกงนี้ ขนาดก็ต้องพอดี เวลาก็ต้องพอดี มิฉะนั้นกับข้าวที่ทำขึ้นมานั้น อาจจะกินไม่ได้ ถ้าเวลามันเกินขนาดไป หรือขนาดมันเกินขนาดไปไม่พอดี

   ฉะนั้นเราจะต้องถือว่า วัตถุก็มีความถูกต้องแห่งขนาด แห่งเวลาก็มีมารวมกันเข้าแล้ว ปรุงให้เกิดอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ซึ่งรวมเรียกกันง่ายๆว่า กามคุณบ้าง กามารมณ์บ้าง เพื่อให้เกิดรสในทางที่จะให้หลงรัก หลงพอใจ หลงยินดี นี่คือ ผลของการปรุง ที่มันปรุงสำเร็จประโยชน์ สำหรับเกิดกิเลส การปรุงที่จะไม่เกิดกิลสไม่มี มันต้องไม่ปรุง มันจึงไม่เกิดกิเลส ถ้าปรุงแล้วมันก็ต้องเป็นกิเลสเป็นความทุกข์อย่างแน่นอน ฉะนั้นอย่าไปหลงกับมันนัก มันจะปรุงชนิดที่นำไปสู่กองทุกข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...