วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิปัสสนากรรมฐาน 0383

0383   วิปัสสนากรรมมัฏฐาน   (ต่อจากเมื่อวาน)

    พละ๕  คือธรรม ที่ เป็นกำลัง   ถ้ามีขึ้นบริบรูณ์แล้วก็จะเป็นอินทรีย์ ๕   หรือธรรมที่เป็นใหญ่อันจะทำไปสู่ความสำเร็จ  ประกอบด้วย ศรัทธา (ความเชื่อ) วิริยะ (ความเพียร)   สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่น) และ ปัญญา (ความรู้)   สติ อยู่กลาง คือสติทันกาล ผัสสะที่เกิดกับกายจิตรู้ทันทีแล้ว ละ

    ในการเจริญพละ ๕   ก็คล้ายกับอิทธิบาท ๔   คือ ตัวยังคงโยกซ้ายโยกขวา   พร้อมกับภาวนาคำว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา   ว่าไปอย่างนี้ ๕ เที่ยว ว่าช้า ๆ ไม่ต้องย้อนหลัง เมื่อว่าไปสัก ๓ เที่ยวแล้วก็ลองตรวจสอบดูว่า   ธรรมทั้ง ๕ หมวดนี้มีขึ้นในจิต เจริญขึ้นในจิตของเราแล้วหรือยัง ความหมายขององค์ธรรมทั้ง ๕ มีดังนี้

    ศรัทธา   คือความเชื่อถือ   เราเชื่อในกฎแห่งกรรมที่ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วหรือไม่   เชื่อในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่ กล่าวคือการเชื่อในพระพุทธเจ้าว่ามี พระปัญญาธิคุณ (ปรีชาญาณหยั่งรู้)   ตรัสรู้ธรรมวิเศษด้วยพระองค์เองหรือไม่ เชื่อในพระบริสุทธิคุณ (ความหมดกิเลส) ว่าทรงมีจิตบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองหรือไม่   และเชื่อในพระกรุณาธิคุณ (ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ถึงนิพพานด้วยการสั่งสอนธรรม) ว่าทรงเสียสละพระองค์สั่งสอนเวไนสัตว์ ตลอดพระชนม์ชีพหลังจากที่ทรงตรัสรู้แล้วหรือไม่   สำหรับการเชื่อในพระธรรมนั้น ได้แก่ เชื่อว่าเป็นผู้สืบศาสนาให้ยืนยาวเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐควรแก่การสักการะบูชาหรือไม่ หากเรามีความเชื่อในสิ่งนี้แล้วจึงจะเรียกได้ว่ามีศรัทธาในพระรัตนตรัย   และถ้ามีศรัทธาเกิดขึ้นจะนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเท่านั้นที่จะนำเราพ้นทุกข์ได้ แต่ถ้าเราขาดศรัทธา หรือมีศรัทธาไม่ลึกซึ้ง ก็ยังมีความลังเลสงสัย ไม่ทุ่มเทการปฏิบัติ   มีความเกียจคร้าน ไม่เชื่อว่าปฏิบัติแล้วได้ผลจริง เมื่อเป็นเช่นนี้การปฏิบัติก็ไม่ได้ผล

    วิริยะ   คือความเพียร   หรือสัมมัปปธาน ๔   หรือความเพียร ๔ นั่นเอง   ซึ่งจะต้องเพียรหนักยิ่งขึ้นที่จะปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง   ความเพียรนี้ก็เหมือนกับความเพียรในอิทธิบาท ๔ แต่ความเพียรในพละ ๕ จะมีกำลังสูงยิ่งขึ้นไปอีก   เพราะสมาธิมีกำลังดีขึ้น จิตละเอียดขึ้นศรัทธาแนบแน่นขึ้นจากการเพียรปฏิบัติก็จะได้พบปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ   ทางสัมผัสทั้ง ๖ ไม่วาจะเป็นรูป (ตา) เสียง (หู) กลิ่น (จมูก) รส (ลิ้น) โผฏฐัพพะ (กาย) ธรรมารมณ์ (ใจ) สิ่งที่กระทบนั้นจะละเอียดยิ่งขึ้นไป   นิมิตที่ปรากฎก็จะละเอียดขึ้นไป ตามกำลังของสมาธิและตามความละเอียดของจิต

(ต่อพรุ่งนี้ครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...