วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ปัจฉิมโพธิกาล จากหลวงปู่มั่น

🍏🍏

ช่วงท้าย คำสอนหลวงปู่มั่น "มุตโตทัย"

ปัจฉิมโพธิกาล .. ทรงแสดงปัจฉิมเทศนาในที่ชุมนุมพระอริยสาวก

ณ พระราชอุทยานสาลวันของมัลลกษัตริย์กรุงกุสินารา

ในเวลาจวนจะปรินิพพานว่า

หันททานิ อามันตยามิ โว ภิกขเว ปฏิเวทยามิ โว ภิกขเว

ขยวย ธัมมาสังขารา อัปปมาเทน สัมปาเทถ

เราบอก ท่านทั้งหลายว่า

จงเป็นผู้ไม่ประมาทพิจารณาสังขารที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป

เมื่อท่านทั้งหลายพิจารณาเช่นนั้นจักเป็นผู้แทงตลอด

พระองค์ตรัสพระธรรมเทศนาเพียงเท่านี้

ไม่ตรัสอะไรต่อไปอีกเลยจึงเรียกว่า ปัจฉิมเทศนา

อธิบายความต่อไปว่า

สังขารมันเกิดขึ้นที่ไหน? อะไรเป็นสังขาร

สังขารมันก็เกิดขึ้นที่จิตของเราเอง

เป็นอาการของจิต ให้เกิดขึ้น ซึ่งสมมติทั้งหลาย

สังขารนี้แล เป็นตัวการสมมติบัญญัติ

สิ่งทั้งหลายในโลก ความจริงของในโลกทั้งหลาย

หรือธรรมธาตุทั้งหลายเขามีเขาเป็นอยู่อย่างนั้น

แผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขาฟ้า แดด เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นอะไรเลย

ตลอดจนตนตัวมนุษย์ก็เป็นธาตุของโลก

เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้เลย

เจ้าสังขารตัวการนี้เข้าไปปรุงแต่งว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้

จนหลงกันว่าเป็นจริงถือเอาว่าเป็นเรา เป็นของๆ เราเสียสิ้น

จึงมีราคะโทสะ โมหะ เกิดขึ้น ทำจิตดั้งเดิมให้หลงตามไป

เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายไปไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอเนกภพอเนกชาติ

เพราะเจ้าสังขารนั้นแลเป็นตัวเหตุ

จึงทรงสอนให้พิจารณาสังขารว่า

สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพสังขารา ทุกขา

ให้เป็นปรีชาญาณชัดแจ้ง

เกิดจากผลแห่งการเจริญปฏิภาคเป็นส่วนเบื้องต้นจนทำจิตให้เข้าภวังค์

เมื่อกระแสแห่งภวังค์หายไป

มีญาณเกิดขึ้นว่า นั้นเป็นอย่างนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์

เกิดขึ้นในจิตจริงๆ จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ก็รู้เท่าสังขารได้

สังขารก็จะมาปรุงแต่งให้จิตกำเริบอีกไม่ได้

ในคาถาว่า อกุปปํ สัพพ ธัมเมสุ เญยยธัมมา ปเวสสันโต

เมื่อสังขารปรุงแต่งจิตไม่ได้แล้ว ก็ไม่กำเริบรู้เท่าธรรมทั้งปวง

สันโต ก็เป็นผู้สงบระงับถึงซึ่งวิมุตติธรรมด้วยประการฉะนี้

ปัจฉิมเทศนานี้เป็นคำสำคัญแท้

ทำให้ผู้พิจารณา รู้แจ้งถึงที่สุด พระองค์จึงได้ปิดประโอษฐ์แต่เพียงนี้

.

พระธรรมเทศนาใน ๓ กาลนี้

ย่อมมีความสำคัญเหนือความสำคัญในทุกๆ กาล

ปฐมเทศนา ก็เล็งถึงวิมุตติธรรม

มัชฌิมเทศนา ก็เล็งถึงวิมุตติธรรม

ปัจฉิมเทศนา ก็เล็งถึง วิมุตติธรรม

รวมทั้ง ๓ กาล ล้วนแต่เล็งถึง วิมุตติธรรม ทั้งสิ้นด้วยประการฉะนี้

..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...