ฝึกจิต ง่ายนิดเดียว
คืออย่าเที่ยวเตลิดไป
รู้คิดทำสิ่งใด ก็จรดใจ ในสิ่งนั้น
ฝึกจิตอยู่ที่นี่ รู้สึกที่ ปัจจุบัน
แจ้งจะ ขณะนั้น รู้ทั่วกันทั้งนอกใน
บล๊อกน้ำสำหรับเก็บรวบรวมบทความธรรมะ การปฎิบัติตามทีต่างๆได้พบ ได้เห็น ได้รู้ มาเก็บรวบรวมไว้เผื่อเป้นการบันทึกไว้อ่าน หรือ ทบทวน เป็นการส่วนตัว มิได้มีเจตนาอื่นไดไดเลย นะครับ...ขอบคุณครับ ผู้รวบรวมบทความ - บ.ใบไม้☘🍃☘
... ดูและพิจารณาให้เห็นอนัตตา
คำว่า " อนัตตา " และ " สัมมาทิฐิ " เป็นธรรมอันเดียวกันในลักษณะที่ตรงกันข้าม คำว่า "อัตตา " และ " มิจฉาทิฐิ " เป็นธรรมอันเดียวกัน อนัตตาเป็น-
เหตุแห่งการไม่เกิดไม่ตาย อัตตาเป็นเหตุแห่งการตายการเกิด ในการปฏิบัตินั้น ตรงที่ความเป็น. อนิจจัง ความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้น ไม่ต้องไปดูไปพิจารณา แต่ให้ไปดูไปพิจาราณาที่ความเป็นอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะ ว่าทั้งอนิจจังความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้นตามหลังอนัตตา พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงเห็นอนัตตานั่นเอง ดังพระบาลีว่า
อะนัตตะลักขะเณ ทิฏเฐ อะนิจะลักขะณัง
ทิฏฐะเมวะ โหติ อิเมสุ ตีสุ ลักขเณสุ เอกัสมิง
ลักขะเณ ทิฏเฐ อิตะรัง ทิฏฐะเมวะ โหติ ฯ
อะนัตตะลักขะเณ- เมื่อลักษณะแห่งอนัตตานั้น
ทิฏเฐ- หากว่าเห็นแล้ว อนิจจะลักขะณัง- ลักษณะ
แห่งความไม่เที่ยง ทิฏฐะเมวะ- ก็จะได้เห็นแจ่มแจ้ง
ขึ้นมาเอง โหติ- เป็นเช่นนี้ อิเมสุ ตีสุ ลักขะเณสุ-
บรรดาลักษณะ ๓ ประการเหล่านี้ เอกัสมิง ลักขะเณ- เมื่อลักษณะอย่างหนึ่ง ทิฏเฐ- หากว่าได้เห็นแล้ว อิตะรัง- อนิจจะลักษณะและทุกขลักษณะ ทั้ง ๒ นอกนี้ ทิฏเมวะ- จะได้เห็นขึ้นมาเอง
คำว่า " อนิจจัง "และ " ทุกขัง " ทั้งสองนี้เป็นเพียง
คำถาม หมายความว่า ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์นี้
เป็นเพราะอะไร ก็เป็นเพราะว่า ธรรมทั้งสองนี้ เป็น
สภาวะแห่งอนัตตานั่นเองจึงเป็นอย่างนี้ ทุกข์หรือ
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่ของเรา
บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ เป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า " เป็นทุกข์ " นี่คือคำตอบ
พระพุทธองค์ตรัสว่า หากว่าเห็นอนัตตาแล้ว
อนิจจัง ทุกขัง แม้ว่าไม่ดูไม่พิจารณาก็จะรู้พร้อม
อนัตตานั่นเอง เพราะธรรมคืออนัตตานี้เป็นธรรม
เอก ( เอโก ธมฺโม ) ดังนั้นเมื่อเห็นอนัตตาก็จบกิจ
ดังพระบาลีว่า " สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหมด
กล่าวคือ ทั้งอนิจจังและทุกขังล้วนเป็นอนัตตา
... ลักษณะอาการหลังเกิดสภาวะธรรม
