0379 วิปัสสนากรรมฐาน (ต่อจากเมื่อวาน)
นิมิตเกิดขึ้นได้ทางทวารต่าง ๆ เช่น ตาจากการเห็นรูปหรือแสงสี บางทีก็เห็นเป็นแสงจุดเล็ก ๆ แล้วสว่างจ้า บางทีก็เห็นเป็นพระพุทธรูป บางทีก็เห็นเป็นภาพสวรรค์ หรือภาพต่าง ๆนา ๆ การเห็นนิมิตทางตาแม้จะหลับตาก็ตาม จะเป็นทางนำไป สู่ทิพจักขุ (ตาทิพย์) หรือจักขุญาณ (เห็นด้วยตาใน) นอกจากนี้ก็อาจมีนิมิตทางเสียง โดยหูของเราอาจจะได้ยินเสียงสวดมนต์แว่วมาทั้ง ๆที่ไม่มีวัดหรือมีใครสวดมนต์อยู่แถวนั้น นิมิตที่ปรากฎทางเสียงจะนำไปสู่ ทิพโสด (หูภายในได้ยิน) หรือ โสตญาณ (ญาณที่รู้จากเสียง) ที่เรียกว่า หูทิพย์ ซึ่งทั้งหูทิพ์และตาทิพย์นี้ เป็นที่ยอมรับในพุทธศาสนาว่ามีจริงเป็นจริงจะปฏิเสธว่าไม่มีไม่ได้ ผู้ปฏิบัติบางคนอาจจะได้กลิ่นหอมหรือกลิ่นประหลาดเข้ามากระทบจมูกชั่ววูบของลมหายใจ ทั้ง ๆที่ไม่มีต้นเหตุของกลิ่นนั้นให้สัมผัสนี่ก็เป็นนิมิตทางกลิ่นเหมือนกัน หรือบางคนอาจจะได้นิมิตทางลิ้น คือรู้สึกว่ารสใดรสหนึ่งเกิดขึ้น ทั้ง ๆที่ไม่ได้รับประทานอะไรในขณะนั้น หรือบางคนอาจจะได้นิมิติทางโผฏฐัพพะ คือเหมือนมีอะไรมาถูกต้องกาย เช่นเหมือนมีตัวไรมาไต่บนใบหน้าทำให้รู้สึกคันยุกยิก แต่พอลืมตาหรือเอามือลูบดูกลับไม่เห็นอะไร
ไม่ว่านิมิตจะเป็นอะไรเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อย่าไปหลงไหล อย่าไปยึดติด อย่าไปชอบ อย่าไปชัง ขอเพียงมีสติรู้แล้วละเสีย
ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะเอานิสัยทางโลกเข้ามาปนกับการปฏิบัติทางธรรม นิสัยทางโลกนั้นหากประสบกับสิ่งที่ตนพอใจก็ชอบ อยากพบ อยากเห็น อยากสัมผัส อยากสัมพันธ์ อยากครอบครอง แต่ถ้าพบในสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาก็ชัง ไม่อยากพบ ไม่อยากเห็น ดังนั้นเมื่อเจอนิมิตที่ตนพอใจก็อยากเจออีกหรืออยากให้อยู่นาน ๆ เป็น กามตัณหา เพราะมี ราคะกิเลส แต่ถ้าเป็นนิมิตที่ตนไม่พอใจก็อยากผลักไส ไม่อยากให้ดำรงอยู่ เป็นวิภวตัณหา (ความอยากในสิ่งที่ไม่อยาก) เพราะมีโทสะกิเลส (ความโกรธ) ซึ่งความชอบความชังดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพูนกิเลสเข้าไปในจิตใจ แทนที่จะเอากิเลสออกจากจิต ดังนั้นจึงต้องมีสติคอยกำกับจิตและมีปัญญารู้เท่าทัน อย่าไปหลงอย่าไปชอบ อย่าไปชัง เพียงรู้ รู้แล้วก็ ละ สีย (คือว่าที่ใจ หรือให้ใจว่า ละ นี่คือวิปัสสนา)
(ต่อพรุ่งนี้ครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น