วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิปัสสนากรรมฐาน 0371

0371   วิปัสสนากรรมฐาน (ต่อจากเมื่อวาน)

    อิทธิบาท ๔   และพละ ๕

    ในปฏิบัติที่เข้าถึงฌาน ๔   ก็ต้องถอยสมาธิจากฌาน ๔ ลงมาเล็กน้อย   เพราะสมาธิในฌาน ๔ จิตจะสงบนิ่งอยู่ท่าเดียวไม่ยอมคิดถึงเรื่องอะไร   จึงต้องผ่อนสมาธิลงมาให้อยู่ระหว่างฌาน ๔ กับฌาน ๓ ที่ต้องถอยมาอยู่ระดับนี้แม้ในตำราหรือพระปริยัติธรรมจะไม่ได้บัญญัติไว้   แต่จากคำสอนของครูบาอาจารย์และจากการทดลองปฏิบัติด้วยตัวเอง เห็นว่าได้ผลดีจึงถือว่าใช้ในการปฏิบัติได้ เพราะการปฏิบัติเป็นสิ่งละเอียดอ่อน   ผู้มีประสบการณ์แล้วจึงจะรู้ว่าใช้ได้หรือไม่ได้ เมื่อเห็นว่าใช้ได้โดยวัดผลจากการปฏิบัติก็ถือว่าเป็นหลักในการปฏิบัติได้

    การถอยสมาธิจากฌาน ๔   ลงมาอยู่ระหว่างฌาน ๓ ครึ่ง   ไม่ได้มีเคื่องมือไปวัด แต่กะเอาประมาณเอา   เพราะเรื่องของจิตเป็นนามธรรมเอาอะไรไปวัดไม่ได้   เมื่อถอยแล้วก็เลี้ยวไปทางซ้าย คือให้โยกตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย   จากนั้นด้วยกำลังของสมาธิก็จะทำให้ตัวโยกกลับไปทางขวาแล้วโยกซ้ายขวาไปมา   การที่ต้องโยกตัวไปมาเช่นนี้ก็ไม่มีบอกไว้ในพระปริยัติธรรมหรืออภิธรรมเช่นกัน   แต่เป็นผลที่ได้จากประสบการณ์ในการปฏิบัติ ซึ่งปฏิบัติแล้วได้ผลดี การที่พระอภิธรรมไม่ได้บัญญัติให้ทำเช่นนี้   ก็อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความลังเลสงสัยว่าเป็นวิธีที่ถูกทางหรือไม่ ปฏิบัติแล้วจะนำไปสู่มรรคผลหรือไม่

    เรื่องนี้ขอให้พิเคราะห์ดูว่าในขณะปฏิบัติวิปัสสนานั้น   สมาธิของผู้ปฏิบัติจะอยู่ระหว่างฌาน ๒ กับฌาน ๔ สมาธิของฌาน ๒   มีปิติหล่อเลี้ยง ซึ่งเราได้ทำอุพเพงคาปิติมาแล้ว จนเกิดกายโยกไปมาหรือผรณาปิติรู้สึกขนลุกซู่ซ่ามีอาการซาบซ่านไปตามตัว   หรือเกิดโอกกันติกาปิติ สมาธิของฌาน ๒ มีกำลังมาก จะดึงลงมาให้ตัวสั่นตัวโคลง ขณะเดียวกันสมาธิของฌาน ๔ ก็จะดึงขึ้นไปให้อยู่ในอุเบกขา   การดึงกันระหว่างกำลังสมาธิในฌาน ๔ และฌาน ๒ บางครั้งก็ทำให้ผู้ปฏิบัติโยกเองได้โดยไม่ต้องสั่นให้โยกเมื่อทำวิปัสสนา

(ต่อพรุ่งนี้ครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...