๑ สุญญต กายใจว่างเปล่า โล่งอยู่ไม่มีอะไรเหลือ เป็นกลวงอยู่
๒ ปัสสัทธิ เบาอยู่ เบากาย เบาใจอยู่
๓ สันติ สงบอยู่ กิเลสที่หลงเหลืออยู่นั้นสงบเย็น
อยู่ชั่วคราว ไม่แสดงอาการใดๆให้ปรากฏ
๔ สุขะ สุขอยู่ เสวยความสุขอยู่ เหมือนดังพระเจ้า
จักรพรรดิเสวยสุขอยู่บนราชบัลลังก์
๕ ปิติ อิ่มเอิบใจ เกิดความอิ่มเอิบใจไม่รู้จักสิ้นสุด
หากปฏิบัติวิปัสสนาดำเนินมาถึงจุดนี้ และมี
อาการครบทั้ง ๕ ประการ ปรากฏออกมาชัดเจน
อย่างพร้อมเพียงกันนั้น เรียกว่า " เกิดมรรค
เกิดผล " แล้ว และหลังจากนั้นในคืนถัดไปจะเกิด
อาการนอนไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่อ่อนเพลีย
หลวงพ่อ ธี วิจิตฺตธมฺโม สำนักปฏิบัติธรรม
อนัตตาราม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
... อันตราย
แห่งวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ
๑. โอภาส- หากสมาธิเกิดก่อนญาณ จะมีนิมิต เป็นแสงสว่างเกิดขึ้น เช่นมีแสงเป็นดวง แสงไฟฟ้า แสงอาทิตย์ เป็นต้น โอภาสเหล่านี้
เป็นนิมิตของสมาธิ มิใช่วิปัสสนา
๒. ญาณ- ความรู้ที่นอกเหนือหรือไม่สอดคล้อง
กับสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ
๓. ปิติ- ความอิ่มเอิบใจ หากเกิดก่อนมรรค
เป็นปิติของฌาน ทำให้ขวางกั้นมรรค แต่หาก เกิดหลังผลญาณ จึงจะเป็นปิติสัมโพชฌงค์
๔. ปัสสัทธิ- ความสงบเบาสบาย อาการนี้ถ้าเกิด
ก่อนมรรคเป็นของสมาธิหรือฌาน
๕. สุข- มีความสุขกายสุขใจอยู่ เป็นความสุข
ในฌาน
๖. อธิโมกข์- ความน้อมใจเชื่อว่า อารมณ์นี้
เป็นอย่างนี้เป็นอย่างนี้
๗. ปัคคหะ- การทำความเพียรมากเกินไป
๘. อุปัฏฐาน- มีสติแก่กล้าในอารมณ์มาก
แต่ขาดการพิจารณา ( ธัมมวิจย )
๙. อุเบกขา- ใจที่วางเฉยนิ่งอยู่ในปัญจมฌาน
อายตนะทั้งหมดดับหมดร่างกายหายหมด
ไม่ใช่อุเบกขาสัมโพชฌงค์
๑๐. นิกกันติ- ความชื่นชมติดใจในอารมณ์ ที่เป็นอันตรายทั้ง ๙ ประการ เรียกว่า
เป็นตัณหา มิใช่อารมณ์ของวิปัสสนา
... สัมมาทิฏฐิเปรียบดังรอยเท้าช้าง
เสยยะถาปิ มะหาราชะ ยานิ กานิจิ ชังฆะลานัง ปานานัง ปะทะชาตานิ สัพพานิ ตานิ หัตถิปะเท สะโมทานัง คัจฉันติ
หัตถิปะทัง เตสัง อัคคะมักขายะติ ฯ
หมายความว่า มะหาราชะ- พระมหาบพิตรเจ้า
(พระเจ้า ปเสนทิโกศล) สัตว์จำพวกสองเท้าสี่เท้า
มากเท้าที่เดินบนพื้นดินทั้งหมดนั้น ต่างก็มีรอยเท้าปรากฏอยู่ รอยเท้าโคและรอยเท้าม้าจะรวมลงใน
รอยเท้ากระบือ (เพราะเล็กกว่า) รอยเท้ากระบือก็
จะรวมลงในรอยเท้าช้าง เป็นอย่างนี้
ศีลมรรค หากว่าสมาธิเกิดขึ้นมาแล้วก็หาย
เข้าไปรวมอยู่ในสมาธิ สมาธิก็เหมือนกัน
หากว่า ปัญญาศาสนาคือ สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะเกิดขึ้นมาแล้ว ก็จะหายเข้าไปรวม
อยู่ในสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะนั่นเอง
