วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การทำณาน4 0357

0357   คำถามเกี่ยวกับการทำฌาน ๔

๓.   ถาม ในองค์ฌานทั้ง ๔ นั้น   เริ่มจากฌาน ๑ มีวิตก – วิจาร   ปิติ สุข เอกัคคตา ฌาน ๒ มีปิติ   สุข เอกัคคตา ฌาน ๓ มีสุข เอกัคคตา   และฌาน ๔ มีเอกัคคตา อุเบกขา แต่หลวงพ่อสอนว่า   ฌาน ๑ มีวิตก – วิจาร ฌาน ๒ มีปิติ ฌาน ๓ มีสุข   ฌาน ๔ มีเอกัคคตา อุเบกขา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

       ตอบ ถ้าสอนว่าฌาน ๑   มีวิตก – วิจาร ปิติ สุข   เอกัคคตา ก็จะไปสงสัยว่าอันไหนเป็นวิตก – วิจาร   เป็นปิติ เป็นสุข เป็นเอกัคคตา ทำให้เกิดความยุ่งยากสับสน   ว่า ฌาน ๑ อยู่ตรงไหน จึงย่อให้เข้าใจง่าย ให้จำเพียงว่า  ฌาน ๑ อยู่ที่ วิตก – วิจาร เมื่อหยุดวิตกวิจาร หรือหยุดคิดก็เข้าถึงฌาน ๑   เหมือนเรานั่งเขียนหนังสืออยู่ จิตจดจ่ออยู่กับการเขียนหนังสือก็เป็นฌาน ๑ ถ้าเติมปิติ   สุข เอกัคคตา ก็จะเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าแล้ว ฌาน ๑ อยู่ตรงไหน อันที่จริงแล้วกำลังของฌาน ๑   ก็อยู่ตรงวิตก – วิจาร หมายความว่าพอหยุดนึกคิดได้จิตก็เข้าฌาน ๑ ถ้าภาวนาต่อไปพอมีขนลุกขนพองขึ้นมาก็แสดงว่าปิติเกิดขึ้นแล้วเป็น ฌาน ๒   ก็ให้ขึ้นฌาน ๒ ไปเลย เมื่อขึ้นถึงอุพเพงคาปิติ หรือกายสั่น หรือให้ยกมือขึ้นสั่นเพื่อให้เกิดอุพเพงคาปิติ ซึ่งจะเป็นอุบายให้เกิดกำลังหนุนให้มีฤทธิ์   มีอำนาจ มีตบะ การให้ยกมือขึ้นสั่นเป็นการช่วยเบื่องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มฝึกปฏิบัติ เมื่อมันเกิดขึ้นเองได้แล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องไปช่วยอะไร เพียงแค่นึกถึง ฌาน ๒ เท่านั้นกายก็สั่นเองได้   หรือถ้ายังไม่ชำนาญดีก็ใช้มือช่วยทีเดียวกายก็สั่นขึ้นเองได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...