วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิปัสสนากรรมฐาน 0369

0369   วิปัสสนากรรมฐาน

    อิทธิบาท ๔ และ พละ ๕

    เมื่อทำฌาน ๔ ผู้ปฏิบัติก็อยากรู้ว่าอาการของฌาน ๔ เป็นอย่างไร   เพื่อจะตรวจสอบดูว่าการปฏิบัติของตนถึงฌาน ๔ แล้วหรือยัง ลักษณะของฌาน ๔ นั้น   จิตจะตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา อุเบกขา คืออยู่ในอารมณ์ของความสงบระงับจากนิวรณ์ทั้ง ๕   ไม่ฟุ้งไปเรื่องใด มีอารมณ์ที่เป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่ชอบไม่ชัง ไม่ปรุงแต่งต่อสิ่งที่มากระทบ   มีสติสมบรูณ์รับรู้สิ่งต่างๆที่มาสัมผัสได้ แม้จะมีเสียงดังให้ได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเสียงใด ก็สักแต่ว่ารู้ในเสียงนั้น   โดยไม่เข้าไปปรุงแต่งให้จิตกระเพื่อมไหว หรือหากมีเวทนาเกิดกับกายกับจิต ไม่ว่าจะป็นสุขเวทนาหรือทุกข์เวทนา ก็สักแต่รู้ว่ามีเวทนา   โดยไม่ปรุงแต่งเป็นยินดียินร้ายในเวทนานั้น จิตยังคงตั้งมั่นอยู่ในอุเบกขาคืออารมณ์ที่เป็นกลาง เช่นนี้จึงจะเรียกว่าถึงฌาน ๔

    เมื่อเข้าฌาน ๔ อย่างแนบแน่น   ก็จะมีอาการทางกายตามมา เช่น ชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าขึ้นมา   อาการชาจะปรากฎที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือแม้กระทั่งลิ้น บางคนอาจชาที่ใบหน้าก่อน   อาการชาจะมารวมกันที่ปาก จนบางทีปากยื่นออกไป บางครั้งหากไม่ชาก็อาจจะมีอาการเกร็งแข็งไปทั้งตัวเหมือนถูกตรึงไว้   ขยับเขยื้อนไม่ได้ ต้องคลานออกจากสมาธิหรือใช้กำลังอย่างแรงจึงจะขยับได้ เหล่านี้ล้วนเป็นอาการของฌาน ๔ทั้งสิ้น

    หากผู้ปฏิบัติทำฌาน ๔ ได้สมบร์แล้วจึงสมควรขึ้นวิปัสสนา   การด่วนทำวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌาน ๔ นั้น กำลังของสมาธิไม่เพียงพอ   แม้ว่าในช่วงทำวิปัสสนาเราไม่ได้ใช้สมาธิระดับฌาน ๔ คือ อัปนาสมาธิ แต่เราใช้สมาธิระดับกลาง   คือ อุปจารสมาธิในระดับฌาน ๓ แก่ๆก็ตาม แต่ถ้าพื้นฐานของสมาธิไม่แข็งแรงดีแล้ว ก็ยากที่จะก้าวหน้าในระดับมรรคผลได้   นอกจากนี้ยังถูกนิวรณ์ ๕ กวน และต้องเผชิญกับทุกขเวทนาจากการนั่งนานๆ จนทนกันแทบไม่ไหว ยิ่งกว่านั้นยังถูกโทสะกิเลสและกามราคะตีขึ้นมาอย่างแรงด้วย   ดังนั้นการได้สมาธิถึงฌาน ๔ จึงเป็นกำลังสำคัญของการทำวิปัสสนา เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติจะได้ผ่านอุปสรรคได้และนำไปสู่มรรคผลได้ง่ายกว่าการไม่มีฌาน ๔

    ต่อพรุ่งนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...