รอยเท้าใหญ่ที่สุด คือรอยเท้าช้าง ดังนั้น
รอยเท้าสัตว์ที่เล็กกว่าจึงรวมลงอยู่ใน
รอยเท้าช้าง
ในบรรดามรรคมีองค์แปด มรรคองค์ที่สำคัญ
ที่สุดและนำหน้าเพื่อนก็คือ สัมมาทิฏฐิ
ความเห็นถูกต้อง และสัมมาสังกัปปะ ความคิด
พิจารณาถูกต้อง หากมีคำถามว่า
เห็นอะไรถูกต้อง ก็ตอบได้ว่า เห็นความเกิดดับ
ของรูปนามที่เป็นปรมัติ นั่นเอง เรียกว่า
เห็นถูกต้อง และอย่างไรเรียกว่าคิดพิจารณา
ถูกต้อง คือคิดพิจารณาขันธ์ห้ารูปนาม
เป็นอนัตตา นั่นแหละเรียกว่า คิดพิจารณา
ถูกต้อง ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน
ทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย
... หลักการปฏิบัติวิปัสสนา
สำหรับท่านที่สามารถนั่งสมาธิได้จนจิต
เริ่มตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตเริ่มเกิด ปิติคือ
ความอิ่มเอิบใจ นิวรณ์ทั้ง ๕ สงบลง จิตมี
ความสุขผ่องใส จิตพร้อมที่จะรับ
รู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นตามสภาวะความเป็นจริง
ตามธรรมชาติ
ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่ท่านจะทำวิปัสสนา
หลักการปฏิบัติให้พิจารธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เพราะ
จะเป็นวิธีที่จะเห็น ไตรลักษณ์ ได้อย่างชัดแจ้ง
หลังจากที่นั่งสมาธิสัก ๑๕ นาที ธาตุทั้ง๔
ในร่างกายจะเรียกร้องไปดู อันนี้เรียกว่า
เอหิปัสสิโก
ธาตุ๔ ให้พิจารณาอย่างนี้
๑ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน จะแสดงออกในอาการหนัก
แข็ง หยาบกระด้าง เบา อ่อนนิ่ม
๒ อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แสดงออกในอาการซึมซับ
เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุม
๓ เตโชธาตุ ธาตุไฟ แสดงออกในอากานร้อน
เย็น อุ่น หนาว
๔ วาโยธาตุ ธาตุลม แสดงออกในอาการเจ็บ
ปวด. เต้น ตอด เหน็บซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง
ธาตุ ๔ จะแสดงออกมาในอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจมีอาการ
มากกว่าหนึ่งก็ได้ปรากฏขึ้นมาที่รูป เรียกว่า
กาย
อาการเหล่านี้จะปรากฏขึ้นที่ใจ หรือ
มโนวิญญาณธาตุอย่างแน่นอน (รับรู้ได้ด้วยจิต)
ใช้ปัญญามรรคองค์ที่ ๑ คือ สัมมาทิฐิ ให้ดู
ที่จิตและเวทนาซึ่งรับธาตุทั้ง๔ อยู่
หากมีอาการใดเกิดขึ้นมา เช่น อาการหนัก
แข็ง หยาบ กระด้าง เบา อ่อน นิ่ม เป็นต้น
ให้ปัญญาสัมมาวิตก ที่เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
พิจารณาเหล่านั้นให้เป็น อนัตตา ไม่ใช่เรา
บังคับไม่ได้ แล้ววางอัตตาเสีย ให้ทำอย่างนี้
เรื่อยไปจนเห็นแจ้งทุกส่วนในกายเราเป็นเพียง
ธาตุ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น ซึ่งธาตุ ๔ ดิน
