วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

...  อันตราย
แห่งวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ

๑.  โอภาส-  หากสมาธิเกิดก่อนญาณ  จะมีนิมิต        เป็นแสงสว่างเกิดขึ้น  เช่นมีแสงเป็นดวง                   แสงไฟฟ้า  แสงอาทิตย์  เป็นต้น  โอภาสเหล่านี้
เป็นนิมิตของสมาธิ  มิใช่วิปัสสนา

๒.  ญาณ-  ความรู้ที่นอกเหนือหรือไม่สอดคล้อง
กับสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ

๓.  ปิติ- ความอิ่มเอิบใจ  หากเกิดก่อนมรรค
เป็นปิติของฌาน  ทำให้ขวางกั้นมรรค  แต่หาก       เกิดหลังผลญาณ  จึงจะเป็นปิติสัมโพชฌงค์

๔.  ปัสสัทธิ- ความสงบเบาสบาย  อาการนี้ถ้าเกิด
ก่อนมรรคเป็นของสมาธิหรือฌาน

๕.  สุข-  มีความสุขกายสุขใจอยู่  เป็นความสุข
ในฌาน

๖.  อธิโมกข์-  ความน้อมใจเชื่อว่า อารมณ์นี้
เป็นอย่างนี้เป็นอย่างนี้

๗.  ปัคคหะ-  การทำความเพียรมากเกินไป

๘.  อุปัฏฐาน-  มีสติแก่กล้าในอารมณ์มาก
แต่ขาดการพิจารณา ( ธัมมวิจย )

๙.  อุเบกขา-  ใจที่วางเฉยนิ่งอยู่ในปัญจมฌาน
อายตนะทั้งหมดดับหมดร่างกายหายหมด
ไม่ใช่อุเบกขาสัมโพชฌงค์

๑๐.  นิกกันติ-  ความชื่นชมติดใจในอารมณ์                ที่เป็นอันตรายทั้ง ๙ ประการ  เรียกว่า
เป็นตัณหา  มิใช่อารมณ์ของวิปัสสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...