🌾🌾
ภิกษุ ทั้งหลาย !!
เราได้รู้ถึงธรรมสองอย่าง คือ
ความไม่รู้จักพอ ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ
ความเป็นผู้ไม่ถอยหลัง ในการตั้งความเพียร
เราตั้งความเพียร คือ ไม่ถอยหลังว่า..
หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่ เนื้อ และเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที
เมื่อยังไม่บรรลุถึงประโยชน์ อันบุคคลจะลุได้ด้วยกำลังของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว
จักหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย...ดังนี้
ภิกษุ ทั้งหลาย !! เรานั้น ได้บรรลุความตรัสรู้ เพราะความไม่ประมาท
ได้บรรลุโยคักเขมธรรม อันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่า เพราะความไม่ประมาทแล้ว.
🚀🚀
ปล. ความเพียรของพระองค์นั้น เป็นไปในทางสายกลาง
คือ แม้ท่านจะทำมามาก ทำทุกขกิริยา เป็นต้น เป็นเวลานานหลายปี
แต่ในท้ายที่สุด ท่านก็สรุปลงที่ มัชฌิมาปฏิปทา คือ ความไม่สุดโต่ง ไปในกามและการทรมานตน
ที่ท่านดำเนินมา บางที ก็เป็นการลองผิดลองถูกเหมือนกัน น่ะครับ
จนได้ข้อสรุป ที่ มรรคมี องค์ ๘ ในฐานะ ทางแห่งอริยะ ว่าให้ดำเนินไปตามนี้ อย่าได้เสียเวลาไปทางอื่น
ความจริง คือ ท่านไม่ต้องการให้เราเสียเวลาเหมือนท่าน ท่านจึงสรุปยอดให้ อย่างนั้น
ความเพียรในที่นี้ คงหมายถึง ความเพียร ในอริยมรรค ที่สมังคี กับมรรคข้ออื่น ๆ ทั้งหมด ลงในจิตดวงเดียว
อนึ่ง ท่านเคี่ยวกรำ รู้ และปฏิบัติมาหมด ทุกเรื่อง ทุกแนวทาง เพราะท่านปราถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระสัพพัญญู ที่ต้องนำพาเวไนยสัตว์ สู่ความพ้นทุกข์ จึงต้องรู้ ถ้วนทั่ว ทุกจริตนิสัย แห่งสรรพสัตว์
แต่ ก็ปรากฏภายหลังว่า พระอริยะสาวกที่ถึงวิมุตติธรรม พระนิพพาน ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเหมือนท่านทุกอย่าง
เพราะท่านสรุปยอดให้แล้ว ไม่ได้ชี้ให้ยืดเยื้อ อะไรมากมายเลย
และธรรมที่ท่านรู้ แต่ไม่ได้นำมาสอนก็มีมาก เหมือนอุปมา ใบไม้ทั้งราวป่า
แต่ท่านหยิบใบไม้มาเพียงหยิบมือเดียว มาสอน
แล้วชี้ โฟกัส ไปที่ อริยสัจ ๔ คือ อย่างอื่น ไม่จำเป็นต้องรู้ รู้ไปก็ไม่มีประโยชน์
สรุปเรื่อง โลก และความพ้นไป ในใจและร่างกาย กว้างวา ยาวศอก นี้เท่านั้น
การศึกษาปฏิบัติ. ในทิฏฐิธรรมนี้ คือ เพื่อความพ้นทุกข์ ขาวรอบ วิมุตติ หลุดพ้น ในปัจจุบันเท่านั้น นั่นคือ พุทธประสงค์ ที่แท้
อริยสาวกบางองค์ แม้ไม้ได้เพียรถึงขั้น เนื้อ หนัง เหือดแห้ง ติดกระดูก คือแต่เพียงฟังธรรม ประโยคสองประโยค ก็มี
หรือบางองค์ เจริญจิต วิปัสสนา นิดหน่อย จิตก็ถึง อริยภูมิ ได้เลย
ดังนั้น ความเพียร ในที่นี้ จึง เป็นเรื่องภายใน และไม่อาจตีเป็นการปฏิบัติลำบาก เสมอไปก็ได้
และความจริง ท่านก็ไม่ได้ให้ปฏิบัติลำบาก แต่ท่านชี้ให้เห็นความจริงของรูปนาม แค่นั้น
แม้เพียงแต่ ชูดอกบัวขึ้นมาดอกเดียว ถ้าใครรู้ความหมาย ก็ได้ จบได้ เช่นกัน
ส่วนเรื่อง ความไม่ประมาทนั้น ถ้าจะตีความ คงตีความได้มากมาย ตามแต่ภูมิของใคร ของมัน
แต่แน่นอนว่า ท่านไม่ให้นอนใจใน วัฏฏสงสาร คือ ถ้ายังไม่พ้นถึงอรหัตผล ก็ยังนอนใจไม่ได้
เป็นพรหม เป็นเทวดา เป็นพระจักรพรรดิ์ เป็นนักบวช ก็ยังนอนใจไม่ได้
ต่อเมื่อ ถึงความดับรอบ คือ ถึงพระนิพพานแล้วเท่านั้น จึงจะเรียกว่า พ้นความประมาท ไม่ประมาท ได้
..
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ..
ข้า ฯ ขอนอบน้อม กราบแทบเท้าพระบรมครู ขอรับ กราบ สาธุ !!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น