น้ำ ลม ไฟ ก็ไม่ใช่ของๆเรา อัตตาตัวตนที่เรา
เห็นเราสัมผัสได้ ที่แท้ก็เป็นเพียงภาพมายา
หาใช่ของจริงไม่ ให้เราหัดพิจารณาแบบนี้ให้
คล่องให้ชำนาญก่อน
... หมู่สัตว์ล้วนถูกจองจำ ใครสามารถ
หลุดรอดไปได้
สีเลนะ ปะติฏฐาย นะโร สะปัญโญ จิตตัง
ปัญญัญจะ ภาวะยัง อาตาปิ นิปะโก ภิกขุ โส
อิมัง วิชะฏะเย ชะฏัง ฯ
โยนะโร- นรชนทั้งเทวดาและมนุษย์
สะปัญโญ- ผู้มีปัญญาคือองค์แห่งมรรคที่หนึ่ง
และที่สอง ปะติฏฐาย- ตั้งมั่นอยู่อย่าง
ไม่ขาดสาย อาตาปิโน- พากเพียรต่อสู้กิเลสอยู่
โดยไม่ถดถอย ภิกขุ- ผู้เห็นภัยแห่งการเกิด แก่
เจ็บ ตายซึ่งจะปรากฏในภายหน้า นิปะโก- ผู้มี
ปัญญาสังเกตุพิจารณาเป็น สีเลนะ- คือมีศีล
เจ็ดข้อ (กายกรรม๓ วจีกรรม๔) จิตตัญจะ-
มีสมาธิ ๓ ประการ (ความพยายาม สติ สมาธิ)
ปัญญัญจะ- และปัญญาทั้ง ๒ ประการ คือ
สัมมาาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ภาวะยัง- ทำให้
เจริญมากๆอยู่ วิชะฏะเย- พึงตัดทำลาย
อิมัง ชะฏัง- เครื่องร้อยรัดผูกพัน (กิเลส)
เปรียบเหมือนแร้วนี้ให้ขาด
แล้วหลุดพ้นออกไปได้
ขยายความว่า เทวดาหรือมนุษย์ใดก็ตาม ผู้มี
ปัญญาสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง กล่าวคือ
เห็นว่ารูปนามนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา และ
คิดพิจารณาว่ารูปนามที่มีลักษณะเป็นอนิจจัง
ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นความทุกข์นี้ มิใช่เรา มิใช่
ของเรา เป็นอนัตตา ผู้เห็นภัยแห่ง
การเกิดแก่เจ็บ พึงใช้ศีล ๓ ประการ (สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
และสมาธิ ๓ ประการ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ) โดยมีปัญญา ๒ ประการ
(สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ) นำหน้า สังเกตุ
พิจารณาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ผู้นี้แหละ
จักเป็นผู้สามารถตัดทำลายเครื่องผูกหมู่สัตว์
ในวัฏสงสารให้ขาดสะบั้นลง แล้วหลุดรอด
ออกไปได้อย่างอิสระ
... วิธีตัดทำลายเหตุและผลของ
การตายเกิดในวัฏสงสาร
วิธีตัดทำลายเหตุและผลคือ
๑. การใช้ปัญญาสัมมาทิฏฐิคอยดูจดจ่อ
อยู่ที่จิต ซึ่งเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ
๒. มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน อันมีลักษณะ
หนัก แข็ง หยาบ กระด้าง เบา อ่อนนิ่ม ธาตุน้ำ
อันมีลักษณะ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุม
ธาตุไฟ อันมีลักษณะ เย็นร้อน อุ่น หนาว
ธาตุลมอันมีลักษณะ เจ็บ ปวด เต้น ตอด
เหน็บซ่าน โยกคลอน ไหวนิ่ง ในขณะที่นั่งอยู่
หรือในอิริยาบทอื่นก็ตาม ลักษณะอาการแห่ง
มหาภูตรูปหรือธาตุ ๔ นี้ จะต้องปรากฏออกที่
