วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การตั้งจิตมั่น ไม่ใช่การห้ามอายตนะ

" การตั้งจิตมั่น ไม่ใช่การห้ามอายตนะ 
แต่คือ ตั้งจิตไม่ให้ปรุงไปกับสิ่งที่มากระทบกับอายตนะ "

" ตา " ไปกระทบกับ " รูป " เกิดจักษุวิญญาณ คือ การเห็น 
- จะห้ามไม่ให้ตาเห็นรูปไม่ได้

" หู " ไปกระทบ " เสียง " เกิดโสตวิญญาณ คือ การได้ยิน 
- จะห้ามไม่ให้หูได้ยินเสียงไม่ได้

" จมูก " ไปกระทบกับ " กลิ่น " เกิดฆานวิญญาณ คือ การได้กลิ่น
" จะห้ามไม่ให้จมูกรับกลิ่นไม่ได้

" ลิ้น " ไปกระทบกับ " รส " เกิดชิวหาวิญญาณ คือ การได้รส 
- จะห้ามไม่ให้ลิ้นรับรู้รสไม่ได้

" กาย " ไปกระทบกับ " โผฏฐัพพะ " เกิดกายวิญญาณ คือ กายสัมผัส
- จะห้ามไม่ให้กายรับสัมผัสไม่ได้

" วิญญาณทั้ง ๕ "  อย่างนี้ เป็นกิริยาแฝงอยู่ในกายตามทวาร 
ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ 
เป็น " ภาวะแห่งธรรมชาติ " ของมันเป็นอยู่เช่นนั้น

ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อ
รับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบ 
แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้
เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็น เช่นนั้น ย่อมกระทำมิได้

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น 
เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น 
หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้น ประกอบการงานทางกาย
ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น
ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้เป็นต้น

" พระอาจารย์ดูลย์  อตุโล "
วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์

:: ส่วนหนึ่งจากหนังสือเรื่อง " บุญแท้จริงไม่ติดโลก "
อ่านหนังสือได้ที่ 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1188

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นั่งสมาธิแล้วชา นั่งสมาธิแล้วชา

ถาม  นั่งสมาธิแล้วชา ตอบ  อันนี้เป็นเรื่องของธรรมดาของกาย ที่นั่งนานๆ ย่อมเกิดความมึนชาขึ้นมา ถ้ารู้สึกเจ็บปวด หรือชาขึ้นมาแล้ว เราหยุดเปลี...