0385 วิปัสสนากรรมฐาน (ต่อจากเมื่อวาน)
สติ คือความระลึกรู้หรือรู้ตัวจะมีกำลังสูงขึ้น รู้ตัวเร็วขึ้นในปรากฎการณืที่เกิดขึ้นกับกายและจิต สติจะแคล่วคล่องว่องไวรับรู้ผัสสะที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทวารใดทวารหนึ่ง เช่น ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบโผฏฐัพพะหรือสิ่งที่สัมผัสกาย ใจกระทบธรรมารมณ์ หรืออารมณ์ที่จิตคิด สติก็จะรู้ได้เร็ว กำลังของสติจะคอยอุปการะจิต ให้จิตมีความแหลมคมและมีกำลังที่จะ รู้ และ ละ ต่อสิ่งนั้น (ซึ่งคือตัววิปัสสนาปัญญา) โดยไม่ปรุงแต่งในทางที่ชอบที่ชัง จิตจะคลายจากกามคุณ ๕ อันมีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เท่ากับว่าจิตละจากอุปาทานในกามคุณ ๕ นั่นเอง เมื่อสติมีกำลังเช่นนี้ปัญญาก็เกิดตามมา เป็นปัญญาที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ หรือมรรคผลนิพพาน
สมาธิ ได้แก่ ความตั้งมั่นของจิต ขณะทำวิปัสสนาต้องควรตรวจดูว่า สมาธิของเราหนักไปอยู่ในฌาน ๔ หรือน้อยไปอยู่ในฌาน ๒ วิธีตรวจสอบก็โดยการสังเกตนิมิต โดยดูว่านิมิตที่เราเห็นเอียงไปทางซ้าย หรือเอียงไปทางขวา หรืออยู่ตรงกลาง ถ้าเอียงไปทางขวา แสดงว่าสมาธิหนักไปใกล้ฌาน ๔ ถ้าเอียงทางซ้าย แสดงว่าสมาธิอ่อนไปอยู่ใกล้ฌาน ๒ แต่ถ้าอยู่ตรงกลางหน้าก็แสดงว่าเราใช้สมาธิกำลังพอเหมาะ การปรับสมาธิให้อยู่ในภาวะสมดุลทำได้โดยการปรับแต่งการโยกของกาย ถ้าสมาธิมากไปเฉียดอยู่ในฌาน ๔ กายจะโยกช้าหรือโยกเบาแทบจะหยุด ก็ให้โยกแรงขึ้นอีกหน่อย แต่ถ้าสมาธิอ่อนไปเฉียดฌาน ๒ กายจะโยกเร็วแรง ก็ให้โยกช้าลงเบาลง สมาธิก็จะอยู่ในภาวะที่เหมาะสม ดังนั้นวิธีโยกกายจึงเป็นประโยชน์ในการปรับระดับสมาธิอีกทางหนึ่งด้วย การปรับระดับสมาธิดังกล่าวไม่มีอยู่ในพระอภิธรรม ที่รู้ได้ก็จากประสบการณืในการปฏิบัติ ซึ่งกว่าจะพบอาจารย์ก็เสียเวลาไป ๔ – ๕ วัน เพราะไม่มีใครบอกใครสอนมาก่อน
(ต่อพรุ่งนี้ครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น