มโนวิญญาณธาตุอย่างแน่นอน
หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วจะมี ๓
ลักษณะคือ ดี ชอบ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
ร้าย ไม่ชอบ เรียกว่า โทมนัสเวทนา
เป็นกลางๆ ดีก็ไม่ใช่ ร้ายก็ไม่ใช่ หรือเฉยๆ
เรียกว่า อุเบกขาเวทนา
ลักษณะอาการที่แสดงออกมานี้เป็นอาการ
ของรูปและนาม เมื่อใดก็ตามที่อาการเหล่านี้
เกิดขึ้นมา ให้ใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่า
ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือว่าเป็น
ของตน พร้อมกันนี้ก็ให้ใช้สัมมาทิฐิ ความเห็น
ถูกต้อง ดูที่ความเป็นอนัตตานั้นให้ชัด
พระพุทธองค์ตรัสว่า เอโก ธัมโม อนัตตาโต
ภิกขะเว อนุปัสสิโต ภาวิโต พหุลีกะโต
อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ
สังวัตตะติ ฯ
แปลว่า ภิกขะเว- ดูกรท่านผู้เห็นภัย
แห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งจะมาปรากฏ
ในภายหน้า เอโก ธัมโม- ธรรมะอันเป็นเอก
(อันนี้) อนัตตาโต- ตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น
อนุปัสสิโต- เธอจงเฝ้าดู ภาวิโต- เธอจงเฝ้า
พิจารณา พหุลีกะโต- เธอจงทำให้มาก
อภิญญายะ- มรรคญาณ สัมโพธายะ- ผลญาณ
นิพพานายะ- พระนิพพาน สังวัตตะติ- ย่อมเกิด
ขึ้นมา
ผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย
ตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น จงใช้สัมมาทิฐิดูให้
มากๆ ใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาลงไป
ให้ต่อเนื่องว่ามิใช่ของตน เป็นอนัตตา
การกระทำอย่างนี้เนื่องๆ นั่นแหละเป็นเหตุแห่ง
การเกิดมรรคผลนิพพาน
ขอให้ท่านจงปฏิบัติไปอย่างนี้ให้ดีโดยต่อเนื่อง
แล้วเราจะเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงว่า
พระพุทธเจ้าตรัสสอนสิ่งที่เป็นจริง หากว่าเห็น
เวทนาเป็นอนัตตาแล้ว อัตตาอันเป็นหัวหน้า
ของตัณหาก็จะถูกตัดทำลายลงไปได้
เหตุและผลแห่งวัฏสงสาร อันเป็นวงเวียน
แห่งการตายเกิดก็จะถูกตัดขาดออก
เป็นสองท่อนทำงานต่อไปไม่ได้ อนาคตเหตุ
ก็หยุดนิ่ง ไม่เคลือนไหวอีกต่อไป
0044 ภาพผู้ดับไม่เหลือ
คำว่าดับไม่เหลือ เป็นคำที่เข้าใจยาก จะเรียกว่ายากที่สุดก็ได้ ในภาษาธรรมะด้วยกัน คำว่าดับไม่เหลือ ไม่ได้หมายความว่าตายแล้วเผาฝัง คำว่าดับไม่เหลือหมายถึง ดับไม่เหลือแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความรู้สึกว่าตัวกูว่าของกู ว่าตัวกูว่าของกูน่ะ เกิดขึ้นมาเมื่อไรมันก็มีตัวตนเมื่อนั้น มีความรู้สึกว่าตน แล้วก็มีตนเมื่อนั้น ถ้าว่าดับสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวงเสีย ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตนว่าของตน นั่นแหละจึงจะเรียกว่า ดับไม่เหลือ
