วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

...  ดูและพิจารณาให้เห็นอนัตตา

   คำว่า " อนัตตา " และ " สัมมาทิฐิ " เป็นธรรมอันเดียวกันในลักษณะที่ตรงกันข้าม คำว่า "อัตตา "   และ " มิจฉาทิฐิ " เป็นธรรมอันเดียวกัน อนัตตาเป็น-
เหตุแห่งการไม่เกิดไม่ตาย อัตตาเป็นเหตุแห่งการตายการเกิด ในการปฏิบัตินั้น ตรงที่ความเป็น. อนิจจัง ความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้น   ไม่ต้องไปดูไปพิจารณา แต่ให้ไปดูไปพิจาราณาที่ความเป็นอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะ   ว่าทั้งอนิจจังความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้นตามหลังอนัตตา พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงเห็นอนัตตานั่นเอง ดังพระบาลีว่า

   อะนัตตะลักขะเณ ทิฏเฐ อะนิจะลักขะณัง
ทิฏฐะเมวะ โหติ อิเมสุ ตีสุ ลักขเณสุ เอกัสมิง
ลักขะเณ ทิฏเฐ อิตะรัง ทิฏฐะเมวะ โหติ ฯ

   อะนัตตะลักขะเณ- เมื่อลักษณะแห่งอนัตตานั้น
ทิฏเฐ- หากว่าเห็นแล้ว อนิจจะลักขะณัง- ลักษณะ
แห่งความไม่เที่ยง ทิฏฐะเมวะ- ก็จะได้เห็นแจ่มแจ้ง
ขึ้นมาเอง โหติ- เป็นเช่นนี้ อิเมสุ ตีสุ ลักขะเณสุ-
บรรดาลักษณะ ๓ ประการเหล่านี้ เอกัสมิง          ลักขะเณ- เมื่อลักษณะอย่างหนึ่ง ทิฏเฐ- หากว่าได้เห็นแล้ว อิตะรัง- อนิจจะลักษณะและทุกขลักษณะ  ทั้ง ๒ นอกนี้ ทิฏเมวะ- จะได้เห็นขึ้นมาเอง

   คำว่า " อนิจจัง "และ " ทุกขัง " ทั้งสองนี้เป็นเพียง
คำถาม หมายความว่า ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์นี้
เป็นเพราะอะไร ก็เป็นเพราะว่า ธรรมทั้งสองนี้ เป็น
สภาวะแห่งอนัตตานั่นเองจึงเป็นอย่างนี้ ทุกข์หรือ
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่ของเรา
บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ เป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า " เป็นทุกข์ " นี่คือคำตอบ
พระพุทธองค์ตรัสว่า หากว่าเห็นอนัตตาแล้ว
อนิจจัง ทุกขัง แม้ว่าไม่ดูไม่พิจารณาก็จะรู้พร้อม
อนัตตานั่นเอง เพราะธรรมคืออนัตตานี้เป็นธรรม
เอก ( เอโก ธมฺโม ) ดังนั้นเมื่อเห็นอนัตตาก็จบกิจ
ดังพระบาลีว่า " สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหมด
กล่าวคือ ทั้งอนิจจังและทุกขังล้วนเป็นอนัตตา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...