ในภาพนี้มีอะไรลุกขึ้นมาจากสะดือของบุคคลในภาพนั้นเวียนออกไปเป็นคนนานาชนิด นั่นแหละเป็น
การปรุงแต่งออกไปจากจิตใจ มีมากมาย เป็นความเกิดอันมากมาย อันไม่รู้จักสิ้นสุดตลอดเวลาที่ยังมีอวิชชา ทีนี้ก็มาถึงตอนที่จะเปลี่ยนฉากใหม่ ได้ผ่านโลกผ่านทุกข์ ความทุกข์มามากพอแล้ว เกิดความเข้าใจเห็นได้ว่า อย่างนั้นเป็นความโง่เขลา เป็นการปรุงแต่งให้เกิดตัวตนของตน แล้วก็ขบกัดตนอย่างเหลือประมาณ จึงน้อมจิตไปในทางที่จะไม่ให้เกิดตัวตน หรือดับตัวตนเสีย ไปศึกษาเล่าเรียนเรื่องเกี่ยวกับการปรุงแต่งมาอย่างครบถ้วน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถึงกันเข้าแล้วก็ปรุงแต่งเป็นเกิดเป็นตัวตน เกิดตัวกูของกูขึ้นมา ในความรู้สึก ถ้ามีสติปัญญาพอ แม้ถึงกันเข้ามันก็มีสติปัญญาพอที่จะควบคุมไม่ให้ปรุงแต่งเป็นตัวตนขึ้นมา นี้เรียกว่าดับตัวตน ป้องกันการเกิดแห่งตัวตน แล้วก็ดับไปแห่งตัวตน จนกระทั่งไม่มีเหลือ ความทุกข์ก็ไม่มี ความทุกข์เกิดมาจากความรู้สึกว่ามีตัวตนหรือของตนเสมอไป เป็นใจความสั้นๆว่า การยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนนั่นแหละ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ สำคัญอยู่ที่เบญจขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พอยึดมั่นส่วนใดส่วนหนึ่งเข้ามันก็เกิดเป็นตัวตนขึ้นมา ไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยโดยประการทั้งปวง ตลอดเวลาทั้งปวง มันก็ไม่เกิดตัวตนขึ้นมา เรียกว่า ดับไม่เหลือ เป็นการดับทุกข์ในทุกแง่ทุกมุมที่เราก็ไม่ต้องเรียนเรื่องทุกเรื่องอะไรให้มากเรื่อง จะเรียนเรื่องดับไม่เหลือ อย่างเดียวก็พอ แล้วก็พยายามให้ความรู้เรื่องดับไม่เหลือนี้เป็นเครื่องกำกับอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะดับจิตคือดับกายหรือตายนั่นน่ะ ให้มีความรู้เรื่องดับไม่เหลือเข้ามาเกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด จะได้ดับไปอย่างไม่มีเชื้อเหลือสำหรับจะเกิดอีก
ข้อความนี้พอสรุปเป็นคำกลอนดังนี้
อย่าเข้าใจ ไปว่า ต้องเรียนมาก
ต้องปฏิบัติ ลำบาก จึงพ้นได้
ถ้ารู้จริง สิ่งเดียว ก็ง่ายดาย
รู้ดับให้ ไม่มีเหลือ เชื่อก็ลอง
เมื่อเจ็บไข้ ความตาย จะมาถึง
อย่าพรั่นพรึง หวาดไหว ให้หม่นหมอง
ระวังให้ ดีดี นาทีทอง
คอยจดจ้อง ให้ตรงจุด หลุดได้ทัน
ถึงนาที สุดท้าย อย่าให้พลาด
ตั้งสติ ไม่ประมาท เพื่อดับขันธ์
ด้วยจิตว่าง ปล่อยวาง ทุกสิ่งอัน
สารพัน ไม่ยึดครอง เป็นของเรา
ตกกระได พลอยกระโจน ให้ดีดี
จะถึงที่ มุ่งหมาย ได้ง่ายเข้า
สมัครใจ ดับไม่เหลือ เมื่อไม่เอา
ก็ดับ เรา ดับตน ดลนิพพาน ฯ
สรุปความว่า ไม่ต้องเรียนให้มากเรื่อง นอกจากดับไม่เหลือ และเมื่อจะดับจิตดับขันธ์ดับกายนี้ให้มีความรู้เรื่องดับไม่เหลือเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ เรียกว่าตดกระได แล้วก็กระโจนให้ดีๆ จะถึงที่หมายได้เร็วเข้า ถ้ามีความเจ็บไข้แน่นอนว่าจะต้องตาย อย่างนี้ก็เรียกว่ามันตกกระไดแล้ว ก็พลอยกระโจนให้ดีๆ สมัครดับไม่เหลือไปด้วยกัน นี่มันง่ายเข้า
หวังว่าท่านทั้งหลายทุกคน จะได้มีความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เครื่องดับทุกข์นั้นน่ะคือความรู้เรื่องดับไม่เหลือแห่งตัวตน ความรู้เรื่องดับไม่เหลือแห่งตัวตนปฏิบัติแล้วมันไม่เกิดตัวตน ตัวตนที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มันก็เลยไม่มีความทุกข์ ขอให้พิจารณาดูให้ดี มีอะไรพลุ่ง ออกมาจากใจกลางแห่งบุคคลนั่น แล้วก็ถ้าว่าปฏิบัติถูกเรื่องดับไม่เหลือ มันก็จะหยุดออกมา มันก็จะหายไปหมด ไม่มีสำหรับเป็นปัญหาอีกต่อไปดังนี้ จ้องดูหน้าที่ของคนดับไม่เหลือให้ดีๆ ว่ามันมีความรู้สึกที่มีความหมายแห่งความสะอาด ความสว่าง ความสงบสักเท่าไร กระทำไว้ในใจสำหรับเป็นเครื่องจูงใจให้เดินไปโดยทำนองนั้นด้วยกันจงทุกๆคนเถิด
0050 ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น
ที่ว่า ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น คือ ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น คำว่า เอา นี่เอาด้วยความโง่ ด้วยอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นว่ากูเอา แล้วกูได้มาเป็นของกู อย่างนี้เรียกว่าเอา ถ้าเอาอย่างนี้แล้วไม่มีอะไรนี่น่าเอาหรอก เอาแล้วดกัด กัดทั้งนั้นแหละ ไปเอาเข้าแล้วกัดทั้งนั้นแหละ เป็น ก็เหมือนกัน ด้วยความหมายมั่นอุปาทานว่ากูเป็นกูเป็นอย่างนั้น กูเป็นอย่างนี้ ก็เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพ่อแม่ เป็นลูก เป็นอะไร เป็นด้วยอุปาทาน นี้มันกัดเอาทั้งนั้นแหละ ถ้าเป็นก็ไปตามรู้สึกว่ามันสมมุติ มันชั่วคราว มันทำหน้าที่ชั่วคราว อย่าหมายมั่นให้มันมากมายไปกว่านั้น มีคำกลอนเขียนไว้ว่า
ถ้าจะอยู่ ในโลกนี้ อย่างมีสุข
อย่าประยุกต์ สิ่งทั้งผอง เป็นของฉัน
มันจะสุม เผากบาล ท่านทั้งวัน
ต้องปล่อยมัน เป็นของมัน อย่าผันมา
เป็นของกู ในอำนาจ แห่งตัวกู
มันจะดู วุ่นวาย คล้ายคนบ้า
อย่างน้อยก็ เป็นนกเขา เข้าตำรา
มันคึกว่า กู-ของกู อยู่ร่ำไป
จะหามา จะมีไว้ ใช้หรือกิน
ตามระบิล อย่างอิ่มหนำ ก็ทำได้
โดยไม่ต้อง มั่นหมาย ให้อะไรๆ
ผูกยึดไว้ ว่าตัวกู หรือของกู
ถ้าจะมีอะไร จะหาอะไร จะเก็บอะไร จะใช้อะไร ในจิตใจอย่าหมายมั่นว่าเป็น ตัวกู เพราะมันจะรู้สึกหนักขึ้นมาในจิตใจ แล้วมันจะมีความไม่ได้ตามต้องการแทรกแซงอยู่เสมอ มันจะเกิดเป็นทุกข์ขึ้นมา จึงว่า ถ้าจะอยู่กันในโลกนี้อย่างมีความสุขแล้ว อย่าไปเอาอะไรมายึดถือว่าเป็นของฉัน มันจะสุมเผากบาลท่านทั้งวัน พูดกันลืม พูดให้มันแรงๆ ให้มันกันลืมว่า ถ้าเอามาเป็นของฉัน ของกูแล้วมันก็จะสุมกบาลให้ร้อน เหมือนกับเอาหม้อไฟมาทูนไว้บนศีรษะทั่งวันเลย ปล่อยให้มันเป็นของธรรมชาติ ไปตามเหตุตามปัจจัย ตามอิทัปปัจจยตา ตามปฏิจจสมุปบาท
ถ้าเอามาไว้ในอำนาจแห่งตัวกู มันก็ต้องต่อสู้กัน เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจนี่ มันก็ต้องต่อสู้กันเอะอะตึงตังเหมือนกับบ้านเรือนของคนบ้า มีแต่ความทะลึ่งตึงตัง ทะเลาะวิวาท หรือจะโง่เป็นนกเขานกเขานี่เป็นนกที่ขันว่า กู-ของกู ๆ ๆ ภาษาบาลีก็เรียกนกเขาว่า กูของกู ๆ เหมือนกัน มัยหกะ ๆ พูดเป็นภาษาบาลีไว้ ในบาลีว่า มัยหกะ นกเขามันขันว่า มัยหกะ แปลว่ากูของกู ฯ
เพราะฉะนั้นคนที่จะไม่เป็นนกเขาก็อย่าไปหมายมั่นอะไรว่าเป็นของกู จะหามาก็หามาอย่างธรรมช่ติอย่างนั้น เก็บไว้อย่างธรรมชาติ กินก็กินอย่างธรรมชาติ ถ่ายก็ถ่ายไปอย่างธรรมชาตินั้น อย่าให้มีความหมายในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ว่าเป็น ของกู ขึ้นมาเลย
ทีนี้อีกบทหนึ่งว่า มีโดยไม่ต้องมีผู้มี ให้มีการมีตามกฏหมาย เรามีบ้านมีเรียน มีเงินมีทอง ตามกฏหมาย มีได้โดยสมมุตินั่นมี แต่ว่าโดยไม่ต้องมีผู้มี คือจิตใจอย่าไปมีเข้า ถ้ามีแล้วมันจะกัดเอา
ถ้ามีอะไร แล้วใจ รู้สึกเหนื่อย
สำนึกเรื่อย ว่ากูมี อย่างนี้หนา
มีทั้งกู ทั้งของกู อยู่อัตรา
นั่นอัตตา มาผุดขึ้น ในการมี
ถ้ามีอะไร มีไป ตามสมมุตติ
ไม่จับยุด ว่าของกู รู้วิถี
แห่งจิตใจ ไม่วิปริต ผิดวิธี
มีอย่างนี้ ย่อมไม่เกิด ตัวอัตตา
ฉะนั้นมีอะไร อย่าให้มี อัตตาเกิด
เพราะสติ อันประเสริฐ คอยกันท่า
สมบรูณ์ด้วย สัมปชัญญ์ และปัญญา
นี้เรียกว่า รู้จักมี ที่เก่งเกิน
เป็นศิลปะ แห่งการมี ที่ชั้นยอด
ไม่ต้องกอด ไฟนรก ระหกระเหิน
มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี มิได้เพลิน
ขอชวนเชิญ ให้รู้มี อย่างนี้แล
มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี คำนี้ลึกมาก ถ้าเข้าใจก็วิเศษมีอย่างว่างแล้วก็ว่างอย่างมี มีอย่างว่าง ไม่ต้องมีตัวผู้มี ก็มีไปตามสมมุติอย่างว่าง แล้วก็ว่างอย่างมี คือว่าง เรียกว่า ว่าง แต่มันก็มีการมี มีการมี เราไม่มีอะไร ไม่ถืออะไรเป็นของเรา แต่มันก็มีการมีตามสมมุติ กฏหมายช่วยคุ้มครองให้ เงินทองบ้านเรือนข้าวของไร่นาอะไรของเรา เราไม่ได้ยึดถือว่ามี แต่มันก็มีโดยตามสมมุติ มีตามสมมุติ กฏหมายช่วยคุ้มครองให้ นี่ละ มีอย่างว่าง ว่างอย่างมี สองคำนี้จำไว้ให้ดี แล้วมันก็จะไม่มีอะไรกัด
ถาม นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...